วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ ทำการมงคลไม่ได้จริงหรือ ?
เรื่องวันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ วันธงชัย วันอธิบดี ฯลฯเรา เรียกว่า “กาลโยค” ใช้มากในโหราศาสตร์ไทย และในปฏิทินให้ฤกษ์ยามแบบไทย ซึ่งวิธีการคำนวณก็ง่ายๆ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร และถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักการให้ฤกษ์ของโหรไทยโดยเฉพาะ และเป็นด่านแรกในการคำนวณฤกษ์ชั้นสูง ถ้าผ่านด่านนี้ได้ ก็จะนำเงื่อนไขอื่นๆที่ยากมากขึ้นมาคำนวณประกอบกันเข้าไป เป็นขั้นๆ ต่อไป จนโหรสามารถปรุงดวงฤกษ์ให้มีผลดีมากที่สุดและมีผลร้ายน้อยที่สุด
แต่ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมลงไปมาก เพราะยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดใดที่บ่งชี้ว่ามีความแม่นยำเพียงพอในการให้ฤกษ์ แม้แต่โหรไทยระดับอาจารย์ใหญ่หลายๆท่าน ก็เลิกใช้ไปแล้ว แต่ก็ยังปรากฏมีในปฏิทินฤกษ์ให้เห็นอยู่ ทำให้ผู้คนทั่วไปเกิดความสับสน และถ้าหากเราไม่ได้เรียนวิชาโหรไทยมาเมื่อพบเห็นคำว่า “วันอุบาทว์” “วันโลกาวินาศ” ก็อย่างเพิ่งไปตัดสินว่าร้าย หรือ “วันอธิบดี” “วันธงชัย” ก็อย่าไปนึกว่าเป็นวันดี
กาลโยค หมายถึง การกำหนดว่ากาลใดดี กาลใดร้ายเพื่อการใช้ประโยชน์จากกาล (เวลา) กาลโยคมาจากคำว่า กาล (เวลา) และโยคะ (การประกอบ,การใช้งาน,การร่วมกัน) ในปฏิทินไทย กาลโยคคือตารางที่บ่งบอกให้ทราบว่าช่วงเวลาใดดี ช่วงเวลาใดร้าย เพื่อประกอบการพิจารณาหาฤกษ์กระทำการมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เปิดห้างร้าน ลาสิกขา หว่านข้าวลงในนา สถาปนายศศักดิ์ ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนในวันที่ 16 เมษายน ของทุกๆปี
วิชากาลโยคนี้ จะต้องคำนวณมาจาก 5 หลัก คือ
1.หลักวัน -วันในสัปดาห์ทั้ง 7 เช่น วันอาทิตย์นับเป็น 1 วันจันทร์นับเป็น 2 ฯลฯ
2.หลักยาม -ในหนึ่งวันจะมียามอยู่ 16 ยาม แบ่งเป็นยามกลางวัน 8 ยาม และยามกลางคืนอีก 8ยาม ยามละ 1 ชั่วโมง 30 นาที
3.หลักฤกษ์ –หรือจันทร์เสวยนักษัตรฤกษ์ ซึ่งมีอยู่ 27 นักษัตร
4.หลักราศี-มี 12 ราศี สำหรับใช้ตั้งลัคนาในดวงฤกษ์ เริ่มจาก ราศีเมษ (เรียกว่าราศี 0 ) ราศีพฤษภ (ราศี 1) นับเรื่อยๆไปจนถึงราศีมีน (ราศี11)
5.หลักดิถี – ก็คือวันขึ้น-แรมต่างๆ ซึ่งใน 1เดือนทางจันทรคติ ก็จะมีดิถี 30 ดิถี เช่น วันขึ้น 7 ค่ำ วันแรม 14 ค่ำ เป็นต้น
ผลดี-ร้ายจากการคำนวณ
ซึ่งผลจากการคำนวณกาลโยคนี้ ก็จะมีผลดี-ร้ายอยู่ 4 อย่างคือ 1.อธิบดี(ดี) 2.ธงชัย(ดี) 3.อุบาทว์(ร้าย) 4.โลกาวินาศ (ร้าย)
