Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

โหราศาสตร์ฮินดูเป็นวิชาดาราศาสตร์-โหราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่งของโลก มีประวัติย้อนหลังไปถึง 8,300 ปี 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือ
ประมาณ 10,000 ปี มาแล้ว  (8300 B.C.- 3000 B.C.) โดยในระยะเวลาดังกล่าว วิชานี้ได้รับการค้นคว้าและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาพร้อมๆ
กับคัมภีร์พระเวท ของพราหมณ์ โดยมหาฤาษีหรือมหามุนีที่เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ในยุคบรรพกาล ที่รจนาคัมภีร์พระเวท (สัปตยุคฤาษี)
จำนวน 18 องค์คือ มหาฤาษีสูรยา มหาฤาษีปิตมาส มหาฤาษีวยาสะ  มหาฤาษีวสิษฐะ  มหาฤาษีอตรี  มหาฤาษีปราสาระ มหาฤาษีกาษยาปะ
มหาฤาษีลิษะ มหาฤาษีชาวาล มหาฤาษียาวนะ มหาฤาษีภฤคุ มหาฤาษีสูรยา และมหาฤาษีศอุนาคา เป็นต้น

วิชาโหรฯแห่งดินแดนภารตะ(อินเดีย) ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบันมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่นโหราศาสตร์ฮินดู (Hindu Astrology) โหราศาสตร์พระเวท
(Vedic Astrology) โชฺยติษ ศาสตร์ (Jyotish shastra)เป็นวิชาที่ว่าด้วย กาลเวลา การโคจรของดาวเคราะห์ และปรากฏกาณ์ทางดาราศาสตร์
ที่ส่งพลังรังสีที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านชาตาชีวิต สุขภาพ ความสามารถ ความนึกคิด อารมณ์ต่างๆ ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลจากพลัง
รังสีดี-ร้ายของจักรวาลและเป็นวิชาหนึ่งในวิชาหลักสมัยโบราณที่นักบริหาร นักการทหาร และนักปกครอง จะต้องเรียนรู้และเป็นแม่แบบของวิชา
โหราศาสตร์ระบบนิรายนะในวัฒนธรรมอื่นๆทั่วโลก และเป็นบรมครูของโหราศาสตร์ไทย และโหราศาสตร์ลังกา พม่า ลาว เขมร มอญ อินโด
ธิเบต ฯลฯและแม้แต่โหราศาสตร์จีนก็ได้รับอิทธิพลจากโหราศาสตร์ภารตะเป็นอย่างมากผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่แพร่เข้าไปในประเทศจีน
เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ซึ่งศาสตร์เหล่านี้ เป็นศาสตร์ชั้นสูงที่มีการคำนวณ ยุ่งยากสลับซับซ้อนและละเอียดเป็นอย่างมากเพื่อใช้สำหรับทำนาย
เหตุการณ์บ้านเมือง ทำนายฝนฟ้า ฤดูกาลทำนายชาตาชีวิตของกษัตริย์และบุคคลชั้นสูงส่วนสามัญชน จะไม่มีโอกาสได้ใช้เลย
ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา มีการเปิดเผยความลี้ลับของวิชาโหราสาตร์และคัมภีร์เก่าแก่ที่ปิดบังซ่อนเร้นมานานนับพันปี
นำมาเผยแพร่ให้ความรู้ต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกันแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ ที่จะได้มีโอกาสใช้และได้รับผลดีจาก
ภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนโบราณ

วิชาฤกษ์ยาม  เป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่สามารถขจัดปัดเป่าอุปสรรคและแก้ไขผลร้ายจากดวงชาตาเดิมได้จริง   ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับจาก
โหราจารย์ทุกระบบทุกแขนงทั่วโลกมาตั้งแต่โบราณ แต่เนื่องจากฤกษ์ยามเป็นนามธรรมเป็นกาละแห่งเวลาที่จับต้องไม่ได้  โบราณท่านจึงคิดค้น
วิธีการแสดงรูปลักษณ์ของ“ฤกษ์ยาม”ออกมาด้วยรูปแบบของ”พิธีกรรม” ซึ่งพิธีกรรมทั้งหลายก็ต้องอาศัยฤกษ์ยามที่ถูกต้องเท่านั้น  จึงจะมีพลัง
และสามารถส่งผลดีตามที่ต้องการได้  และหากมีการใช้ฤกษ์ยามที่ผิด   การประกอบพิธีกรรมต่างๆแม้ว่าจะทำให้ดูเข้มขลังอลังการหรือยิ่งใหญ่
สักเพียงใดก็ตามก็เท่ากับสูญเปล่า ไม่เพียงแต่ไม่ประสบผลดีเท่านั้นแต่ก็ยังอาจจะกลับประสบผลร้ายได้อีกด้วย ซึ่งโหราจารย์ทั้งหลายย่อมรู้ดีแต่
สามัญชนทั่วไปไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลยว่าฤกษ์ยามมีอิทธิพลเหนือพิธีกรรมต่างๆในทุกรูปแบบ

