Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


ต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์ในการคำนวณจันทรุปราคาและสุริยุปราคาไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนควรใช้ตำราเป็นสองเล่มเป็นที่ศึกษา คือให้อ่านตำราไปเล่ม ๑ ดูวิธีทำคำนวณไปเล่ม ๑ ดูไปตามลำดับหัวข้อจะสะดวกมาก เมื่อเข้าใจแล้วก็ลองทำคำนวณสอบดูกับตำรานี้ก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องดีแล้ว จึงเอาวันที่มีจันทรุปราคาและสุริยุปราคา ตามที่โหรบันทึกไว้ หรือในปฏิทินที่มีกำหนดวัน มีจันทรุปราคาสุริยุปราคาที่ล่วงแล้ว มาทำการสอบดูก็ได้ เมื่อได้ผลใกล้เคียงถูกต้องกันแล้ว ก็ให้ทำคำนวณดูในกาลเบื้องหน้าต่อไป คือให้ตรวจดู ราศี องศา ลิบดา ของพระเคราะห์ทั้งสามนั้น อันมีแจ้งอยู่ในปฏิทินโหร ตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้นเทอญ


--------------------


ตัวอย่างคำนวณจันทรุปราคา


วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๘

ตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ แรมหนึ่งค่ำ ปีมะแมสัปตศก จุลศักราช ๑๒๕๗ สุทินนับแต่วันที่ ๑๕ เมษายน จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ได้ ๓๒๐

สมผุสอาทิตย์ดังนี้ :-

วันที่ ๒๖ (ขึ้น ๑๔ ค่ำ)          ราศี ๑๐         องศา ๑๕       ลิบดา ๒๔

วันที่ ๒๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ)                   ราศี ๑๐         องศา ๑๖       ลิบดา ๒๗

วันที่ ๒๘ (แรม ๑ ค่ำ)           ราศี ๑๐         องศา ๑๗       ลิบดา ๒๖

สมผุสจันทร์ดังนี้ :-

วันที่ ๒๖ (วันพุธ)                ราศี ๓           องศา ๑๘       ลิบดา ๔๙

วันที่ ๒๗ (วันพฤหัส)            ราศี ๔           องศา ๒         ลิบดา ๔๖

วันที่ ๒๘ (วันศุกร์)               ราศี ๔           องศา ๑๖       ลิบดา ๕๐

สมผุสราหู ดังนี้ :-

วันที่ ๒๘                           ราศี ๑๐         องศา ๑๐       ลิบดา ๓๘

วันที่ ๒๖ ฤกษ์จันทร์ ๘         นาฑีฤกษ์ ๙    ดิถี ๑๒          นาฑีดิถี ๔๗

วันที่ ๒๗ ฤกษ์จันทร์ ๙         นาฑีฤกษ์ ๑๒  ดิถี ๑๓          นาฑีดิถี ๕๑

วันที่ ๒๘ ฤกษ์จันทร์ ๑๐       นาฑีฤกษ์ ๑๖ ดิถี ๑๔          นาฑีดิถี ๕๗


มีดวงพระเคราะห์ดังนี้


รูปภาพ


พรคุณอัตตา ๔๕๙๑๓๑

สุทิน   ๓๒๐

วันที่ ๒๖ เพียร          ราศี ๕           องศา ๓         ลิบดา ๒๕

วันที่ ๒๗ เพียร          ราศี ๕           องศา ๑๖       ลิบดา ๒๐

วันที่ ๒๘ เพียร          ราศี ๕                    องศา ๒๙       ลิบดา ๒๔

+ เพียร วันที่ ๒๘ บอกว่าจะมีจันทรุปราคา

+ ดิถี วันที่ ๒๘ บอกว่าจะมีจันทรุปราคา

ตรวจดูนวางศ์ วันที่ ๒๘ มีดังนี้ :-

(วิธีคำนวณเพื่อสะดวกแก่สมัยปัจจุบันจะใช้ตัวเลขโรมัน)

