Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร การตัดจีวร และการใช้ผ้าต่าง ๆ

หมวดว่าด้วยจีวร

คหบดีชาวกรุงราชคฤห์ไปเที่ยวเมืองเวสาลี เห็นบ้านเมืองเจริญและมีหญิงนครโสเภณี นามว่า อัมพปาลี เมื่อกลับไปกรุงราชคฤห์ จึงไปแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตให้มีหญิงนครโสเภณีบ้าง เมื่อทรงอนุญาตจึงหาหญิงสาวร่างงาม ชื่อนางสาลวดีมาเป็นหญิงนครโสเภณีประจำกรุงราชคฤห์นางตั้งครรภ์ คลอดบุตรเป็นชาย จึงให้นำไปทิ้งยังกองขยะ อภัยราชกุมารไปพบจึงให้รับไปเลี้ยงไว้ในวัง เด็กนั้นจึงชื่อว่า ชีวก (รอดตาย) โกมารภัจจ์(พระราชกุมารเลี้ยงไว้) เมื่อชีวกโกมารภัจจ์เติบโต จึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ เมืองตักกสิลา อยู่ 7 ปี เมื่อสำเร็ํจแล้ว ในระหว่างเดินทางกลับก็ได้รักษาภริยาเศรษฐีผู้หนึ่ง ในเมืองสาเกต ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา 7 ปี ด้วยใช้ยาน้ำมันให้นัตถุ์ทางจมูก ได้ลาภสักการะมาก ก็มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณที่อยู่ของอภัยราชกุมาร.

ต่อมาได้รักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารหาย ด้วยให้ทายาเพียงครั้งเดียว จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก และประจำพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์.

ต่อมาได้รักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งกรุงราชคฤห์ด้วยการผ่าตัดศีรษะ, รักษาโรคเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ของบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งกรุงพาราณส ีด้วยการผ่าตัดหน้าท้อง, รักษาโรคผอมเหลืองของพระเจ้าจันทปัชโชติแห่งกรุงอุชเชนี ด้วยการถวายยา ให้ทรงดื่มได้ผลดีทุกราย.

ครั้งหลังถวายยาถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคโดยไม่ต้องให้เสวย เพียงแต่อบยาใส่ดอกอุบล 3 ก้าน แล้วถวายให้พระองค์ทรงสูดดมทีละก้าน ก็ได้ผลดีในที่สุด ได้กราบทูลขอร้องต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายรับคหบดีจีวร( คือจีวรที่มีผู้ศรัทธาถวายให้ใช้ สมัยก่อนอนุญาตแต่จีวรที่เก็บเศษผ้ามาปะติดกัน) ทรงปรารภคำขอของหมอชีวก จึงทรงอนุญาตให้รับคหบดีจีวร หรือภิกษุรูปใดปรารถนาจะใช้จีวรที่เก็บเศษผ้าเก็บมาปะติดปะต่อ ที่เรียก บังสุกุลจีวร ก็ได้แต่ทรงสรรเสริญการยินดีปัจจัยตามมีตามได้.

ทรงอนุญาตคหบดีจีวร 6 ชนิด

สมัยนั้น จีวรทั้งชนิดที่มีเนื้่อละเอียดและเนื้อหยาบ ได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่าทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง จึงทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ

  1. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้)
  2. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย)
  3. โกเสยยะ (ผ้าไหม)
  4. กัมพล (ผ้าขนสัตว์)
  5. สาณะ (ผ้าป่าน)
  6. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน)

ในการแสวงหาผ้าบังสุกุลในป่าช้านั้น ทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่รอคอย, ภิกษุที่เข้าไปแสวงหาพร้อมกัน หรือ นัดกันไป นอกจากกรณีที่กล่าวเหล่านี้แล้ว ภิกษุไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.

ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับจีวร

เมื่อมนุษย์ทั้งหลายทราบว่า ทรงอนุญาตให้ถวายจีวรได้ก็พากันนำมาถวายมาก เมื่อจีวรมีมากจึงทรงอนุญาตให้สวดประกาศแต่งตั้งภิกษุผู้รับจีวร,ภิกษุผู้ เก็บจีวร,สมมติเรือนคลัง, ภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง,ภิกษุผู้แจกจีวร (มีรายละเอียดอยู่ในภาึคผนวก หน้า 420) และทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุผู้ทำหน้าที่เหล่านั้น คือ

  1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
  2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
  3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
  4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
  5. รู้จักจีวรที่รับแล้วหรือยังไม่ได้รับ, เก็บแล้วหรือยังไม่ได้เก็บ,รักษาแล้วหรือยังไม่รักษา,แจกแล้วหรือยังไม่แจก ตามแต่ลักษณะหน้าที่นั้น ๆ

นอกจากนี้ยังทรงบัญญัติว่า ห้ามย้ายที่อยู่เจ้าหน้าที่เรือนคลัง ผู้ใดย้ายต้องอาบัติทุกกฏ ทรงแนะวิธีแจกจีวรว่า ให้คัดผ้าแล้วเฉลี่ยตามจำนวนภิกษุและสามเณร โดยมอบแก่สามเณรครึ่งส่วน แล้วผูกเป็นมัดไว้แจก ให้ผู้ที่จะรีบไป รับส่วนของตนได้ก่อน ให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อจะให้สิ่งทดแทน ถ้าจีวรไม่พอแจกให้สมยอมส่วนที่พร่องแล้วจับฉลาก

ทรงอนุญาตสีย้อมและวิธีการเกี่ยวกับจีวร

ทรงอนุญาตสีย้อมจีวร 6 ชนิด คือ ที่ทำจาก รากไม้, ลำต้นไม้, เปลือกไม้, ใบไม้, ดอกไม้ และ ผลไม้ และทรงอนุญาตวิธีการและอุปกรณ์ต่างๆ ในการซักย้อมจีวร คืออนุญาตหม้อต้มน้ำย้อม ผูกตะกร้อกันน้ำล้น กระบวยตักน้ำย้อม อ่างหม้อและรางสำหรับย้อม ราวจีวรสายระเดียง ผูกมุมจีวรตาก ด้วยผูกมุมจีวร ทุบซักจีวรด้วยฝ่ามือ.

ทรงอนุญาตวิธีตัดจีวร

ทรงห้ามภิกษุใช้จีวรที่ยังไมไ่ด้ตัด เพื่อให้จีวรที่ตัดแล้วเศร้าหมองเหมาะแก่สมณะและพวกโจรไม่ต้องการ เมื่อเสด็จไปยังทักขิณาคิรี (ภูิเขาภาคใต้) ทอดพระเนตรเห็นนาชาวมคธ มีขอบคั่นและกระทงนา จึงตรัสให้พระอานนท์ลองตัดจีวรเป็นรูปอย่างนั้นดู เมื่อพระอานนท์ทำเสร็จ ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้ฉลาด.

ต่อมาทอดพระเนตรเห็นภิกษุหอบจีวรพะรุงพะรัุง ทรงทดลองห่อจีวรประืัทับอยู่กลางแจ้งในกลางคืนฤดูหนาวดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ที่เป็นคนมีปกติหนาวกลัวความหนาว อาจครองชีพอยูได้ด้วยผ้า 3 ผืน จึงทรงบัญญัติให้ใช้จีวร 3 ผืน (ไตรจีวร) คือ ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก) 2 ชั้น ผ้าห่ม (จีวร) 1 ชั้น ผ้านุ่ง(สบง) 1 ชั้น แล้วทรงอนุญาตให้เก็บจีวรที่เกินจำนวน 3 ผืนไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน ถ้าจะเก็บเกินกว่านั้นให้วิกัป ( คือทำให้เป็นของ 2 เจ้าของ) ต่อมา ทรงอนุญาตว่าถ้าเป็นผ้าเก่าค้างฤดูให้ใช้สังฆาฎิ 4 ชั้น ผ้าจีวร 2 ชั้น สบง 2 ชั้น (เำพื่อไม่ให้เห็นช่องขาดปุปะ) อนุญาตผ้าปะชุน, รังดุม และลูกดุม.

