Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

Upagraha Part3 3

ตอนนี้จะเป็นตอนที่จะคำนวณดาวอุปเคราะห์ในดวงตัวอย่างให้เป็นกรณีศึกษา ซึ่งการคำนวณที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายทฤษฎีและหลายสูตรที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาต้องรู้จักวิธีการคำนวณตำแหน่งหาของดาวอุปเคราะห์และศึกษาผลดี-ร้ายของมัน อีกทั้งก็ต้องใช้วิจารณญาณเฉพาะตนในการตัดสิน  

  

สูตรในการคำนวณดาวอุปเคราะห์

1) ตรวจสอบว่าเจ้าชะตาเกิดในเวลาใด เช่น กลางวัน (พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) หรือช่วงกลางคืน (พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นในวันถัดไป)

2) หากเจ้าชะตาเกิดในเวลากลางวัน ให้ดูเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกของวันนั้น และหากเกิดในเวลากลางคืน ให้ดูเวลาที่พระอาทิตย์ตกและเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในวันถัดไป

3) หาระยะความยาวของเวลากลางวันและกลางคืนและแปลงให้เป็นนาที

4) ต่อไปให้แบ่งความยาวของเวลากลางวันออกเป็น 8 ส่วน และกลางคืนออกเป็น 8 ส่วน หรือ 8ยาม เท่าๆกัน(โดยหารด้วย 8) เรียกว่า”กาละ”

5) ต่อไปให้หาวันที่เจ้าชะตาเกิด เช่น วันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร ฯลฯ

6) หากเจ้าชะตาเกิดวันไหน ให้ดูยามของวันนั้น ว่าดาวเคราะห์ไหนครองยามอะไร

7) หาระยะเวลาความยาวของแต่ละยามในวันนั้นๆ ซึ่งจะตกประมาณ 1.30 ชั่วโมงต่อยาม

8)คำนวณเวลา ณ จุดเริ่มต้น กึ่งกลางกลาง และจุดสิ้นสุดของช่วงเวลาในแต่ละยาม และเวลา ณ จุดเริ่มต้นถือเป็นจุดสำคัญที่สุด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนวณเวลา ณ จุดกึ่งกลาง และเวลาสิ้นสุดของแต่ละยาม เพื่อเป็นการตรวจสอบเทียบเคียงกับทฤษฎีอื่นๆ

9)วิธีสำหรับการคำนวณหาตำแหน่ง มานทิ ให้แปลงระยะเวลาของพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกให้เป็น ฆะฏิกะ घटिका  (มหานาที หรือ 24 นาที) และคูณด้วยเวลาที่เป็นจุดสิ้นสุดของยามด้วย 24 ซึ่งจะได้ค่าของ”ฆะฏิกะ”เป็นหน่วยนาทีแล้วหารด้วยส่วนฐานของกลางวันหรือ 30 ฆะฏิกะก็จะได้ตำแหน่งเวลาของ”มานทิ”

10) ในการคำนวณดวงชะตาให้ดูว่าองศาของลัคนาอยู่องศาที่เท่าไหร่ ซึ่งองศาของลัคนานี้แหละก็คือองศาของดาวอุปเคราห์ต่างๆในดวงชะตา

Upagraha Part3 2 Day


วิธีการคำนวณจากดวงชะตาตัวอย่าง:

เจ้าชะตาเกิดวันที่ 6 มิถุนายน 2562 เวลา 14.50 น. ณ กรุงเทพมหานคร

1) เวลาเกิดของเจ้าชะตา - ตรงกับเวลากลางวัน

2) ณ วันที่เกิด - เวลาพระอาทิตย์ขึ้น 05:53 น. และพระอาทิตย์ตกเวลา 18:40 น.

3) รวมระยะเวลา(กลางวัน) คือ 12 ชั่วโมง 47 นาที หรือ 767 นาที

4) เวลายาม(กลางวัน)  767/8 =95.875  (ปัดเศษ 875 เป็นนาที) ตกยามละ 1:36 ชม.