อาทิตยฺ ๑๗ คูณ ๖๐ = ๑๐๒๐ + ๒๖ = ๑๐๔๖

๑๐๔๖ หาร ๒๐๐ = ๕ เศษ ๔๖ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๖

จันทร์   ๑๖ คูณ ๖๐ = ๙๖๐ + ๕๐ = ๑๐๑๐

๑๐๑๐ หาร ๒๐๐ = ๕ เศษ ๑๑ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๖

ราหู    ๑๐ คูณ ๖๐ = ๖๐๐ + ๓๘ = ๖๓๘

๖๓๘ หาร ๒๐๐ = ๓ เศษ ๓๘ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๔

จันทร์เล็งอาทิตย์อยู่นวางค์ ๖ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ราหูร่วมอาทิตย์นวางศ์ ๔ ใกล้กัน

เมื่อตรวจดูเห็นว่าจะมีจันทรุปราคาแน่แล้ว ให้ทำคำนวณจันทรุปราคา ตามตำราสารัมภ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้


------------------


คำนวณอุณทินตามมหาศักราช



(ก)     จุลศักราช ๑๒๕๗ + ๕๖๐ = ๑๘๑๗    เป็นมหาศักราช

๑๘๑๗ – ๑๐๖๕ = ๗๕๒                   เป็นทรุพ

๗๕๒ คูณ ๓๖๕ = ๒๗๔๔๘๐            เป็นวัน

๗๕๒ คูณ ๑๕ = ๑๑๒๘๐                  เป็นมหานาฑี

๗๕๒ คูณ ๓๑ = ๒๓๓๑๒                  เป็นเพ็ชนาฑี

๗๕๒ คูณ ๓๐ = ๒๒๕๖๐                  เป็นพลอักษร

๒๗๔๔๘๐ + ๑๙๔ = ๒๗๔๖๗๔

๑๑๒๘๐ + ๓๗๑ = ๑๑๖๕๑ หาร ๖๐ = ๑๙๔ เศษ ๑๑

๒๓๓๑๒ + ๓๗๖ = ๒๓๖๘๘ หาร ๖๐ = ๓๗๑ เศษ ๒๘

๒๒๕๖๐ หาร ๖๐ = ๓๗๖

๒๗๔๖๗๔ + ๑๕๗ = ๒๗๔๘๓๑

๒๗๔๘๓๑ + ๓๐๕ คตมาส = ๒๗๕๑๓๖

๒๗๕๑๓๖ + ๑๗ องศา = ๒๗๕๑๕๓

เพราะฉะนั้น ๒๗๕๑๕๓ เป็นอุณทิน


-------------------------------


(๑) หรคุณอัตตา       สุทิน             เป็นอุณทิน

๔๕๙๑๓๑ + ๓๒๐ – ๑๘๔๒๙๘ = ๒๗๕๑๕๓

(๒) อุณทิน

๒๗๕๑๕๓ – ๑ คูณ ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ = ๑๖๒๗๑๔๓๕๘+๘๘๐๘๓๒

เพราะฉะนั้น ๑๖๒๗๑๔๓๖ เป็นพลอาทิตย์ (อัฑฒาธิกรรม)

(๓) อุณทิน

๒๗๕๑๕๓ – ๑ คูณ ๗๙๐๕๘๑๐๐๓๒ = ๒๑๗๕๒๙๙๔๔๑+๙๒๔๘๖๔

เพราะฉะนั้น ๒๑๗๕๒๙๙๔๔ เป็นพลจันทร์

(๔) อุณทิน

๒๗๕๑๕๓ – ๑ คูณ ๖๖๘๑๘๖๗๐ = ๑๘๓๘๕๒๙๐+๖๘๗๘๔๐

เพราะฉะนั้น ๑๘๓๘๕๒๙ เป็นพลอุจจ์

(๕) อุณทิน

๒๗๕๑๕๓ – ๑ คูณ ๓๑๘๐๐๓๗๓ = ๘๗๔๙๙๓๖+๒๓๑๖๙๖

เพราะฉะนั้น ๘๗๔๙๙๔ เป็นพลราหู (อัฑฒาธิกรรม)


