Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


วิธีคำนวณสุริยคราส


ถ้าจะคำนวณสุริยคราสในเบื้องต้น ให้ทำเหมือนที่กล่าวมาแล้วในสุริยยาตร์ เมื่อทำจนถึงข้อ ๒๑ แล้ว จึงให้ทำในข้อ ๒๒ แห่งสุริยุปราคา ต่อไปดังนี้

(๒๒) ตั้งมัธยมอาทิตย์ทุติย เอามัธยมอาทิตย์ปฐมลบ ผลลัพธ์เป็นรวิภุกด ตราไว้

(๒๓) ตั้งสมผุสอาทิตย์ทุติย เอาสมผุสอาทิตย์ปฐมลบ ผลลัพธ์เป็นรวิภุกดภุกดิ ตราไว้

(๒๔) ตั้งมัธยมจันทร์ทุติย เอามัธยมจันทร์ปฐมลบ ผลลัพธ์เป็นจันทร์ภุกดิ ตราไว้

(๒๕) ตั้งสมผุสจันทร์ทุติย เอาสมผุสจันทร์ปฐมลบ ผลลัพธ์เป็นจันทร์ภุกดภุกดิ ตราไว้

(๒๖) ตั้งจันทร์ภุกดภุกดิ เอารวิภุกดภุกดิลบ เศษเป็นภูจันทร์ ตราไว้

(๒๗) ตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เอาสมผุสอาทิตย์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ แล้วเอา ๗๒๐ หาร ผลลัพธ์เป็นดิถี เศษลบเชิงหาร ผลลัพธ์เป็นเคราะห์หันตกุลา ตราไว้

แล้วให้พิจารณาดูสมผุส ถ้าสมผุสอาทิตย์น้อยกว่าสมผุสจันทร์ เป็นคต ถ้าสมผุสจันทร์น้อยกว่าสมผุสอาทิตย์ เป็นเอษฐ

(๒๘) นัยหนึ่งตั้งสมผุสอาทิตย์ปฐมกับสมผุสจันทร์ปฐมเทียบกัน เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ถ้าสมผุสจันทร์ลบสมผุสอาทิตย์ได้ไซร้ จับทิศเอษฐ ผลลัพธ์เอา ๗๒๐ หาร เศษเป็นเคราะห์หันตกุลา ถ้าสมผุสอาทิตย์ลบสมผุสจันทร์ได้ จับทิศคต ผลลัพธ์นั้นเอา ๗๒๐ หาร เศษลบเชิงหาร ผลลัพธ์ที่ได้นี้ เป็นเคราะห์หันตกุลา

(๒๙) ตั้งเคราะห์หันตกุลา เอา ๖๐ คูณ เอาภูจันทร์หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี อมาวสีสมผุสดี เศษเอา ๖๐ คูณ เอาภูจันทร์หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี อมาวสีสมผุสดี

(๓๐) ตั้งอมาวสี (คือ ทั้งมหานาฑีและมหาวินาฑีซ้อนกันเป็นสองชั้น) เอารวิภุกดภุกดิคูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑี เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐หาร ผลลัพธ์เป็นสมรวิกุลา ให้ดูอัฑฒาธิกรรม คือ ถ้ามีเศษแต่ครึ่งขึ้นไป ให้เอา ๑ บวกผลลัพธ์

(๓๑) ตั้งอมาวสี เอาจันทร์ภุกดภุกดิคูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑี เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกกับฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นสมจันทร์กุลา (ดูอัฑฒาธิกรรม)

(๓๒) ตั้งอมาวสี เอา ๓ คูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑี เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นสมราหูกุลา (ดูอัฑฒาธิกรรม)

(๓๓) ตั้งสมผุสอาทิตย์ปฐม เอาสมรวิกุลาบวก ผลลัพธ์เป็นตักกลารวิ

(๓๔) ตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เอาสมจันทร์กุลาบวก ผลลัพธ์เป็นตักกลาจันทร์

