21.ศก เป็นการคำนวณรอบปีจำนวน 60 ปีโดยอ้างอิงจากเลขท้ายของปีจุลศักราชและปี 12 นักษัตรผสมกันคล้ายกับ
ระบบหลักจับกะจื้อของจีน โดยมีชื่อเรียกดังนี้
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก" หรือ “ฉอศก”
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"
ตัวอย่างเช่น ปีมะโรงในปี จ.ศ. 1374 ก็จะเรียกว่า ปีมะโรงจัตวาศก
22.ปัญจางค ดิถีเพียร เป็นการคำนวณปฏิทินตามแบบฮินดูซึ่งละเอียดแม่นยำมาก ใช้กันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
รายละเอียดอยู่ใน ภาคผนวก
23.แสดงวันบูชาเทพเจ้าและเทศกาลสำคัญต่างๆของฮินดู โดยพิธีบูชาต่างๆของฮินดูมีการกำหนดเวลาจากฤกษ์ยามใน
ระบบโหราศาสตร์ซึ่งจะต้องคำนวณจากปฏิทินโหราศาสตร์อย่างละเอียดเท่านั้นและจะต้องคำนวณจากดิถีเพียรและโซนเวลาของ
แต่ละประเทศแต่ละท้องถิ่นด้วย ในปฏิทินฉบับนี้ได้คำนวณเวลาฤกษ์สำหรับพิธีบูชาต่างๆตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
24.แสดงวันไหว้เจ้าต่างๆของจีน ซึ่งวันไหว้พระหรือวันเกิดพระต่างๆของจีนมักจะมีซ้ำกันได้หลายวันใน 1 ปี เนื่องจาก
ตามคติความเชื่อและประเพณีในแต่ละท้องถิ่นของจีน และเทพเจ้าบางค์ก็มีหลายปาง มีหลายคติทั้งพุทธและเต๋า
25.แสดงชั่วโมงยามอัฐกาล และชั่วโมงยามต่างๆตามแบบโหราศาสตร์ไทยซึ่งจะมีการแบ่งยามกลางวันกลางคืนอย่างละ
8 ชั่วโมงและเปลี่ยนยามในแต่ละวันตามวารทั้ง 7
26.ยามอัฐกาลและกาลโยคประจำปี ซึ่งจะเปลี่ยนทุกปีในวันเถลิงศกประจำปี
27.ทิศมงคลตามหลักมหาทักษา ซึ่งจะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปทุกวันตามวันทั้ง 7
28.สีและอัญมณีมงคลตามหลักมหาทักษา ตามหลักโหราศาสตร์ไทยที่ใช้กันมาแต่โบราณ