ทำมัธยม


(๖) พลอาทิตย์

๑๖๒๗๑๔๓๖ + ๑๒๒๖๘ หาร ๒๑๖๐๐ = ๗๕๓ เศษ ๑๘๙๐๔

เพราะฉะนั้น ๑๘๙๐๔ เป็นมัธยมอาทิตย์ปฐม

(๗) มัธยมอาทิตย์ปฐม

๑๘๙๐๔ + ๕๙ = ๑๘๙๖๓ เป็นมัธยมอาทิตย์ทุติย

(๘) พลจันทร์

๒๑๗๕๒๙๙๔๔ + ๑๑๓๓๙ หาร ๒๑๖๐๐ = ๑๐๐๗๑ เศษ ๗๖๘๓

เพราะฉะนั้น เศษ ๗๖๘๓ เป็นมัธยมจันทร์ปฐม

(๙) มัธยมจันทร์ปฐม

๗๖๘๓ + ๗๙๐ = ๘๔๗๓ เป็นมัธยมจันทร์ทุติย

(๑๐) พลอุจจ์

๑๘๓๘๕๒๙ + ๑๗๖๔๑ หาร ๒๑๖๐๐ = ๘๕ เศษ ๒๐๑๗๐

เพราะฉะนั้น เศษ ๒๐๑๗๐ + ๗ = ๒๐๑๗๗ เป็นมัธยมอุจจ์ทุติย

(๑๑) มัธยมอุจจ์ปฐม

๒๐๑๗๐ + ๗ = ๒๐๑๗๗

(๑๒) พลราหู

๘๗๔๙๙๔ – ๘๐๑๔ หาร ๒๑๖๐๐ = ๓๐ เศษ ๒๙๘๐

เพราะฉะนั้น ๒๙๘๐ เป็นมัธยมราหูปฐม

(๑๓) มัธยมราหูปฐม

๒๙๘๐ + ๓ = ๒๙๘๓

ทำสมผุส

(๑๔) มัธยมอาทิตย์ปฐม

๑๘๙๐๔ – ๔๖๘๐ หาร ๕๔๐๐ = ๒ โกลัง เศษ ๓๔๒๔

เพราะฉะนั้น เศษ ๓๔๒๔ เป็นปฐมภุช

(๑๕) ปฐมภุช

๓๔๒๔ หาร ๑๐๐๐ = ๓ เป็นขันธ์ เศษ ๔๒๔ เป็นทุติยภุช

ฉายาเท่าขันธ์ฐานบนลบฐานต่ำ ๑๑๘ – ๙๘ = ๒๐

ทุติยภุช ๔๒๔ คูณ ๒๐ หาร ๑๐๐๐ = ๘ เศษ ๔๘๐

ฉายาเท่าขันธ์ ๙๘ + ๘ = ๑๐๖ เป็นรวิภุชผล โกลัง ๒ ต้องบวกมัธยมอาทิตย์ปฐม ๑๘๙๐๔         + ๑๐๖ = ๑๙๐๑๐ เป็นสมผุสอาทิตย์ปฐม

(๑๖) มัธยมอาทิตย์ทุติย

๑๘๙๖๓ – ๔๖๘๐ หาร ๕๔๐๐ = ๒ เศษ ๓๔๘๓ (โกลัง ๒)