5) วันเกิด - ตรงกับวันพฤหัสบดี
6) หายามที่ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงเป็นเจ้ายามที่ตรงกับวันพฤหัส (เจ้าชะตาเกิดวันพฤหัส):

ดาวอาทิตย์ - เป็นเจ้ายามที่ 5  ,ดาวจันทร์ - เป็นเจ้ายามที่ 6 ,ดาวอังคาร - เป็นเจ้ายามที่ 7 ,ดาวพุธ - เป็นเจ้ายามที่ 8,ดาวพฤหัสบดี - เป็นเจ้ายามที่ 1 ,ดาวศุกร์ - เป็นเจ้ายามที่ 2,ดาวเสาร์ -เป็นเจ้ายามที่ 3 **หมายเหตุ วันพฤหัส ยาม 4 ว่างไม่มีดาวครอง

7) คำนวนเวลาของยามที่ดาวเคราะห์ทั้งหมดเป็นเจ้ายาม(วันพฤหัส)มีดังนี้:

ดาวอาทิตย์ – เป็นเจ้ายามที่ 5 ระหว่างเวลา 12:16 น. ถึง 13:52 น.

ดาวจันทร์ - เป็นเจ้ายามที่ 6 ระหว่างเวลา 13:52 น. ถึง 15:28 น.

ดาวอังคาร - เป็นเจ้ายามที่ 7 ระหว่างเวลา 15:28 ถึง 17:04 น.

ดาวพุธ - เป็นเจ้ายามที่ 8 ระหว่างเวลา 17:04 ถึง 18:40 น.

ดาวพฤหัสบดี -เป็นเจ้ายามที่ 1 ระหว่างเวลา 5:53 น. ถึง 7:28 น.

ดาวศุกร์ - เป็นเจ้ายามที่ 2 ระหว่างเวลา 7:28 ถึง 9:04 น.

ดาวเสาร์ -เป็นเจ้ายามที่ 3 ระหว่างเวลา 9:04 น. ถึง 10:40 น.

8) คำนวณเวลา ณ จุดเริ่มต้น(ปฐมกาล) เวลากึ่งกลาง (มัทธยะกาล) และเวลาสิ้นสุด(ปัจฉิมกาล) ของยามทั้งหมด  

**สำหรับไว้ใช้ในทฤษฎีที่ต่างออกไป เช่น บางทฤษฎีใช้ปฐมกาลหรือจุดเริ่มต้น บางทฤษฎีใช้เวลากึ่งกลาง (มัทธยะกาล) และบางทฤษฎีใช้เวลาสิ้นสุด(ปัจฉิมกาล) แต่ในกรณีนี้เราจะใช้เวลาเริ่มต้น(ปฐมกาล)เป็นหลักในการคำนวณองศา(ลัคนา)ของดาวอุปเคราะห์ทั้งหมด

ดาวอาทิตย์ - เวลาเริ่มต้น 12:16 น. เวลากึ่งกลาง 13:04 น. สิ้นสุดเวลา 13:52 น.

ดวงจันทร์ - เวลาเริ่มต้น 13:52 น. เวลากึ่งกลาง 14:40 น. เวลาสิ้นสุด 15:28 น.

ดาวอังคาร - เวลาเริ่ม 15:28 น. เวลากึ่งกลาง 16:16 น. เวลาสิ้นสุด 17:04  น.

ดาวพุธ - เวลาเริ่มต้น 17:04 น. เวลากึ่งกลาง 17:52 น. เวลาสิ้นสุด 18:40 น.

ดาวพฤหัสบดี - เวลาเริ่มต้น 5:53 น. เวลากึ่งกลาง 6:41 น. เวลาสิ้นสุด 9:04 น.