ทรงอนุญาตค่ำขอ 8 ประการของนางวิสาขา

นางวิสาขาปรารถนาจะถวายความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ จึงกราบทูลขอพร 8 ประการ เพื่อถวายสิ่งต่างๆ แก่ภิกษุจนตลอดชีวิต อ้างเหตุผลที่เคยประสบมาต่าง ๆ อันควรจะทรงอนุญาต ก็ทรงอนุญาตตามที่ขอร้อง คือ :-

  1. ผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน)
  2. อาคันตุกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้เพิ่งมา)
  3. คมิกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางไป)
  4. คิลานภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้)
  5. คิลานุปัฏฐากภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลไข้)
  6. คิลานเภสัช (ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้)
  7. ข้่าวยาคูที่ถวายเป็นประจำ
  8. ผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำสำหรับนางภิกษุณี)

ทรงอนุญาตผ้าอื่น ๆ

ต่อมาทรงจาริกไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปื้อนอสุจิ ทรงยืนยันตามคำของพระอานนท์ที่ว่า เป็นเพราะเมื่อภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ น้ำอสุจิย่อมออกมาเพราะความฝัน ตรัสว่า ” ภิกษุผู้จำวัดโดยมีสติตั้งมั่นน้ำอสุจิย่อมไม่เคลื่อน แม้ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม น้ำอสุจิย่อมไม่ออกมา ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะออกมา ตรัสโทษแล้วแสดงอานิสงส์ของการนอนหลับ อย่างมีสติ 5 อย่าง คือ

  1. หลับเป็นสุข
  2. ตื่นเป็นสุข
  3. ไม่ฝันเห็นความเลวทราม
  4. เทวดารักษา
  5. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

อนุญาตให้มีผ้าปูนั่ง หรือผ้าปูนอน (เพื่อป้องกันเสนาสนะเปรอะเปื้อน) ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี เมื่อเป็นฝีเป็นต่อม, ทรงอนุญาตผ้าเช็ดหน้า และผ้าอื่นๆ ที่ใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ, ถุงใส่ของ แล้วตรัสสรุปว่าผ้าไตรจีวรให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป, ผ้าอาบน้ำฝนให้อธิษฐานใช้ตลอด 4 เดือน ฤดูฝนต่อจากนั้นให้วิกัป,ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป, ผ้าปิดฝีให้อธิษฐานไว้ใช้ตลอดเวลาที่อาพาธหายแล้วให้วิกัป, ผ้าเช็ดหน้า และผ้าที่้ใช้เป็นบริขารอื่น ๆ ให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป ผ้าที่มีขนาดยาว 8 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว เป็นอย่างต่ำพึงวิกัป.

ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับจีวรอีก

เพราะผ้าบังสุกุลหนักจึงทรงอนุญาตให้เย็บดามด้วยด้าย, มุมไม่เสมอ ทรงอนุญาตเจียนมุม,ด้ายลุ่ยออก ทรงอนุญาตติดอนุวาต,แผ่นผ้าสังฆาฎิลุ่ย  ทรงอนุญาตเย็บตะเข็บดังตาหมากรุก,เมื่อสงฆ์ทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่งผ้า 2 ผืนไม่ตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ จึงทรงตรัสว่า เราอนุญาตให้เพิ่มผ้าเพลาะ แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ,ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หลายผืนท่านปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วยรู้ว่ามารดาบิดาเราจะพึงว่าอะไร เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุไม่พึงทำศรัทธาไทยให้ตกไป รูปใดให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

มีปัญหาเรื่องการนำจีวรไปไม่ครบสำรับ จีวรที่เก็บไว้ถูกโจรลักไป จึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุมีแต่อุตราสงค์ (จีวร) กับอันตรวาสก (สบง) ไม่พึงเข้าหมู่บ้านรูปใดเข้าไปต้องอาบัติทุกกฏ ภายหลังทรงกำหนด เงื่อนไขว่าเมื่อมีเหตุจำเป็น 5 อย่างจะเข้าบ้านโดยเก็บจีวรไว้ไม่นำไปครบสำรับได้ คือ