แต่อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของภาควิชาการให้ฤกษ์ของโหรไทยเพราะการให้ฤกษ์ จะต้องคำนวณส่วนอื่นๆประกอบกันอีก นับสิบๆอย่าง
นอกจากนี้การคำนวณก็จะมีหลัก”ปี”เพิ่มขึ้นมาอีก แต่จะใช้ปี จุลศักราชแทน (จ.ศ.) จะไม่ใช้ปีพุทธศักราช หรือมหาศักราช จึงทำให้”กาลโยค”นี้มีความแตกต่าง
ตัวอย่างการคำนวณกาลโยคประจำปี 2561
วิธีอ่านกาลโยคประจำปี 2561 มีดังนี้
1.หลักวัน(วาร) --สมสมุติว่าเอาวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (จ.ศ. 1380 )เป็นหลักในการคำนวณ วันธงชัย คือ วัน 6 (หรือวันศุกร์) ,วันอธิบดี คือ วัน 6 (หรือวันศุกร์) วันอุบาทว์ คือ วัน 5 (หรือวันพฤหัส) โลกาวินาศ คือ วัน 1 (หรือวันอาทิตย์) ดังนั้นจึงสรุปว่า ในปี จุลศักราช 1380 หรือนับจาก วันที่ 16 เมษายน ปี 2561 จนถึง วันที่ 15 เมษายน 2562
โดยทุกๆวันศุกร์ ในช่วงปีนี้ วันศุกร์ก็จะเป็นวัน อธิบดี และ วันธงชัย ไปพร้อมๆกัน ส่วนทุกๆวันพฤหัส ก็จะเป็นวันอุบาทว์ และ ทุกๆวันอาทิตย์ ก็จะเป็นวันโลกาวินาศ เป็นอย่างนี้ไปตลอดทั้งปีจุลศักราช และแต่ละปีก็จะมีผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน
ดังนั้นวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (จ.ศ. 1380 )เป็นวันเสาร์(7) วันนี้จึงเป็นวัน เป็นวันปลอด คือ ปลอดทั้งดี และไม่ดี
พอมาถึงตรงนี้คนอ่านปฏิทินที่ไม่เคยได้ศึกษาโหรไทย ก็จะทึกทักเอาว่า วันศุกร์ปีนี้นี้เป็นทั้งวันธงชัยและอธิบดี นับว่าเป็นวันดีมากสองเท่า ส่วนวันร้ายของปีก็คือวัน พฤหัสและวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันอุบาทว์และวันโลกาวินาศ คนก็เลยกลัวไม่กล้าทำการมงคลใดใด นี่เป็นการเข้าใจผิดอย่างแรง ผิดหลักการของวิชากาลโยคโดยสิ้นเชิง....
จากความเข้าใจผิดข้างต้น ก็เพราะมีคำว่า “วัน” คนทั่วไปก็นึกว่า วันอธิบดี และวันธงชัยจะดีไปทั้งวัน และวันอุบาทว์ โลกาวินาศ ก็จะร้ายทั้งวัน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะหลักวันที่นำมาคำนวณเป็น 1 ใน 5 ข้อที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกับอีก 4 ข้อที่เหลือ คือ
2.หลักยาม -- 1 ยาม มีค่าเท่ากับประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที (ไม่ใช่ 2 ชั่วโมงอย่างที่เข้าใจกัน) เริ่มนับตั้งแต่รุ่งเช้า (ค่าเฉลี่ยจะ เป็น 06:00 น.*) ไปจนถึงย่ำค่ำ (ค่าเฉลี่ยจะ เป็น18:00 น.*) เป็นยามกลางวัน แล้วนับหนึ่งใหม่ตอนย่ำค่ำไปจนถึงรุ่งเช้า จะเป็นยามกลางคืน ก็จะได้ภาคละ 8 ยามพอดี
