Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

การนับปีจันทรคติแบบไทย  (วาร มาส และ สุรทิน)

ในระบการคำนวณปีในปฏิทินจันทรคติไทยนั้นได้ กำหนดปีออกเป็น 2 แบบ คือ (1)ปีปกติสุทิน และ(2)ปีอธิกสุรทิน และเดือนออกเป็น 3 แบบ คือ (1)ปกติมาส-ปกติวาร (2)ปกติมาส-อธิกวาร (3)อธิกมาส-ปกติวารเพื่อง่ายแก่การจดจำและการคำนวนปี เรามักจะเป็นเป็นในรูปแบบ (....มาส+ ..วาร + .....สุรทิน)  เช่น ปีปกติมาส -ปกติวาร -ปกติสุรทิน หรือ ปีปกติมาส-อธิกวาร-อธิกสุรทิน เป็นต้น

 

 

ความหมาย

(1)     ปีปกติสุรทิน คือ ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน

(2)     ปีอธิกสุรทิน คือ ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันลักษณะเช่นนี้ จะปรากฏขึ้นในทุกๆ รอบ 4 ปี เมื่อปีค.ศ.หารด้วย 4 ลงตัว ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน

(3)     ปกติมาส-ปกติวาร คือปีที่มีวันและเดือนเป็นแบบปกติ คือเดือนคู่ มีวันขึ้นและแรม 15 ค่ำเท่ากันและเดือนคี่มีวันขึ้น 15 ค่ำและ วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มีแรม 15 ค่ำ)

(4)     ปกติมาส-อธิกวาร เป็นปีที่เหมือนกับข้างต้นแต่เพิ่มเดือน 7 จะมีวันแรม 15ค่ำเพิ่มขึ้นมาอีก 1วัน

(5)     อธิกมาส-ปกติวาร หมาย ถึง เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นมี 13 เดือน คือมีเดือน 8 สองหน

สาเหตุที่ต้องเพิ่มเดือน และวันเข้าไปตามระบบนี้  ก็เพื่อให้ปฏิทินทางจันทรคติเทียบได้กับปฏิทินทางสุริยคติได้ โดยจำนวนวันไม่ต่างกันมากเกินไป