  1. เป็นไข้
  2. สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
  3. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ
  4. ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล(กลอน)
  5. ได้กรานกฐินแล้ว

และมีปัญหาเรื่องมีผู้ถวายจีวรแก่สงฆ์ แต่อยู่ไม่ครบสงฆ์คือ 4 รูป ตรัสว่าถ้าเป็นช่วงพรรษาจนถึงเดาะกฐินจีวรเป็นของภิกษุเหล่านั้น ถ้าอยู่ผู้เดียวตลอดกาลอื่น ให้อธิษฐานว่าจีวรนั้นเป็นของเรา ก่อนอธิษฐานถ้ามีภิกษุอื่นมาให้แบ่งเท่าๆ กัน ทรงห้ามภิกษุผู้จำพรรษาในวัดหนึ่ง แต่จะละโมบไปยินดีรับจีวรในวัดอื่นเป็นส่วนแบ่งอีกต้องอาบัติทุกกฏ,มีภิกษุ ทำเป็นว่าอยู่จำพรรษา 2 แห่ง  ทรงติเตียน แล้วทรงให้แบ่งส่วนจีวรวัดละกึ่งส่วน หรือให้ส่วนของจีวรของวัดที่เธอจำพรรษามาก.

พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอนจมปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่ จึงเสด็จเข้าไปพยาบาล และรับสั่งให้พระอานนท์ไปนำน้ำมาสรงน้ำให้เธอ  พระองค์ทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเรียนประชุมภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้่น ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “รู้หรือไม่ว่าภิกษุอาพาธอยู่ในวิหารโน้น ด้วยโรคอะไร มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายก็ทูลว่า “ทราบว่ามีภิกษุอาพาธอยู่ในวิหารโน้น ด้วยโรคท้องเสีย โดยไม่มีใครพยาบาล” จึงตรัสถามว่า ” ทำไมเล่า? ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ” ภิกษุทั้งหลายก็ทูลตอบว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายพระเจ้าข้า.” พระผู้มีพระภาคจึงทรงตรัสว่า

“ดูก่อนภิำกษุทั้งหลาย! มารดาบิดา ผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี.ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล .ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดจะพยาบาลเรา ถ้าพึงพยาบาลภิกษุไข้เถิด.

ถ้ามีอุปัชฌาย์ ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผุ้ร่วมอาจารย์ ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปฌาชย์ อาจารย์ สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ”

ทรงแสดงคุณสมบัติของคนไข้ที่พยาบาลได้ง่าย 5 คือ

  1. ทำความสบาย
  2. รู้ประมาณในความสบาย
  3. ฉันยา
  4. บอกอาการไข้ตามเป็นจริง
  5. อดทนต่อความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น

ทรงตรัสคุณสมบัติของคนไข้ที่พยาบาลได้ยาก มีนัยตรงข้ามกับคนไข้ที่พยาบาลได้ง่าย และตรัสองค์ของผู้ควรพยาบาลภิกษุไข้ 5 คือ

  1. สามารถจัดยา
  2. รู้จักของแสลงและไม่แสลง
  3. ไม่พยาบาลเพราะเห็นแก่อามิส มีจิตเมตตา
  4. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายของที่อาเจียนไปเททิ้ง
  5. สามารถพูดให้เห็นชัด รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้กล้า ปลอบให้สดชื่น

สมัยนั้นมีภิกษุสามเณรอาพาธได้มรณภาพลง ตรัสว่า “เมื่อภิกษุสามเณรมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรและจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาล เป็นผู้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุสามเณรผู้พยาบาล”

นอกจากนั้นได้ทรงแสดงวิธีสวดประกาศของสงฆ์ เพื่อมอบของผู้เป็นไข้ที่สิ้นชีวิตแก่ภิกษุผู้พยาบาล ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมใจกันแบ่งลหุภัณฑ์ลหุบริขาร (ของเล็ก ๆ น้อย ๆ) แต่ถ้าเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (คือของใช้ขนาดใหญ่) ห้ามแบ่งและแจกให้เก็บไว้ใช้เป็นของสงฆ์.

