Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


คัมภีร์สารัมภ์


อห     ปคคยห         อญชลึ           นมสสิตตวา    โลกนาถญจ    ธมมญจ         สฆญจ

อาทิก      สารมภปกรณ        ปวกขามิ        โหราน          สมาหิตนติ

ข้าพเจ้าขอประคองอัญชลี นมัสการพระโลกนารถ พระธรรมแลพระสงฆ์เป็นต้น จักกล่าวปกรณ์ ชื่อว่าสารัมภ์ อันมาถึงพร้อมแล้วแก่โหรทั้งหลาย

(ก)     สิทธิการิย ผิวจะคำนวณสารัมภ์รามัญศาสตร์ ให้ตั้งจุลศักราชปีที่จะทำนั้นลง เอา ๕๖๐ บวก ผลลัพธ์เป็นมหาศักราช แล้วให้เอา ๑๐๖๕ มาลบมหาศักราช ผลลัพธ์เป็นทรุพแล

ให้ตั้งทรุพลง ๔ ฐาน ฐานบนเอา ๓๖๕ คูณ ผลลัพธ์เป็นวัน ฐานที่ ๒ เอา ๑๕ คูณ ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี ฐานที่ ๓ เอา ๓ คูณ ผลลัพธ์เป็นเพ็ชนาฑี (มหาวินาฑี) ฐานที่ ๔ เอา ๓๐ คูณ ผลลัพธ์เป็นพลอักษร แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นวัน แล้วให้เอาผลลัพธ์ไปบวกกับจำนวนวันฐานบนนั้น (ตัวเลขที่เอามาคูณนั้น คือ อัตราเวลา ๑ ปีเต็ม) แล้วให้เอา ๑๕๗ นี้บวกด้วยจำนวนวันนั้นอีกเล่า แล้วให้เอาเกณฑ์ คตมาส คือพระอาทิตย์โคจรอยู่ราศีใดให้เอาเกณฑ์ในราศีนั้นบวก (นี้เกณฑ์คตมาสราศีเมษ ๓๖๕ พฤษภ ๓๑ เมถุน ๖๒ กรกฏ ๙๕ สิงห์ ๑๒๕ กันย์ ๑๕๖ ตุล ๑๘๗ พฤศจิก ๒๑๗ ธนู ๒๔๖ มังกร ๒๗๖ กุมภ์ ๓๐๕ มีน ๓๓๕) แล้วเอาองศาพระอาทิตย์ที่โคจรอยู่ในราศีนั้นบวกอีกเล่า ได้ผลลัพธ์เป็นอุณทินให้ตราไว้

(๑) ถ้าจะใช้จุลศักราชคำนวณสารัมภ์ ท่านให้ตั้งหรคุณวันนั้นลง (คือ หรคุณอัตตาเถลิงศกปีที่ทำนั้นบวกกับสุทินประสงค์) แล้วเอา ๑๘๔๒๙๘ ลบ ผลลัพธ์เป็นอุณทินตราไว้

ตั้งอุณทินลง เอา ๗ หาร ออกเศษเท่าใดให้เอา ๒ บวก ผลลัพธ์นั้นตรงกับวันที่คำนวณนั้นแล หรือว่าจะไม่เอา ๒ บวก จะนับตั้งต้น เศษ ๑ เป็นวันอังคารเป็นต้นมาก็ได้เหมือนกัน ถ้าออกเศษไม่ตรงกับวันที่ทำนั้น เป็นคำนวณผิดแล

(๒) ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ แล้วเอา ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ คูณผลลัพธ์นั้นให้นับถอยหลังขึ้นมาหาตัวต้น ถึงผลลัพธ์ตัวที่ ๗ แล้วให้กาไว้ แล้วให้ลบเสียทั้ง ๗ ตัว นั้นเถิด แต่ให้ลบถอยหลังขึ้นมาจนถึงตัวที่ ๖ ก่อน แล้วดูตัวที่ ๗ ที่กาไว้และจะลบต่อไปนั้น ถ้าเป็น ๐, ๑, ๒, ๓, ๔ ไม่ต้องเอา ๑ บวก ถ้าเป็น ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ ให้เอา ๑ บวก ที่เลขตัวสุดท้ายของจำนวนที่ไม่ลบนั้น เรียกว่า อัฑฒาธิกรรม เป็นพลพระอาทิตย์ตราไว้

(๓) ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ (คิดถอยหลังเข้าไป ๑ วัน) แล้วเอา ๗๙๐๕๘๑๐๐๓๒ คูณ ผลลัพธ์นั้นให้นับถอยหลังขึ้นมาหาต้น ถึงเลขตัวที่ ๗ แล้วลบเสียทั้ง ๗ ตัว ดูอัฑฒาธิกรรมเหมือนก่อน เป็นพลพระจันทร์ตราไว้