กลหนึ่งตั้งสมผุสอาทิตย์ปฐม เอาแต่มหานาฑีอมาวสี (มหาวินาฑีไม่เอา) ตั้งเทียบกันดู ถ้าคต เอามหานาฑีอมาวสีลบ ถ้าเอษฐเอามหานาฑีบวก ชื่อ ตักกุลารวิ แล ให้เอาแต่มหานาฑีอมาวสี บวกด้วยเคราะห์หันตกุลา แล้วตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เทียบกัน ถ้าคต ให้ลบกัน ถ้าเอษฐให้บวกกัน เป็น

ตักกลาจันทร์ แล

ถ้าตักกลารวิกับตักกลาจันทร์เป็นจำนวนอย่างเดียวกันว่า ที่คำนวณมานั้นถูก ถ้าต่างกันว่าที่คำนวณมานั้นผิด

หมายเหตุ การทำดังนี้ตักกลารวิและตักกลาจันทร์ อาจหย่อนจากที่คำนวณมาสัก ๑ก็ได้ เพราะไม่ได้อัฑฒาธิกรรมเศษมหานาฑีอมาวสี แต่ประสงค์ว่า การที่ทำทั้งสองอย่างนั้นมีผลเท่ากัน

(๓๕) ตั้งสมผุสราหูปฐม เอาสมผุสราหูกุลาลบ ผลลัพธ์เป็นตักกลาราหู

(๓๖) ถ้าจะทำทินประมาณ ให้ตั้งตักกลารวิลงเอา ๑๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี ที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในอดีต ไม่ต้องการเอาแต่เศษ เป็นปฐมภาคกุลา ตราไว้

รูปภาพ


ชั้นในเกณฑ์อันโตฌานราศี

ชั้นนอกเป็นมิสสกมหาวินาฑี

(๓๗) ตั้งมหาวินาฑี ในราศีอุทัย คือในราศีที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในเวลานั้นลง แล้วตั้งมหาวินาฑีในราศีสมาสัปต์เทียบ เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ผลลัพธ์นั้นเอาไปคูณปฐมภาคกุลา แล้วเอา ๑๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑีที่อาทิตย์โคจรอยู่ในอดีต ตราไว้

ให้นัยมหาวินาฑี อันโตฌานราศี ตั้งแต่ราศี ที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในเวลานั้น บวกไปข้างหน้า ให้ครบ ๖ ราศี เป็นมหาวินาฑี ๖ ราศีประสมกัน ชื่อ มิสสกมหาวินาฑี หรือว่า เมื่ออาทิตย์อยู่ราศีใด เอาเกณฑ์ราศีมิสสกมหาวินาฑีที่อาทิตย์อยู่ตั้งก็ได้

แล้วให้ดูที่ราศีอุทัย คือที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ เทียบกับราศีสมาสัปต์ ถ้ามหาวินาฑีราศีอุทัย มากกว่าราศีสมาสัปต์ไซร้ ให้เอาเวลาอาทิตย์อยู่ในอดีตที่ตราไว้นั้น มาลบมหาวินาฑีที่ประสมกันนั้น ถ้าสมาสัปต์มากกว่าอุทัยราศี ให้เอาอดีตที่ตราไว้นั้นมาบวกด้วยมหาวินาฑีที่ประสมกันนั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเป็นมหาวินาฑี ชื่อ ทินประมาณ ตราไว้

(๓๘)ตั้งทินประมาณ เอา ๒ หารมหานาฑี ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ ผลคูณเอาไปบวกกับมหาวินาฑี แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ ทินาฒ ตราไว้

(๓๙) ตั้งอมาวสีสัมผัสดีกับทินาฒเทียบกัน แล้วเอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ถ้าอมาวสีลบทินาฒได้ ผลลัพธ์เป็นคต ชื่อบุพรัตนมหานาฑี ตราไว้

ถ้าเอาทินาฒลบอมาวสีได้ ผลลัพธ์เป็นเอษฐ ชื่อ อัปรัตนมหานาฑี ตราไว้

ให้ตราแต่จำนวนมหานาฑีรัตนไว้เป็นขันธ์ มหาวินาฑีไม่ต้องตรา แล้วให้นับลัมพฉายานี้ :-

ลัมพฉายา

๙                 ๑

๑๘               ๒

๒๖               ๓

๓๒               ๔

๓๗               ๕

๔๓               ๖

๔๖               ๗

๔๙               ๘

๕๐               ๙

๕๑               ๑๐

๕๓               ๑๑

นับ ๙,๑๘,๒๖,๓๒,๓๗,๔๓,๔๖,๔๙,๕๐,๕๑,๕๓ ไปโดยลำดับฉายาว่า ๑,๒,๓,๔ ฯลฯ จนออกเสียงเท่าจำนวนขันธ์ คือ รัตนมหาวินาฑีที่ตราไว้นั้น (นับเรียงลงมาดังรูปที่เขียนไว้ข้างซ้ายมือ ช่องหน้าคือ ฉายา ช่องหลังคือ ขันธ์) เรียกว่าฉายาเท่าขันธ์ จึงกาลงไว้ที่ฉายานั้น ฉายานั้นก็เรียกว่า ฉายาเท่าขันธ์ เป็นฉายาฐานบน แล้วจึงเอาฉายาที่อยู่ถัดฉายาที่กาไว้ อีกห้องหนึ่งนั้น เรียกว่าฉายาฐานต่ำเป็นตัวตั้ง แล้วเอาฉายาฐานบน ตรงกับที่กาไว้นั้นลบฉายาฐานต่ำ ผลลัพธ์เอาไปคูณมหาวินาฑีรัตนที่มิได้ยกมาตั้งนั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฉายาฐานบน ชื่อ ลัมพกลา ตราไว้ (ในคำภีร์ใบลานเป็นลัมพกาลา)

ถ้านาฑีรัตนนั้นศูนย์ ให้เอาฉายาที่ต้น คือ ฉายาที่ ๑ เลข ๙ มาคูณวินาฑีรัตนแล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นลัมพกลา ตราไว้

(๔๐) ตั้งลัมพกลา เอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อ ลัมพกลามหานาฑี ตราไว้

(๔๑) ตั้งตักกลารวิ ถ้าคตเอาลัมพกลาไปลบตักกลารวิ ถ้าเอษฐเอาลัมพกลาไปบวกด้วยตักกลารวิ ผลลัพธ์ ชื่อ ลัมพภิตตรวิ ตราไว้

(๔๒) ตั้งอมาวสี ถ้าคตเอาลัมพกลามหานาฑีลบ ถ้าเอษฐเอาลัมกลามหานาฑีบวก ชื่อ ลัมพภิตตโปรวะ ตราไว้

(๔๓) ตั้งลัมพกลามหานาฑี เอา ๒ หารฐานบนผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ ผลคูณเอาไปบวกกับมหาวินาฑี แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ อัฑฒลัมพภิตตมหานาฑี ตราไว้

(๔๔) ตั้งอมาวสี ถ้าคต เอาอัฑฒลัมพภิตตมหานาฑีลบ ถ้าเอษฐเอาอัฑฒลัมพภิตตมหานฑีบวก ชื่อ ลัมพวัฑฒโปรวะ ตราไว้

(๔๕) ตั้งลัมพภิตตรวิ เอาตักกลาราหูลบ ถ้าลบมได้ให้เอาอนันตปุรานี คือ ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ แล้วเอา ๕๔๐๐หาร ผลลัพธ์เป็นโกลัง ถ้ากัง ๐ หรือ ๒ เศษเป็นภุช ถ้าโกลัง ๑ หรือ ๓ ให้เอาเศษลบเชิงหารเสียก่อน ผลลัพธ์ที่ได้จากการลบนี้ จึงเป็นภุช

ถ้าโกลัง ๐ หรือ ๑ ให้ทายว่าจับทางทิศอุดร ถ้าโกลัง ๒ หรือ ๓ ให้ทายว่าจังทางทิศทักษิณ

ตั้งภุชเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑีเศษ เอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ ปฐมราหูวิกเขป ตราไว้ ตามอุดรและทักษิณ

(๔๖) ตั้งลัมพภิตตรวิ เอา ๑๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑีอาทิตย์อยู่อดีตอย่าเอา ให้เอาแต่เศษ เป็นทุติยภาคกุลา ตราไว้

(๔๗) ตั้ง ๑๘๐๐ เอาทุติยภาคกุลาลบ ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑีที่อาทิตย์โคจรอยู่แล ตราไว้