ดาวศุกร์ - เวลาเริ่มต้น 7:28 น. เวลากึ่งกลาง 8:16 น. เวลาสิ้นสุด 10:40  น.

ดาวเสาร์ - เวลาเริ่มต้น 9:04 น. เวลากึ่งกลาง 9:52 น. เวลาสิ้นสุด 10:33 น

9) หาตำแหน่งของ"มานทิ" จากเวลาสิ้นสุดของ"คุลิกะ" ดังนี้ เอาเวลาอาทิตย์ขึ้น + (จำนวนเวลาของฆะฏิกะในวันนั้น * ระยะเวลาสิ้นสุดของคุลิกะ(ฆะฏิกะ) /30 ฆะฏิกะ * 24 นาที

ดังนั้นตำแหน่งของ”มานทิ” อาทิตย์ขึ้นเวลา 5:53 น. + (31.958*10/30*24) =256.66 นาที( ปัดเศษเป็น 4 ชม 16 นาที) ดังนั้นตำแหน่งเวลาของมานทิจึงเท่ากับ 5:53 น. + 256 นาที =เวลา 10:09 น.

หมายเหตุ

(1)จำนวน 31.958 คือจำนวนหน่วยของฆะฏิกะ ซึ่งมาจากการแปลงเวลา 767 นาที ซึ่งเป็นเวลากลางวันที่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกให้เป็น ฆะฏิกะ (767/24) =31.958 ฆะฏิกะ หรือ เวลากลางวันเท่ากับ 12 ชม 47 นาที

(2)จำนวน 10 มาจากจุดสิ้นสุดของคุลิกะของวันพฤหัส - กลางวัน—หลังจากฆะฏิกะที่ 10

(3)จำนวน 30 มาจากจำนวนฆะฏิกะของเวลากลางวันเท่ากับ 30 ฆะฏิกะ (30*24) =720นาที (หนึ่งวันมี 60 ฆะฏิกะ หรือ1440 นาที หรือ 24 ชั่วโมง)

(4)จำนวน 24 มาจากจำนวน 1 ฆะฏิกะ หรือ 24 นาที

(5)จำนวน 256 นาที มาจากผลลัพธ์ของ (31.958*10/30*24) =256 นาที( 4 ชม 16 นาที)


10) สรุปตำแหน่งองศา(ลัคนา)ของดาวอุปเคราะห์ ทั้งหมดมีดังนี้

เจ้าชะตาเกิดวันที่ 6 มิถุนายน 2562 เวลา 14.50 น. ณ กรุงเทพมหานคร


1.กาละ (काल) - เป็นเจ้ายามที่ 5 ระหว่างเวลา 12:16 น. ถึง 13:52 น. ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 12:16 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง กาละ สถิตราศีสิงห์  20° 00' 
2.ปะริธิ (परिधि)  เป็นเจ้ายามที่ 6 ระหว่างเวลา 13:52 น. ถึง 15:28 น.  ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 13:52 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง ปะริธิ สถิตราศีกันย์  13° 40'
3.มฤตยุ (मृत्यु ) เป็นเจ้ายามที่ 7 ระหว่างเวลา 15:28 ถึง 17:04 น.ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 15:28 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง มฤตยุ สถิตราศีตุลย์  7° 02'
4.อรรธะประหะระ (अर्धप्रहर) เป็นเจ้ายามที่ 8 ระหว่างเวลา 17:04 ถึง 18:40 น.ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 17:04 น. หาลัคนาก็จะได้ตำแหน่ง อรรธะประหะระ สถิตราศีตุลย์  29° 33'
5.ยะมะฆัณฏกะ (यमघण्ट्क) เป็นเจ้ายามที่ 1 ระหว่างเวลา 5:53 น. ถึง 7:28 น.ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 5:53 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง ยะมะฆัณฏกะสถิตราศีพฤษภ  20° 50'
6.โกทันทะ (कोदन्द) เป็นเจ้ายามที่ 2 ระหว่างเวลา 7:28 ถึง 9:04 น. ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 7:28 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง โกทันทะ สถิตราศีมิถุน 12° 56'
7.คุลิกะ (गुलिक) เป็นเจ้ายามที่ 3 ระหว่างเวลา 9:04 น. ถึง 10:40 น.ใช้เวลาเริ่มต้นของยามคือ 9:04 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง คุลิกะ สถิตย์ราศีกรกฏ 4° 41'
8.มานทิ (मान्दि) จากผลการคำนวณข้างต้นตรงกับ เวลา 10.09 น.และใช้เวลา 10.09 น. หาลัคนา ก็จะได้ตำแหน่ง มานทิ สถิตย์ราศีกรกฏ 19° 37'