เพราะฉะนั้น เศษ ๓๔๘๓ เป็นปฐมภุช

๓๔๘๓ หาร ๑๐๐๐ = ๓ เป็นขันธ์ เศษ ๔๘๓ เป็นทุติยภุช

ฉายาเท่าขันธ์ฐานบนลบฐานต่ำ ๑๑๘ – ๙๘ = ๒๐

๔๘๓ คูณ ๒๐ หาร ๑๐๐๐ = ๙ เศษ ๖๖๐

๙๘ + ๙ = ๑๐๗ รวิภุชผล โกลัง ๒ ต้องบวก

๑๘๙๖๓ + ๑๐๗ = ๑๙๐๗๐ เป็นสมผุสอาทิตย์ทุติย

(๑๗) มัธยมจันทร์ปฐม

๗๖๘๓ + ๒๑๖๐๐ – ๒๐๑๗๐ = ๙๑๑๓

๙๑๑๓ หาร ๕๔๐๐ = ๑ โกลัง เศษ ๓๗๑๓ ไม่เป็นภุช

๕๔๐๐ – ๓๗๑๓ = ๑๖๘๗ เป็นปฐมภุช

(๑๘) ปฐมภุช

๑๖๘๗ หาร ๑๐๐๐ = ๑ เป็นขันธ์ เศษ ๖๘๗ เป็นทุติยภุช

ฉายาเท่าขันธ์ฐานบนลบฉายาฐานต่ำ ๑๖๕ – ๘๗ = ๗๘

๖๘๗ คูณ ๗๘ หาร ๑๐๐๐ = ๕๓ เศษ ๕๘๖

๘๗ + ๕๓ = ๑๔๐ เป็นจันทร์ภุชผล (โกลัง ๑ ต้องลบ)

๗๖๘๓ – ๑๔๐ = ๗๕๔๓ เป็นสมผุสจันทร์ปฐม

(๑๙) มัธยมจันทร์ทุติย

๘๔๗๓ + ๒๑๖๐๐ – ๒๐๑๗๗ = ๙๘๙๖

๙๘๙๖ หาร ๕๔๐๐ = ๑ โกลัง เศษ ๔๔๙๖ ไม่เป็นภุช

๕๔๐๐ – ๔๔๙๖ = ๙๐๔ เป็นปฐมภุช

๙๐๔ หาร ๑๐๐๐ = ๐ เป็นขันธ์ เศษ ๙๐๔ เป็นทุติยภุช

ขันธ์ ๐ เอาฉายาฐานแรก ๘๗ คูณทุติยภุช

๙๐๔ คูณ ๘๗ ฉายา หาร ๑๐๐๐ = ๗๘ เศษ ๖๔๘

ผลลัพธ์ไม่ต้องบวกด้วยฉายา เป็นจันทร์ภุชผลทีเดียว

เพราะฉะนั้น ๗๘ เป็นจันทร์ภุชผล (โกลัง ๑ ชื่อ ระณังต้องลบ)

๘๔๗๓ – ๗๘ = ๘๓๙๕ เป็นสมผุสจันทร์ทุติย

(๒๐) ตั้งมัธยมราหูปฐม

๒๑๖๐๐ – ๒๙๘๐ = ๑๘๖๒๐ เป็นสมผุสราหูปฐม

(๒๑) ตั้งมัธยมราหูทุติย

๒๑๖๐๐ – ๒๙๘๓ = ๑๘๖๑๗ เป็นสมผุสราหูทุติย


จบสุริยยาตร์สารัมภ์

---------------


ทำคำนวณจันทรุปราคาต่อไป

(๒๒) มัธยมอาทิตย์ทุติย มัธยมอาทิตย์ปฐม

๑๘๙๖๓ – ๑๘๙๐๔ = ๕๙ รวิภุกดิ

(๒๓) สมผุสอาทิตย์ทุติย สมผุสอาทิตย์ปฐม

๑๙๐๗๐ – ๑๙๐๑๐ = ๖๐ รวิภุกดภุกดิ

(๒๔) มัธยมจันทร์ทุติย มัธยมจันทร์ปฐม

๘๔๗๐ – ๗๖๘๓ = ๗๙๐ จันทร์ภุกดิ

(๒๕) สมผุสจันทร์ทุติย สมผุสจันทร์ปฐม

๘๓๙๕ – ๗๕๔๓ = ๘๕๒ จันทร์ภุกดภุกดิ

(๒๖) จันทร์ภุกดภุกดิ รวิภุกดภุกดิ

๘๕๒ – ๖๐ = ๗๙๒ ภูจันทร์

(๒๗) สมผุสอาทิตย์ปฐม

๑๙๐๑๐ + ๑๐๘๐๐ หาร ๒๑๖๐๐ = ๑ เศษ ๘๒๑๐

เศษ ๘๒๑๐ เป็นฉายาเคราะห์

(๒๘) ฉายาเคราะห์ สมผุสจันทร์ปฐม

๘๒๑๐ – ๗๕๔๓ = ๖๖๗ เคราะห์หันตกุลา

(๒๙) เคราะห์หันตกุลา

๖๖๗ คูณ ๖๐ หาร ๗๙๒ = ๕๐ มหานาฑี เศษ ๔๒๐

๔๒๐ คูณ ๖๐ หาร ๗๙๒ = ๓๑ มหาวินาฑี เศษ ๖๘๔ (อัฑฒาธิกรรม)