**แต่จริงๆถ้าเป็นยามกลางวันก็จะเริ่มนับจากพระอาทิตย์ ไปถึงพระอาทิตย์ตก เช่น พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.36 น. และตกเวลา 17.45 น. ก็จะนำมาหารกับ 8 ก็จะได้ค่ายามจริงๆว่าเฉลี่ยตกยามละกี่นาที ระบบยามทั้ง 8 นี้ โหรภารตะเรียกว่า “เจาฆะฑะอิยา กาละ เวลา”
สำหรับยามปีนี้ สมมุติว่าเอาวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (จ.ศ. 1380 )เป็นหลักในการคำนวณหายาม (เราเอาเฉพาะยามกลางวันมาศึกษาก่อน) โดยวันนี้พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.17 น. และตกเวลา 17.46 น. ตามเวลาท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ผลการคำนวณหายามก็จะเป็นดังนี้
ยามที่ 1 |
06:17-07:43 น. |
|
ยามที่ 2 |
07:43-09:09 น. |
ยามอุบาทว์ |
ยามที่ 3 |
09:09-10:35 น. |
ยามธงชัย |
ยามที่ 4 |
10:35-12:01 น. |
ยามโลกาวินาศน์ |
ยามที่ 5 |
12:01-13:28 น. |
|
ยามที่ 6 |
13:28-14:54 น. |
|
ยามที่ 7 |
14:54-16:20 น. |
|
ยามที่ 8 |
16:20-17:46 น. |
ยามอธิบดี |
จะเห็นได้ว่านอกจากหลักวันตามข้อ 1 แต่ก็ยังต้องมาพิจารณาหลักยามตามข้อสองอีก หากเป็นวันธงชัย แต่”เวลาฤกษ์”กลับไปเจอยามอุบาทว์เข้าก็ไม่เป็นมงคล หรือ วันโลกาวินาศ แต่ไปเจอยาม อธิบดี ก็ย่อมสลายผลร้ายไปได้ เท่านั้นยังมีต่อไปอีก
และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ช่วงยามที่ไม่เป็นมงคลและไม่ควรให้ฤกษ์ก็คือ ยามที่ 2 เป็นยามอุบาทว์ และยามที่ 4 เป็นยามโลกาวินาศ
2.หลักฤกษ์ – ใน 1 เดือนจันทรคติ มีฤกษ์หรือดาวนักษัตรอยู่ 27 ฤกษ์ดังนี้
1) อัศวินี ฤกษ์ 2) ภรณีฤกษ์ 3) กฤติกาฤกษ์ 4) โรหิณีฤกษ์ 5) มฤคศิรฤกษ์ 6) อารทราฤกษ์ 7) ปุรวสุฤกษ์ 8) บุษยฤกษ์ 9) อาศเลษาฤกษ์ 10) มาฆฤกษ์ 11) บุรพผลคุนีฤกษ์ 12) อุตรผลคุนีฤกษ์ 13) หัสตฤกษ์ 14) จิตราฤกษ์ 15) สวาติฤกษ์ 16) วิศาขะฤกษ์ 17) อนุราธาฤกษ์ 18) เชษฐะฤกษ์19) มูละฤกษ์ 20) บุรพษาฒฤกษ์ 21) อุตราฆาตฤกษ์ 22) ศรวณะฤกษ์ 23) ธนิษฐาฤกษ์ 24) ศตภิษัชฤกษ์ 25) บุรพภัทรบทฤกษ์ 26) อุตรภัทรบทฤกษ์ 27) เรวดีฤกษ์
ดังนั้นในปีนี้ ฤกษ์ธงชัยและอธิบดีคือ ฤกษ์ 6 อารทราฤกษ์ ฤกษ์อุบาทว์คือ ฤกษ์ 5 มฤคศิรฤกษ์ ฤกษ์โลกาวินาศคือ ฤกษ์ 16 วิศาขะฤกษ์ นอกนั้นเป็นฤกษ์ปลอด
และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นี้ ดาวจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๑ ปุรพผลคุณีนักษัตร มหัทธโณฤกษ์ วันนี้จึงเป็นฤกษ์ปลอด