การเปลือยกายและการใช้ผ้า

ทรงห้ามสมาทานการเปลือยกายแบบเดียรถีย์ และปรัีบอาบัติถุลลัจจัยแก่ผู้ล่วงละเมิด อนึ่งทรงห้ามใช้ผ้าคากรอง ,เปลือกต้นไม้กรอง,ผลไม้กรอง,ผ้ากัมพล ทำด้วยผมคน,ผ้ากัมพล ทำด้วยขนหางสัตว์ ปีกนกเค้าหรือหนังเสือ, ซึ่งเป็นผ้านุ่งห่มของพวกเดียรถีย์ใช้นุ่งห่ม ฝ่าฝืนต้องอาบัติถุลลัจจัยและห้ามนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก, ด้วยเปลือกปอ ปรับอาบัติทุกกฏ.

ทรงห้ามใช้จีวรที่มีสีไม่สมควร และห้ามใส่เสื้อ หมวก ผ้าโพก

ทรงห้ามใช้จีวรมีสีไม่สมควรต่าง ๆ คือ เขียวล้วน,เหลืองล้วน,แดงล้วน,สีบานเย็นล้วน,ดำล้วน,สีแสดล้่วน,ชมพูล้วน, อนึ่ง ทรงห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัดชาย, จีวรมีชายยาว,จีวรมีชายเป็นดอกไม้, จีวรมีชายเป็นแผ่น และทรงห้ามใช้เสื้อ, หมวก, ผ้าโพก ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

ทรงวางหลักเกี่ยวกับจีวรอีก

เมื่อภิกษุจำพรรษาแล้ว จีวรยังไม่ทันเกิดขึ้นหลีกไปเสีย ภายหลังมีจีวรเกิดขึ้น ถ้ามีผู้รับแทนเธอที่สมควรจะให้ก็ให้ได้ แต่ถ้าเธอสึกเสีย เป็นต้น สงฆ์ย่อมเป็นใหญ่ ถ้าสงฆ์แตกกันให้แจกผ้าตามความประสงค์ ของผู้ถวายว่าจะถวายแก่ฝ่ายไหน ถ้าเขาไม่เจาะจงให้แบ่งฝ่ายละเท่ากัน.

อนึ่ง ทรงวางหลักการถือเอาจีวรที่ฝากไปถวายผู้อื่น ด้วยถือวิสาสะ คือคุ้นเคยกัน ถ้าผู้ฝากจีวรไปกล่าวว่า “จงถวาย..” ถือว่าของนั้นเป็นของผู้ฝากไปอยู่ แต่ถ้ากล่าวว่า “ขอถวาย..” ของนั้นเป็นของผู้รับแล้ว ฉะนั้น ถ้าจะถือจีวรนั้นเอาด้วยวิสาสะต้องถือวิสาสะให้ถูกเจ้าของ

แล้วทรงแสดงกติกา (ข้อกำหนดหรือแม่บท) 8 ประการที่จีวรจะเกิดขึ้น คือ

  1. เขาถวายกำหนดเขตภิกษุที่อยู่ในสีมา
  2. เขาถวายกำหนดกติกา
  3. เขาถวายกำหนดเฉพาะเขตหรือวันที่เขาทำบุญประจำ
  4. เขาถวายแก่สงฆ์
  5. เขาถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย (คือภิกษุ และ ภิกษุณี พึงให้ฝ่ายละครึ่ง)
  6. เขาถวายแก่สงฆ์ที่จำพรรษาแล้วในอาวาสนั้น
  7. เขาถวายโดยเจาะจง (ให้เกี่ยวเนื่องกับการถวายข้าวยาคู หรือ อาหารอื่น ๆ เป็นต้น)
  8. เขาถวายจำเพาะบุคคล (คือ แก่ภิกษุรูปนั้นรูปนี้).

ปุุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม คือ ผู้มีปกติได้ฌาณ (วิ.อ.3/353/218)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา