Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

สังฆาทิเสสุทเทส

(สังฆาทิเสส    ๑๓)

ท่านทั้งหลาย    อาบัติชื่อสังฆาทิเสส  ๑๓    เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่  อุทเทส.

๑.  ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ  เว้นไว้แต่ฝัน  เป็นสังฆาทิเสส.

๒.    อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคามจับมือก็ตาม  จับช้องผมก็ตาม    ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม  เป็นสังฆาทิเสส.

๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  พูดเกี้ยวมาตุ  คามด้วยวาจาชั่วหยาบเหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว  ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน  เป็นสังฆาทิเสส.

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม  ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า  "น้องหญิงหญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์  มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น  นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย  เป็นสังฆาทิเสส.

๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ(บอก)  ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี(บอก)  ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดีในความเป็นเมียก็ตาม  ในความเป็นชู้ก็ตามโดยที่สุด(บอก)  แม้แก่หญิงแพศยา  อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ  เป็นสังฆาทิเสส.

๖.  อนึ่ง  ภิกษุจะให้ทำกุฎี  อันหาเจ้าของมิได้  เฉพาะตนเอง  ด้วยอาการขอเอาเองพึงทำให้ได้ประมาณ;    นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้นโดยยาว  ๑๒  คืบ  โดยกว้าง  ๗  คืบด้วยคืบสุคต  (  วัด  )   ในร่วมใน.  พึงนำภิกษุทั้งหลายไป  เพื่อแสดงที่  ภิกษุเหล่านั้น    พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ.  หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง    ในที่อันมีผู้จองไว้    อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่หรือทำให้ล่วงประมาณ  เป็นสังฆาทิเสส.

๗.  อนึ่ง    ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ  เฉพาะตนเอง    พึงนำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่  ภิกษุเหล่านั้น    พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบหากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่  มีผู้จองไว้    หาชานรอบมิได้  หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่เป็นสังฆาทิเสส.

๘.  อนึ่ง  ภิกษุใดขัดใจ  มีโทสะไม่แช่มชื่น    ตามกำจัด(  คือโจท  )    ภิกษุด้วยอาบัติมีโทษถึงปาราชิก    อันหามูลมิได้  ด้วยหมายใจว่า"แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้  "  ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม  ไม่ถือเอาตามก็ตาม  (คือเชื่อไม่เชื่อก็ตาม )  แต่อธิกรณ์นั้น  เป็นเรื่องหามูลมิได้และภิกษุย่อมยันอิงโทสะเป็น สังฆาทิเสส.