3.หลักราศี – ในที่นี้หมายถึงเวลาของแต่ละราศีใน 1 วัน ส่วนมากจะหมายถึงราศีลัคนาสำหรับดวงฤกษ์ หรือราศีที่เป็นภพเรือน ที่สำคัญในดวงฤกษ์ เช่น ฤกษ์ยกเสาเอก ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ นอกจากเวลาของลัคนาในดวงฤกษ์แล้ว ,ราศีที่ 4 จากลัคน์ หรือเรือนที่ 4 คือ”เรือนพันธุ”จึงสำคัญมากเพราะหมายถึง บ้านหรือที่อยู่อาศัย ราศีมีทั้งหมด 12 ราศี โดยนับเมษเป็นราศี 0 และมีนเป็นราศี 11
สำหรับเวลาแต่ละราศี ของวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีดังนี้
ราศี 6 (ตุลย์) เริ่มต้น 05:07 น. |
|
ราศี 7 (พิจิก) เริ่มต้น 07:15 น. |
|
ราศี 8(ธนู) เริ่มต้น 09:27 น. |
|
ราศี 9 (มังกร) เริ่มต้น 11:34 น. |
|
ราศี 10(กุมภ์) เริ่มต้น 13:27 น. |
|
ราศี 11 (ตุลย์) เริ่มต้น 15:08 น. |
|
ราศี 0 (เมษ) เริ่มต้น 16:47 น. |
ราศีอธิบดี |
ราศี 1 (พฤษภ) เริ่มต้น 18:35 น. |
|
ราศี 2 (มิถุน) เริ่มต้น 20:37 น. |
ราศีอุบาทว์ |
ราศี 3 (กรกฏ) เริ่มต้น 22:48 น. |
ราศีธงชัย |
ราศี 4 (สิงห์) เริ่มต้น 24:58 น. |
ราศีโลกาวินาสน์ |
ราศี 5(กันย์) เริ่มต้น 03:01 น. |
4.หลักดิถี ใน 1 รอบเดือนทางจันทรคติ ก็จะมีดิถีอยู่ 30 ดิถี คือเริ่มตั้งแต่ ดิถี 1 คือขึ้น 1ค่ำ ไปจนถึงดิถี 30 คือ แรม 15 ค่ำ ดิถีทางโหราศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2ชนิด อย่างแรกเป็นดิถีโดยมัธยมหรือดิถีเฉลี่ย เป็นการเฉลี่ยเดือนที่มีระยะเวลา 29.5 วันเศษซึ่งไม่เป็นเลขจำนวนเต็มให้กลายเป็นเลขจำนวนเต็มที่เท่าๆกันได้ 30 ดิถี (ดิถีตลาด)
ส่วนตามพระคัมภีร์สุริยยาตรกำหนดให้ดิถีเฉลี่ยมีระยะเวลาเท่ากับ 692/703 วัน ส่วนดิถีทางโหราศาสตร์อีกชนิดหนึ่งจัดเป็น "ดิถีโดยสมผุส" ซึ่งทำการแบ่งเดือนออกเป็น 30 ดิถี ตามตำแหน่งดวงจันทร์ที่ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตามจริง โดยทุกๆที่มุมตามจริงห่างกัน 12 องศาจึงนับเป็น 1 ดิถี และห่างกันครบ 360 องศาจึงได้ 30 ดิถี โดยสมผุส (ดิถีเพียร) ซึ่งเราจะใช้ดิถีเพียรนี้แหละในการคำนวณ
สำหรับ ดิถีของวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ดิถีตลาดเป็นแรม ๑๐ ค่ำ ดิถีเพียญ = ๒๕.๐๗๐๗ ให้ปัดเศษขึ้นไปเป็นดิถีที่ 26
ดิถี 1 |
ขึ้น 1 ค่ำ |
|
ดิถี 2 |
ขึ้น 2 ค่ำ |
ดิถีอุบาทว์ |
ดิถี 3 |
ขึ้น 3 ค่ำ |
ดิถีธงชัย |
ดิถี 4 |
ขึ้น 4 ค่ำ |
|
ดิถี 5 |
ขึ้น 5 ค่ำ |
|
ดิถี 6 |
ขึ้น 6 ค่ำ |
|
ดิถี 7 |
ขึ้น 7 ค่ำ |
|
ดิถี 8 |
ขึ้น 8 ค่ำ |
|
ดิถี 9 |
ขึ้น 9 ค่ำ |
|
ดิถี 10 |
ขึ้น 10 ค่ำ |
|
ดิถี 11 |
ขึ้น 11 ค่ำ |
|
ดิถี 12 |
ขึ้น 12 ค่ำ |
|
ดิถี 13 |
ขึ้น 13 ค่ำ |
|
ดิถี 14 |
ขึ้น 14 ค่ำ |
|
ดิถี 15 |
ขึ้น 15 ค่ำ |
|
ดิถี 16 |
แรม 1 ค่ำ |
|
ดิถี 17 |
แรม 2 ค่ำ |
|
ดิถี 18 |
แรม 3 ค่ำ |
|
ดิถี 19 |
แรม 4 ค่ำ |
|
ดิถี 20 |
แรม 5 ค่ำ |
ดิถีโลกาวินาศ |
ดิถี 21 |
แรม 6 ค่ำ |
|
ดิถี 22 |
แรม 7 ค่ำ |
|
ดิถี 23 |
แรม 8 ค่ำ |
|
ดิถี 24 |
แรม 9 ค่ำ |
ดิถีอธิบดี |
ดิถี 25 |
แรม 10 ค่ำ |
|
ดิถี 26 |
แรม 11 ค่ำ |
|
ดิถี 27 |
แรม 12 ค่ำ |
|
ดิถี 28 |
แรม 13 ค่ำ |
|
ดิถี 29 |
แรม 14 ค่ำ |
|
ดิถี 30 |
แรม 15 ค่ำ |
สรุปกาลโยค ของปี จ.ศ. ๑๓๘๐ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วัน |
ปลอด |
ยาม |
ยามที่ 2 07:43-09:09 น. ยามอุบาทว์ ยามที่ 3 09:09-10:35 น.ยามธงชัย ยามที่ 4 10:35-12:01 น.ยามโลกาวินาศน์ ยามที่ 8 16:20-17:46 น.ยามอธิบดี |
ฤกษ์ |
ปลอด |
ราศี |
ราศี 0 (เมษ) 16:47 น.ราศีอธิบดี ราศี 2 (มิถุน) 20:37 น.ราศีอุบาทว์ ราศี 3 (กรกฏ 22:48 น.ราศีธงชัย ราศี 4 (สิงห์) 24:58 น.ราศีโลกาวินาสน์ |
ดิถี |
ปลอด |
สรุปว่าวันนี้ ก็จะต้องวางลัคนาให้ได้ยามและราศีที่เป็นมงคล ไม่ให้ตกในยามและราศีที่เป็นอุบาทว์และโลกาวินาสน์ ส่วนวัน ฤกษ์และดิถี เป็น”ปลอด” ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ต้องนำมาพิจารณา
แก้ความเข้าใจผิด
เรื่องกาลโยคที่ระบุเอาไว้ในปฎิทินทั่วไปเช่น วันนี้เป็นวันอุบาทว์ วันโลกาวินาสน์ วันธงชัย วันอธิบดี ฯลฯท่านต้องเข้าใจว่า ……..
กาลโยคนี้คำนวณจากยาม ไม่ใช่ว่าวันนี้เป็นวันอุบาทว์ทั้งวันอย่างนี้ไม่ใช่ มีเป็นบางยามเท่านั้น หรือวันนี้เป็นวันธงชัยทั้งวันก็หาไม่ ก็เป็นบางยาม ดังนั้นวันที่บอกว่าเป็นวันอุบาทว์ วันโลกาวินาสน์ก็สามารถที่จะให้ฤกษ์ที่ดีได้
แต่ในทางกลับกันวันที่เป็นวันธงชัย วันอธิบดีก็ไม่ได้ดีทั้งวัน ก็มีฤกษ์ร้ายในบางยามอยู่เช่นกัน ดังนั้นในระบบของกาลโยคโหรไทยนี้ จะต้องวางฤกษ์มงคลในวันนี้
วันโลกาวินาศ ก็ไม่ใช่จะวินาศน์ทั้งวัน หากเราใช้ยามอธิบดี ทั้งฤกษ์ ราศี ดิถี ไม่เสียก็ใช้ได้ ในทางกลับกัน กาลโยคบอกเป็นวันธงชัย แต่ ยาม ดิถี ราศี ฤกษ์เสียหมด ก็ใช้ไม่ได้
ส่วนขั้นต่อไปในการให้ฤกษ์ในระบบโหราศาสตร์ไทยก็คือปรุงดาวเคราะห์และลัคนาในดวงฤกษ์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี อีกทั้งดูกฎเกณฑ์ข้อห้ามต่างอีกมากมาย เช่น ระบบทักษาพยากรณ์ รวมทั้งฤกษ์ล่าง ฤกษ์บน (นภดล-ภูมิดล) ฯลฯ ให้สมพงศ์กับดวงเจ้าการและกิจการที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หากท่านต้องการทราบวิธีการคำนวณระบบกาลโยค กรุณาคลิ๊กที่นี่ “กาลโยค”