เพราะฉะนั้น ๕๐ มหานาฑี และ ๓๒ มหาวินาฑี เป็นปุณมี จันทร์เต็มดวง

(๓๐) ปุณมี

๕๐ คูณ ๖๐ = ๓๐๐๐ + ๓๒ = ๓๐๓๒

๓๒ คูณ ๖๐ = ๑๙๒๐ หาร ๖๐ = ๓๒

๓๐๓๒ หาร ๖๐ = ๕๐ เศษ ๓๒ (อัฒา) เศษ

เพราะฉะนั้น ๕๑ เป็นสมรวิกุลา

(๓๑) ปุณมี

๕๐ คูณ ๘๕๒ = ๔๒๖๐๐ + ๔๕๔ = ๔๓๐๕๔

๓๒ คูณ ๘๕๒ = ๒๗๒๖๔ หาร ๖๐ = ๔๕๔ เศษ ๔๔

๔๓๐๕๔ หาร ๖๐ = ๗๑๗ เศษ ๓๔ (อัฒา) เศษ

เพราะฉะนั้น ๗๑๘ เป็นสมจันทร์กุลา

(๓๒) ปุณมี

๕๐ คูณ ๒ = ๑๕๐ + ๒ = ๑๕๒ หาร ๖๐ = เศษ ๓๒

๓๒ คูณ ๓ = ๙๖ หาร ๖๐ = ๑ เศษ ๓๖ (อัฒา) เศษ

เพราะฉะนั้น ๒ เศษ ๓๒ (อัฒา) = ๓ เป็นสมราหูกุลา


ทำพิรางค์ต่อไป

(๓๓) ฉายาเคราะห์ สมรวิกุลา

๘๒๑๐ + ๕๑ = ๘๒๖๑ ตักกลารวิ

(๓๔) สมผุสจันทร์ปฐม สมจันทร์กุลา

๗๕๔๓ + ๗๑๘ = ๘๒๖๑ ตักกลาจันทร์

ตักกลารวิกับตักกลาจันทร์เท่ากัน, ว่าคำนวณมาถูกแล้ว

(๓๕) สมผุสราหูปฐม สมกุลา

๑๘๖๒๐ – ๓ = ๑๘๖๑๗ ตักกลาราหู

(๓๖) ตักกลาราหู ตักกลาจันทร์

๑๘๖๑๗ – ๘๒๖๑ = ๑๐๒๕๖

๑๐๓๕๖ หาร ๕๔๐๐ = ๑ เป็นโกลัง เศษ ๔๙๕๖

โกลัง ๑ เศษ ยังไม่เป็นราหูภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหารก่อน

๔๕๐๐ – ๔๙๕๖ = ๔๔๔ เป็นราหูภุช

๔๔๔ เอา ๗๒๐ หารไม่ได้ มีคราส

จันทร์ภุกดภุกดิเป็น ๘๕๒ มากกว่าราหูภุช มีคราส

โกลัง ๑ จับข้างอุดร ตักกลาจันทร์ลบตักกลาราหูได้เป็นสุภาพ

(๓๗) ราหูภุช

๔๔๔ คูณ ๙ หาร ๒ = ๑๙๙๘ หาร ๖๐ = ๓๓ เศษ ๑๘

เพราะฉะนั้น ๓๓ มหานาฑีกับ ๑๘ มหาวินาฑี เป็นราหูวิกขิป

(๓๘) ตั้งจันทร์ภุกดภุกดิ

๓๑ คูณ ๘๕๒ = ๒๖๔๑๒ หาร ๗๙๐ = ๓๓ เศษ ๓๔๒

๓๔๒ คูณ ๖๐ = ๒๐๕๒๐ หาร ๗๙๐ = ๒๕ เศษ ๗๗๐ (อัฒา)

เพราะฉะนั้น ๓๓ มหานาฑีกับ ๒๖ มหาวินาฑี เป็นจันทร์พิมพ์

(๓๙) จันทร์พิมพ์

๓๓ คูณ ๔ = ๑๖๕ + ๒ = ๑๖๗ หาร ๒ = ๘๓ มหานาฑี เศษ ๑

๒๖ คูณ ๕ = ๑๓๐ หาร ๖๐ = ๒ เศษ ๑๐

๑ คูณ ๖๐ = ๖๐ + ๑๐ = ๗๐ หาร ๒ = ๓๕

เพราะฉะนั้น ๘๓ มหานาฑี ๓๕ มหาวินาฑี เป็นราหูพิมพ์

(๔๐) จันทร์พิมพ์

๓๓ หาร ๒ = ๑๖ เศษ ๑ คูณ ๖๐ = ๖๐

๒๖ + ๖๐ = ๘๖ หาร ๒ = ๔๓

เพราะฉะนั้น ๑๖ มหานาฑี ๔๓ มหาวินาฑี เป็นปานีจันทร์

(๔๑) ราหูพิมพ์

๘๓ หาร ๒ = ๔๑ เศษ ๑ คูณ ๖๐ = ๖๐

๓๕ + ๖๐ = ๙๕ หาร ๑ = ๔๗ เศษ ๑ (อัฒา)

เพราะฉะนั้น ๔๑ มหานาฑี ๔๘ มหาวินาฑี เป็นปานีราหู

(๔๒) เกณฑ์มหานาฑี ราหูวิกขิป

๕๔ – ๓๓ = ๒๐ (เอาฉายาราหูลบ)

๐ – ๑๘ = ๔๒

๒๐ – ๑ = ๑๙ – ๑ = ๑๘ – ๒ = ๑๖ – ๓ = ๑๓ – ๓ = ๙ – ๔ = ๕ – ๖*

ตัว ๖ ที่กาไว้ลบไม่ได้เป็นหัวหาร นับฉายาได้ ๖ ห้อง

๕ คูณ ๖๐ = ๓๐๐ + ๔๒ = ๓๔๒ หาร ๖๐ = ๕๗ มหาวินาฑี

เพราะฉะนั้น ๖ / ๕๗ คือ ๖ มหานาฑี กับ ๕๗ มหาวินาฑี เป็นมูลมหานาฑี

(๔๓) มูลมหานาฑี

๖ หาร ๒ = ๓

๕๗ หาร ๒ = ๒๘ เศษ ๑

เพราะฉะนั้น ๓ / ๒๘ เป็นติตถมหานาฑี

(๔๔) ปุณมี ติตถ

๕๐ – ๓ = ๔๗

๓๒ – ๒๘ = ๔

๔๗ / ๔ เป็นปรัสถกลหมหานาฑี

(๔๕) ปุณมี ติตถ

๕๐ + ๓ = ๕๓

๓๒ + ๒๘ = ๐

๕๓ / ๐ เป็นมุขกลหมหานาฑี

(๔๖) ตักกลารวิ

๘๒๑๖ หาร ๑๘๐๐ = ๓ เศษ ๑๐๖๑ เศษเป็นภาคกุลา

อาทิตย์อยู่ราศี ๑๐ องศา ๑๗ ลิบดา ๒๖

อันโตฌานราศีอาทิตย์อยู่ ๒๗๒ อันโตสมาสัปต์ ๓๒๖

เพราะฉะนั้น ๓๒๖ – ๒๗๒ = ๕๔

ภาคกุลา ๑๐๖๑ คูณ ๕๔ = ๕๗๒๙๔ หาร ๑๘๐๐ = ๓๑ เศษ ๑๔๙๔

๒๗๒ + ๒๔๔ + ๒๔๔ + ๒๗๒ + ๓๑๒ + ๓๓๔ = ๑๖๗๘ มิสสกะ

๑๖๗๘ + ๓๑ = ๑๗๐๙ หาร ๖๐ = ๒๘ เศษ ๒๙

เพราะฉะนั้น ๒๘ มหานาฑี กับ ๒๙ มหาวินาฑี เป็นทินประมาณ

(๔๗) ๒๘ หาร ๒ = ๑๔

๒๙ หาร ๒ = ๑๔ เศษ ๑ (อัฒา)

๑๔ / ๑๕ ชื่อทินาฒ

(๔๘) มหานาฑีวันหนึ่ง

๖๐ – ๒๘ = ๓๑

๐ – ๒๙ = ๓๑

๓๑ / ๓๑ ชื่อรัตติประมาณ

(๔๙) รัตติประมาณ

๓๑ หาร ๒ = ๑๕ เศษ ๑ เศษ ๑ คูณ ๖๐ = ๖๐

๓๑ + ๖๐ = ๙๑ หาร ๒ = ๔๕ เศษ ๑

เพราะฉะนั้น ๑๕ มหานาฑี ๔๕ มหาวินาฑี เป็นนิสาฒ

ปรัสถ            ทินประมาณ             นิสาฒ           แรกจับ

๔๗     –        ๒๘               =       ๑๘ – ๑๕ =   ๒

๔     –        ๒๙               =       ๓๕ – ๔๕ =   ๕๐

มุกขกลห       ทินประมาณ             นิสาฒ           ปล่อย

๕๔     –        ๒๘               =       ๒๕ – ๑๕ =   ๙

๐      –        ๒๙               =       ๓๑ – ๔๕ =   ๔๖

ถ้าจะรู้เวลากึ่งคราส ให้เอาเวลาแรกจับ ลบเวลาปล่อย แล้วเอา ๒ หาร ได้ผลเท่าใด เอาไปบวกกับเวลาแรกจับ ผลลัพธ์เป็นเวลากึ่งคราส เรียก อัฒคราส (แบบเดิมไม่มีเขียนเพิ่มเติมลงไว้)


----------------------------

เมื่อจะทำมหานาฑีและมหาวินาฑีเป็นเวลานาฬิกาธรรมดาให้เทียบเวลากันดังนี้

๖๐ มหานาฑี  = ๒๔ ชั่วโมง

๖๐ มหานาฑี = ๒๔ คูณ ๖๐ = ๑๔๔๐ นาฑี

เพราะฉะนั้น ๑ มหานาฑี  = ๒๔ คูณ ๖๐ หาร ๖๐ = ๒๔ นาฑี

๖๐ มหานาฑี = ๒๔ นาฑี

๖๐ มหานาฑี  = ๒๔ คูณ ๖๐ = ๑๔๔๐ วินาฑี

เพราะฉะนั้น ๑ มหานาฑี  = ๒๔ คุณ ๖๐ หาร ๖๐ = ๒๔ วินาฑี

เพราะฉะนั้น ๑ มหานาฑี = ๒๔ นาฑี ๑ มหาวินาฑี = ๒๔ วินาฑี

ถ้าจะทำเวลาแรกจับ เป็นเวลานาฬิกาตามธรรมดา ให้เอา ๒๔ คูณมหานาฑีและมหาวินาฑี เวลาแรกจับเข้าทั้งสองฐาน แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานวินาฑี ผลลัพธ์บวดฐานมหานาฑี เศษเป็นวินาฑี ฐานมหานาฑี เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นโมง เศษเป็นนาฑี

ถ้าจะทำเวลาปล่อยให้ตั้งมหานาฑีและมหาวินาฑีเวลาปล่อย แล้วเอา ๒๔ คูณทั้งสองฐาน ทำอย่างเดียวกับที่ทำมาแล้วเมื่อแรกจับนั้น ถ้าที่ทำมาแล้วเอานิสาฒลบต่อจากทินประมาณได้ ให้นับแต่เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป ถ้าเอานิสาฒลบได้ ให้นับแต่เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป

ตัวอย่างทำเวลาแรกจับตามที่คำนวณมาแล้วดังนี้

๒ คูณ ๒๔= ๔๘ +๒๐ หาร ๖๐ = ๑ เศษ ๘

๕๐ คูณ ๒๔ หาร ๖๐ = ๒๐

เพราะฉะนั้น เวลาแรกจับ ๑ นาฬิกา ๘ นาฑี


-----------------------


ตัวอย่างทำเวลาปล่อยตามที่คำนวณมา

๙ คูณ ๒๔ = ๒๑๖ + ๑๘ หาร ๖๐ = ๓ เศษ ๕๔

๔๖ คูณ ๒๔ หาร ๖๐ = ๑๘ เศษ ๒๔

เพราะฉะนั้น เวลาปล่อย ๓ นาฬิกา ๕๔ นาฑี ๒๔ วินาฑี


-----------------------

รูปจันทร์พิมพ์เข้าในวงราหูข้อ ๔๐ ดังนี้


รูปภาพ


(๑) ก ข เป็นศูนย์กลางจันทร์พิมพ์     = ๓๓ ม.น ๒๖ ม.ว

(๒) ก ข เป็นปานีจันทร์                  = ๑๖ ม.น ๔๓ ม.ว

(๓) ก ง เป็นราหูวิกขิป                             = ๓๓ ม.น ๑๘ ม.ว

(๔)    ง เป็นที่กาไว้

(๕) จ ง เป็นปานีราหู                     = ๔๑ ม.น ๔๘ ม.ว

(๖) ค จ เป็นราหูกินไม่สิ้น               =   ๘ ม.น ๑๓ ม.ว

(๗) ข จ เป็นราหูกินสิ้นไป               = ๒๕ ม.น ๑๓ ม.ว


------------------------


ตัวอย่างทำชั้นฉายเมื่อแรกจับและปล่อยดังนี้

นิสาฒ                    แรกจับ

๑๕     –        ๒    = ๑๒     ๑๒ คูณ ๖๐ = ๗๒๐

๔๖     –        ๔๘ = ๕๘     ๕๘ + ๗๒๐ = ๗๗๘ เป็นพลหารแรกจับ

นิสาฒ           ปล่อย

๑๕     –        ๙   = ๖         ๖ คูณ ๖๐ = ๓๖๐

๔๖     –        ๔๖ = ๐        ๐ + ๓๖๐ = ๓๖๐

นิสาฒ

๑๕ คูณ ๖๐ = ๙๐๐

๔๖ + ๙๐๐ = ๙๔๖   ๙๔๖ คูณ ๗ = ๖๖๒๒ พลอักษร

๖๖๒๖ หาร ๗๗๘ = ๘ ฉายา เศษ ๓๙๘

๓๙๘ คูณ ๑๕ หาร ๗๗๘ = ๗ องคุลี เศษ ๕๒๖

๕๒๖ คูณ ๔ หาร ๗๗๘ = ๒ เศษ ๕๔๘

ฉายา   ๘ + ๑ = ๙    /        ๙ – ๗ = ๒    ]

องคุลี  ๗           ๗   /         ๗          ๗    } เป็นชั้นฉายแรกจับ

เมล็ดข้าว ๒        ๒   /         ๒          ๒    ]


-----------------------


๖๖๒๒ หาร ๓๖๐ = ๑๘ เศษ ๑๔๒

๑๔๒ คูณ ๑๕ หาร ๓๖๐ = เศษ ๒๒๐

๓๓๐ คูณ ๔ หาร ๓๖๐ = ๓ เศษ ๒๔๐

ฉายา     ๑๘ + ๑ = ๑๙                 ๑๙ – ๗ = ๑๒

องคุลี      ๕             ๕                  ๕            ๕ } เป็นชั้นฉายเมื่อปล่อย

เมล็ดข้าว  ๓            ๓                  ๓            ๓

จบจันทร์คราสตามตำราเดิมแต่เพียงนี้


----------------------------