๙.    อนึ่ง  ภิกษุใดขัดใจ  มีโทสะไม่แช่มชื่น    ถือเอาเอกเทศบางแห่ง  แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลิศ  ตามกำจัดภิกษุด้วย ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก  ด้วยหมายใจว่า  "แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้  "ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใดผู้อื่นถือเอาตามก็ตาม  ไม่ถือเอาตามก็ตาม  (คือเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม)  แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นเอกเทศบางแห่ง  เธอถือเอาพอเป็นเลศและภิกษุย่อมยืนยันอิงโทสะ  ๓  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์(คือเรื่อง)  อันเป็นเหตุแตกกันยืนกรานอยู่  ภิกษุนั้น    อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้    ว่า  "ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย  เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง  หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน  ยืนกรานอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์  เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง  กัน  ปรองดองกันไม่วิวาทกัน  มีอุทเทสเดียวกัน  (คือฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกัน)  ย่อมอยู่ผาสุก"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส  (คือประกาศห้าม)  กว่าจะครบ ๓  จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย  หากเธอถูกสวดสมนุภาส  กว่าจะครบ  ๓  จบอยู่  สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดี  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๑.  อนึ่ง  มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล  ๑  รูปบ้าง  ๒  รูปบ้าง  ๓  รูปบ้าง   ๓  เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า  "ขอท่าน ทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ  ต่อภิกษุนั้นภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย  ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วยภิกษุนั้นถือเอาความพอใจ  และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย  เธอรู้  (ใจ)  ของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว  คำที่เธอกล่าวนี้  ย่อมควร  (คือถูกใจ)  แม้แก่พวกข้าพเจ้า".  ภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว  อย่างนี้ว่า  "ท่านทั้งหลาย  อย่าได้กล่าวอย่างนั้นภิกษุนั้น  หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย  ภิกษุนั่น  หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย        ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่านขอ (ใจ)  ของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  มีอุทเทสเดียวกัน  ย่อมอยู่ผาสุก"และภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุ   ทั้งหลาย   พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย  หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาส  กว่าจะครบ  ๓  จบอยู่  สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดีหากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๒.  อนึ่ง  ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากอันภิกษุทั้งหลาย  ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมในสิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส  (คือพระปาฏิโมกข์)  ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆว่ากล่าวไม่ได้  ด้วยกล่าวโต้ว่า  "พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ  ต่อเราเป็นคำดีก็ตาม  เป็นคำชั่วก็ตาม   แม้เราก็จะไม่กล่าวอะไรๆ  ต่อพวกท่านเหมือนกัน  เป็นคำดีก็ตาม  เป็น คำชั่วก็ตามขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย"  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลาย  พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ  ว่าไม่ได้ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล  แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรมแม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าว ท่านโดยชอบธรรมเพราะว่า  บริษัทของ   พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้    คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน  ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบ  เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ๓จบอยู่สละกรรมนั้น เสีย    สละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

๑๓. อนึ่ง  ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดีนิคมก็ดี  แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่  เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของเธอ  เขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย    และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว  เขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า"ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน  เขาได้เห็น  อยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย  อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย  ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้  (อีก)"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  พึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า  "พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย  ถึงความขัดเคืองด้วย  ถึงความหลงด้วย  ถึงความกลัวด้วย  ย่อมขับภิกษุบางรูป  ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูปเพราะอาบัติเช่นเดียวกัน "ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า"     ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่  หาได้ถึงความขัดเคืองไม่  หาได้ถึงความหลงไม่  หาได้ถึงความกลัวไม่    ท่านเองแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน  เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย  อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วยท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้  (อีก)"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบ  เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย  สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อสังฆาทิเสส  ๑๓  เป็นปฐมาปัตติกะ  (ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ)  เป็นยาวตติยกะ  (ให้ต้องอาบัติต่อ  เมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครง  ๓  ครั้ง)  ภิกษุต้องธรรมเหล่าไรเล่า  อันใดอันหนึ่งแล้วรู้อยู่  ปกปิดไว้สิ้นวันเพียงเท่าใด  ภิกษุนั้น  ถึงจะไม่ปรารถนา  ก็พึง       ต้องอยู่  ปริวาส  สิ้นวันเท่าที่ปกปิดนั้นภิกษุอยู่ปริวาสครบตามวันที่ปิดแล้ว  พึงปฏิบัติ  เพื่อภิกษุมานัตต์เกินขึ้นไป  ๖  ราตรีหมู่ภิกษุได้ประพฤติมานัตต์  ๖  ราตรีแล้วหมู่ภิกษูคณะ  ๒๐  จะพึงมี  ณ  สีมาใด    ภิกษุนั้น  สงฆ์พึงอัพภานเธอ  ณ  สีมานั้นถ้าภิกษุสงฆ์คณะ  ๒๐  หย่อนด้วยภิกษุแม้  แต่องค์หนึ่งไม่ครบ๒๐  หากอัพภานภิกษุนั้นไซร้ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน      ภิกษุทั้งหลายที่เป็นการกสงฆ์  ก็เป็นอัน  พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียนนี้  เป็นสามีจิกรรม  (คือประพฤติชอบ)  ในเรื่องนั้น

ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้ว  ในเรื่องนั้น  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

สังฆาทิเสสุทเทส  จบ.