ปฏิทินฮินดู หรือ ปํญจางคนัม หรือปฏิทินโหราศาสตร์ เป็นปฏิทินที่คำนวนพลังรังสีดี-ร้ายของดาวเคราะห์  ดาวนักษัตร ดิถี ดี-ร้ายในแต่ละวัน
เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองในกิจการที่จะกระทำและหลีกเลี่ยงผลร้ายที่เกิดตามมา  ซึ่งในการคำนวณหา
พลังรังสีดี-ร้ายในแต่ละวันนั้นจะต้องมีองค์ประกอบผสมผสานสัมพันธ์กันอยู่ 5 ประการคือ (1.) ดิถี หรือดิถีขึ้นแรมของจันทร์ ตามหลักดิถีเพียร
(2.) วาร หรือวันในสัปดาห์ เช่น จันทร์ อังคาร พุธ ฯลฯ  (3.)นักษัตร หรือกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มในจักราศีนับตั้งอัศวินีนักษัตรเป็นต้นจนถึง
เราวดีนักษัตรหมุนเวียนกันไปจนครบ 1 รอบเดือนทางจันทรคติ (4.)โยค หรือ นักษัตรโยค ทั้ง 27 โยคหมุนเวียนกันไปจนครบใน 1 รอบเดือน
ทางจันทรคติ (5.) กรณะ หรือนักษัตรกาล คือเวลาครึ่งหนึ่งของวันทางจันทรคติ มีระยะ 6 องศาทวีคูณระหว่างพระอาทิตย์กับจันทร์ซึ่งมีทั้ง
หมด 11  กรณะ ซึ่งทั้งหมดทั้ง 5 ประการนี้จะต้อง เป็นศุภผล(ผลดี) เท่านั้นจึงจะเป็นฤกษ์ยามที่เป็นมงคล เหมาะสำหรับเริ่มกิจการต่างๆและ
จะให้ผลดีประสบความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งการคำนวณพลังทั้ง 5 ประการนี้เรียกว่า ปัญจกะ หรือ ปัญจกสุทธิ โดยมีรายละเอียด
และวิธีการคำนวณ ดังนี้

ดิถีหรือระยะขึ้นแรมของดวงจันทร์ในวันต่างๆ ตามหลักวิชาโหรภารตะจะมีการคำนวณอย่างละเอียด โดยอาศัยองศาสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์
และดวงจันทร์ ซึ่งเรียกว่า ดิถีเพียร และอาจจะแตกต่างกับดิถีที่ปรากฏในปฏิทินทั่วๆไป ดิถีจะมีอยู่ 2 ปักษ์คือ (1.) กฤษณปักษ์  หรือข้างแรม
นับตั้งแต่แรม 1ค่ำจนถึงวันอวมาวาสี (พระจันทร์ดับ) (2.) ศุกรปักษ์ หรือข้างขึ้น นับตั้งแต่ขึ้น 1ค่ำไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ ปูรณมี
ในการคำนวณพละหรือกำลังของดิถี ในวิชาโหราศาสตร์ หากเป็นข้างขึ้นระหว่าง ขึ้น 7 ค่ำ-แรม 7 ค่ำถือว่ามีพลังที่เป็นศุภมงคล ส่วนดิถีที่เหลือ
นอกจากนี้พลังจะลดลงตามส่วนของความสว่างของดวงจันทร์ คือแรม 8 ค่ำจนถึงขึ้น 6 ค่ำ  ในการแบ่งพละของดิถีดวงจันทร์เพื่อหาพลังรังสีที่
เป็นมงคลของดวงจันทร์ ทางโหราศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้

ดังนั้นในการเลือกวันที่จะทำการมงคลควรจะพิจารณาดิถีก่อนเป็นอันดับแรกว่าเป็นดิถีประเภทใด หากเป็นพวกนันดิถี ภัทรดิถี ชยะดิถี หรือ
ปูรณะดิถี ก็จะเกิดผลดีเป็นมงคลอย่างสูงและควรหลีกเลี่ยง ริกตะดิถี เพราะเป็นดิถีไม่ดี เว้นแต่จะมีพลังศุภมงคลจากทางอื่นมาช่วยแก้ไข