กลหนึ่งเล่า ให้ตั้งทุติยภาคกุลา เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นองศา เศษเป็นลิบดา ตราไว้ แล้วจึงตั้ง ๑ ราศี คือ ๓๐ องศาลง ปลงเป็น ๒๙ / ๖๐ คือ ๒๙ องศา ๖๐ ลิปดา เอาองศาลิบดาที่ตราไว้นั้นมาลบ แล้วเอา ๖๐ คูณองศา บวกลิบดาขึ้นเป็นมหาวินาฑีที่อาทิตย์โคจรอยู่แล

(๔๘) ตั้งอันโตฌานราศี มหาวินาฑีอุทัย คือราศีที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในเวลานั้นลง เอามหาวินาฑีที่อาทิตย์โคจรอยู่ (คือที่เอาทุติยภาคกุลาลบแล้วนั้น) คูณแล้วเอา ๑๘๐๐ หาร (ดูอัฑฒาธิกรรม) ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี อนาคตที่อาทิตย์โคจรอยู่ในราศีนั้น

(๔๙) ตั้งลัมพวัฑฒโปรวะ เอา ๖๐ คูณมหานาฑี ผลลัพธ์เอามาบวกกับมหาวินาฑี เอาอนาคตที่อาทิตย์โคจรลบ ถ้าลบมิได้ให้กาไว้ ถ้าลบได้ให้เอามหาวินาฑีราศีหน้าแห่งอันโตฌานราศีนั้น ลบไปตามลำดับราศี ถ้าลบมิได้ราศีใดให้กาไว้ จำนวนเลขที่ลบมิได้นั้นเอา ๓๐ คูณ เอาอันโตฌานราศีมหาวินาฑีในราศีที่กาไว้นั้นมาหาร ผลลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาจำนวนหารก่อนมาหารอีก ผลลัพธ์เป็นลิบดา จึงให้นับราศีเมษ เป็นต้น จนถึงหลังราศีอันกาไว้นั้น ได้จำนวนเท่าใด เอาตั้งขึ้นข้างบนเป็นราศี ชื่อ สุทธลัคน์ภุกดะ ตราไว้

(หมายเหตุ ที่ให้ตั้งลัมพวัฑฒโปรวะในข้อ ๔๙ นี้ได้เป็นอีกตำราหนึ่งว่า ให้ตั้งลัมพภิตตโปรวะ แต่ที่ตรงกันหลายตำรานั้นเป็นลัมพวัฑฒโปรวะ)

(๕๐) ตั้งสุทธลัคน์ภุกดะ เอา ๓ ลบราศี ถ้าลบมิได้ให้เอา ๑๒ บวกก่อนจึง ลบ เศษเป็นอุตร ตราไว้

ให้ดูราศีอตร แต่ ๐ ถึง ๕ เป็นอุดร ผิราศีแต่ ๖ ถึง ๑๑ เป็นทักษิณ ให้ตราไว้ ตามทิศอุดรและทักษิณ

เศษราศีจะเป็นอุดรหรือทักษิณก็ดี ให้เอา ๓ หารแต่เฉพาะจำนวนราศี ผลลัพธ์เป็นโกลัง ถ้าโกลัง ๐ หรือ ๒ เศษราศี องศา ลับดา ที่เหลืออยู่นั้นเป็นภุช ถ้าโกลัง ๑ หรรือ ๓ ให้เอาเศษ ราศี องศา ลิบดา ที่เหลือไปลบตรีจักร ดังนี้ ๒/ ๒๙/ ๖๐ เหลือจำนวนเท่าใด เป็นภุชเท่านั้นแล

ถ้าราศีภุช ๐ ให้เอา ๑๘ คูณองศา ลิบดา ถ้าราศีภุช ๑ เอาเป็น ๙ แล้วเอา ๑๔ คูณองศา ลิบดา ถ้าราศี ๒ ให้ลบ ๒ ออกเสีย เอา ๑๖ ใส่ในราศีที่ลบนั้น แล้วเอา ๖ คูณองศา ลิบดา

ฐานลิบดาให้เอา ๖๐ หาร (ดูอัฑฒาธิกรรม) ผลลัพธ์บวกด้วยฐานองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา ผลลัพธ์บวกราศี เป็นมหานาฑี เศษเป็นมหาวินาฑี ชื่อ ทุติยราหูวิกเขป (ดูอัฑฒาธิกรรม คือ ลิบดามีถึง ๓๐ ให้เอา ๑ บวกเข้าที่องศา) ตราไว้

(๕๑) ตั้งปฐมราหูวิกเขป และทุติยราหูวิกเขปไว้เคียงกันให้ดูโกลัง ถ้าอุดรด้วยกันบวกกัน ถ้าทักษิณด้วยกันบวกกัน ถ้าอุดรและทักษิณให้เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก (คำว่าอุดรและทักษิณ ให้ดูที่วิธีทำโกลังของปฐมราหูวิกขิป และทุติยราหูวิกขิป เมื่อก่อนที่จะได้นามว่าเป็นราหูวิกขิปนั้น ถ้าโกลังเป็น ๐ หรือ ๑ เป็นอุดร ถ้าโกลังเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นทักษิณ) ผลลัพธ์ ชื่อ ตติยราหูวิกเขป ตราไว้

ให้ดูจำนวนที่ลบกันนั้น ถ้าอุดรมาก คือ เป็นตัวตั้งให้ลบชื่ออุดร ถ้าทักษิณมาก ชื่อ ทักษิณ

(๕๒) ตั้งทววิกเขปเกณฑ์ทักษิณ คือ ภูมิภาคที่จะเห็นสุริยคราสตามกำหนดเขตต์ ๑๓ องศา กับ ๔๔ ลิบดา เป็นเวลา ๑๓ มหานาฑีกับ ๔๔ วินาฑี กับตติยราหูวิกเขปเทียบกัน ถ้าตติยราหูวิกเขปเป็นทักษิณเหมือนกัน ให้บวกกัน ถ้าตติยราหูวิกเขปเป็นอุดร ให้เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ชื่อสุทธิวิกเขป ตราไว้

ถ้าอุดรมาก ให้ตราว่าอุดรสุทธิวิกเขป ถ้าทักษิณมาก ให้ตราว่าทักษิณสุทธิวิกเขป

หมายเหต ในตำราเดิม ทุววิกเขป เป็น ๑๓ องศา กับ ๔๐ ลิบดา แต่ตามที่สอบสวนกันใหม่ เมื่อครั้งครูสมิทว่า ลัดไตตูดที่บางกอก อยู่เหนืออิเควเตอร์ ๑๓ ดิกรี กับ ๔๔ มินิต ๒๐ สะกันต์ จึงได้แก้ตามที่สอบสวนได้ใหม่นี้ ผู้ใดจะใช้คำนวณตามแบบเดิม แล้วตัดเวลาให้ตรงก็ได้เหมือนกัน

(๕๓) ต้งโกลัง ๓๑ (คือ โก = ๑ , ลัง = ๓) เอารวิภุกดภุกดิคูณ เอารวิภุกดิหาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ เอารวิภุกดิหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ รวิพิมพ์ ตราไว้

(๕๔) ตั้ง ๓๑ เอาจันทร์ภุกดภุกดิคูณ เอาจันทร์ภุกดิหารผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ เอาจันทร์ภุกดิหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อจันทร์พิมพ์ ตราไว้

(๕๕) ตั้งจันทร์พิมพ์ เอา ๕ คูณทั้งสองฐาน ฐานต่ำเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานบน แล้วเอา ๒ หารฐานบน ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีฐานต่ำเข้าแล้ว เอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อราหูพิมพ์ ตราไว้

(หมายเหตุ ข้อนี้เขียนไว้ พอรู้จักวิธีทำราหูพิมพ์ตามตำราเดิม แต่ในปัจจุบันนี้ โหรไม่ได้ใช้ทำกัน เพราะสุริยคราสอาทิตย์ไม่ได้เดินเข้าไปในเงาราหู เป็นแต่ดวงจันทร์บัง)

(๕๖) ให้เอารวิพิมพ์กับจันทร์พิมพ์บวกเข้าด้วยกัน แล้วจึงเอา ๒ หารฐานบน ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีเข้า แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เนมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ มานยกาษฐ์ ตราไว้

(หมายเหตุ ตำราเกา เอารวิพิมพ์กับราหูพิมพ์บวกเข้าด้วยกัน จึงมีวิธีทำราหูพิมพ์ในข้อ ๕๕)