หมายเหตุ: อาจจะมีความแตกต่างเล็กน้อยในส่วนเวลาเริ่มต้นของแต่ละยามซึ่งส่งผลต่อตำแหน่งองศาของดาวอุปเคราะห์  หากต้องการความละเอียดกว่านี้ให้ทำการปัดเศษทศนิยมของนาทีให้ได้ใกล้เคียงที่สุด หรือหากสามารถทำการคำนวณได้ในระดับวินาทีก็จะสามารถให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

สำหรับการตรวจองศาของลัคนาหรือตำแหน่งของดาวอุปเคราะห์นั้น นิยมใช้อางยางศะแบบลาหิรีเป็นหลัก  ส่วนเวลาพระอาทิตย์ขึ้นพิจารณาจากศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏขึ้นจริงตรงเส้นขอบฟ้าด้านตะวันออก (eastern horizon)

สูตรคำนวณแบบอื่นๆมีดังนี้

1.กาละ (काल) ในช่วงเวลากลางวัน จะอยู่ที่จุดสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 2 ของวันอาทิตย์, ฆะฏิกะที่ 26 ของวันจันทร์, ฆะฏิกะที่ 22ของวันอังคาร, ฆะฏิกะที่18ของวันพุธ, ฆะฏิกะที่14ของวันพฤหัส, ฆะฏิกะที่ 10ของวันศุกร์ และฆะฏิกะที่ 6ของวันเสาร์

2.ยะมะฆัณฏกะ (यमघण्ट्क) จะอยู่ที่จุดสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 18, 14, 10, 6, 2, 26 และ 22  ของวันต่างๆตามลำดับ

3.อรรธะประหะระ (अर्धप्रहर) อยู่ที่จุดสิ้นสุดของฆะฏิกะที่  14, 10, 6, 2, 26, 22, 18 ของวันต่างๆตามลำดับ

4.ธูมะ (धूम) ได้มาจากนำ 4 ราศีกับ 13 องศา 20 ลิปดา+องศาของอาทิตย์

5.สูตร(1)-วยะตีปาตะ (व्यतीपात)ได้มาจากการนำ12 ราศี(360 องศา) - ธูมะ (धूम)

5.1 สูตร(2)-วยะตีปาตะ (व्यतीपात)ได้มาจากการนำ ธูมะ (धूम) +53 องศา 20 ลิปดา

6.ปะริธิ (परिधि)มาจากการนำ วยะตีปาตะ (व्यतीपात)+ 6 ราศี (180 องศา)

7.อินทระธะนุ (इन्द्रधनु)หรือโกทันทะ (कोदन्द) ได้มาจากการนำ 12 ราศี(360 องศา) - ปะริธิ (परिधि)

8.อุปะเกตุ (उपकेतु)  ได้มาจากการนำ อินทระธะนุ (इन्द्रधनु) +16 องศา 40 ลิปดา

9.มานทิ (मान्दि) วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ไม่ว่ายามกลางวันหรือกลางคืนก็ตามยามไหนที่มีดาวเสาร์ครอง ยามนั้นก็คือตำแหน่งของมาทิ