(๕๗) ตั้งมานยกาษฐ์ กับสุทธิวิกเขป เทียบกัน ถ้าสิทธิวิกเขปมากกว่ามานยกาษฐ์ หาคราสมิได้ ถ้ามานยกาษฐ์มากกว่าสุทธิวิกเขป ว่ามีคราสแล

ตั้งมานยกาษฐ์ เอาสุทธิวิกเขปลบ ผลลัพธ์เป็นคราสสางคุลี ตราไว้

(๕๘) ตั้งรวิพิมพ์ลง เอาคราสสางคุลีลบ เศษเป็นราหูกินไม่สิ้น คือยังมีแสงสว่างอยู่เท่าจำนวนเวลาที่สุริยโคจรนั้น

(๕๙) ตั้งเกณฑ์ ๓๒ เอาสุทธิวิกเขปลบ เศษเอาฉายาราหู ๖ ห้องนี้ ๑,๒,๓,๖,๘,๑๑ ลบตัวมหานาฑีไปโดยลำดับฉายา ถ้าฉายาใดเอาลบมิได้ ให้กาไว้ที่ฉายานั้นเศษเอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีขึ้น เอาตัวฉายาที่กานั้นมาหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ถ้าเศษศูนย์ (๐) ลงห้องใดให้เอาเลขฐานมหาวินาฑีตั้ง เอาฉายาห้องถัดไปมาหาร ถ้าเป็นศูนย์ห้องสุดท้าย ไม่มีตัวหารถัดไป ให้เอาตัวฉายาห้องสุดท้ายนั้นเป็นตัวหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑีแล

จึงให้นับแต่ฉายาปฐมไปว่า ๑,๒,๓ ฯลฯ จนถึงหลังฉายาที่กาไว้นั้น นับได้เท่าใด ยกมาตั้งไว้ข้างบนมหาวินาฑีเป็นมหานาฑี มหานาฑีและมหาวินาฑีนี้ ชื่อ สถิตย์คราส ตราไว้ (เกณฑ์ ๓๒ นี้ ในตำราเดิมเป็น ๓๑ โหรรุ่นหลังเห็นว่า ๓๑ อ่อนไป จึงเติมเป็น ๓๒ จะใช้อย่างเก่า ๓๑ ก็ได้)

(๖๐) ตั้งสถิตย์คราสลงทั้งสองฐาน เอา ๒ หาร ฐานบนผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ เอาผลคูณมาบวกฐานมหาวินาฑี แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ทั้งสองฐานนี้ ชื่อ สถิตย์ยาตราหรือสถิตย์ยาตร์ ตราไว้

(๖๑) แล้วให้พิจารณาดูที่คำนวณมาแล้วในข้อ ๓๙ นั้นว่าเป็นคตหรือเป็นเอษฐ ถ้าเป็นคตให้ตั้งอมาวสี เอาสถิตย์ยาตร์ลบ ผลลัพธ์เป็นมัธยมประเวสการ ตราไว้

ตั้งอมาวสี เอาสถิตย์ยาตร์บวกผลลัพธ์เป็นมัธยมโมกษกาล ตราไว้

(๖๒) ถ้าเป็นเอษฐ ให้ตั้งลัมพวัฑฒโปรวะ เอาสถิตย์ยาตร์ลบ ผลลัพธ์เป็นมัธยมประเวสกาล ตราไว้

ตั้งลัมพวัฑฒโปรวะ เอาสถิตย์ยาตร์บวก ผลลัพธ์เป็นมัฑยม โมกษกาล ตราไว้

(๖๓) ตั้งมัธยมประเวสกาล เอาทินาฒลบ ถ้าลบมิได้เป็นคตคราส ถ้าลบได้เป็นเอษฐคราส ชื่อสุทธประเวสกาล ตราไว้

(๖๔) ตั้งมัธยมโมกษกาล เอาทินาฒลบ ถ้าลบมิได้ เป็นคตคราส ถ้าลบได้เป็นเอษฐคราส ชื่อสุทธโมกษกาล ตราไว้


จบคัมภีร์สารัมภ์แต่เพียงนี้


-------------------