(๔) ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ แล้วเอา ๖๖๘๑๘๖๗๐ คูณผลลัพธ์นั้น ให้นับถอยหลังขึ้นมาถึงเลขตัวที่ ๗ แล้วลบเสียทั้ง ๗ ตัว ดูอัฑฒาธิกรรมเหมือนก่อน เป็นพลอุจจ์ตราไว้

(๕) ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ แล้วเอา ๓๑๘๐๐๓๗๓ คูณผลลัพธ์นั้น ให้นับถอยหลังขึ้นมาจนถึงเลขตัวที่ ๗ แล้วลบเสียทั้ง ๗ ตัว ดูอัฑฒาธิกรรมเหมือนก่อน เป็นพลพระราหู ตราไว้

(๖) ตั้งพลพระอาทิตย์ เอา  ๑๒๒๖๘ บวก แล้วเอา ๒๑๖๐๐ หารเศษ เป็นมัธยมพระอาทิตย์ปฐม ตราไว้

(๗) ตั้งมัธยมอาทิตย์ปฐม เอา ๕๙ บวก เป็นมัธยมอาทิตย์ทติย ตราไว้

(๘) ตั้งพลพระจันทร์ เอา ๑๑๓๓๙ บวก แล้วเอา ๒๑๖๐๐ หารเศษเป็นมัธยมจันทร์ปฐม ตราไว้

(๙) ตั้งมัธยมจันทร์ปฐม เอา ๗๙๐ บวก เป็นมัธยมจันทร์ทุติย ตราไว้

(๑๐) ตั้งพลอุจจ์ เอา ๑๗๖๔๑ บวก เอา ๒๑๖๐๐ หาร เศษเป็นมัธยมอุจจ์ปฐม ตราไว้

(๑๑) ตั้งมัธยมอุจจ์ปฐม เอา ๗ บวก เป็นมัธยมอุจจ์ทุติย ตราไว้

(๑๒) ตั้งพลราหู เอา ๘๐๑๔ ลบ แล้วเอา ๒๑๖๐๐ หาร เศษเป็นมัธยมราหูปฐม ตราไว้

(๑๓) ตั้งมัธยมราหูปฐม เอา ๓ บวก เป็นมัธยมราหูทุติย ตราไว้

(๑๔) ตั้งมัธยมอาทิตย์ปฐม เอา ๔๖๘๐ ลบ ถ้าลบไม่ได้ เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ ผลลัพธ์นั้นเอา ๕๔๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นโกลัง ถ้าโกลังเป็น ๐ หรือ ๒ เศษ เป็นภุช ถ้ากังเป็น ๑ หรือ ๓ เศษยังไม่เป็นภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหาร (คือจำนวนที่หาร) เสียก่อน ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นภุช

(๑๕) ตั้งภุชเอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นขันธ์ตราไว้ เศษเป็นทุติยภุช ตราไว้

ฉายาเท่าขันธ์           ขันธ์

๓๗                 ๑

๗๑                 ๒

๙๘                 ๓

๑๑๘               ๔

๑๒๘               ๕

๑๒๙    คือ ๓๗ เท่ากับขันธ์ ๑ เรียงลำดับลงมา

เอาฉายาเท่าขันธ์ เรียกว่าฉายาฐานบนมาลบฉายาฐานต่ำลงมาหนึ่งฐาน เศษเอาไปคูณทุติยภุช แล้วเอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฉายาเท่าขันธ์ เป็นปฐมรวิภุชผล

ถ้าขันธ์ศูนย์ ให้เอาฉายาฐานแรก คือ ๓๗ คูณทุติยภุชทีเดียว แล้วเอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์ไม่ต้องบวกด้วยฉายา เป็นปฐมรวิภุชผล ทีเดียว

แล้วให้พิจารณาดูโกลัง ถ้าโกลังเป็น ๐ หรือ ๑ ชื่อ ระณัง ให้เอาปฐมรวิภุชผล ลบมัธยมอาทิตย์ปฐม ผลลัพธ์เป็นสมผุสอาทิตย์ปฐม ถ้าโกลังเป็น ๒ หรือ ๓ ชื่อ ธณัง ให้เอาปฐมรวิภุชผลบวกด้วยมัธยมอาทิตย์ปฐม เป็นสมผุสอาทิตย์ปฐม ตราไว้

(๑๖) ตั้งมัธยมอาทิตย์ทุติยลง แล้วเอา ๔๖๘๐ ลบ ถ้าลบมิได้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อน แล้วจึงลบ แล้วเอา ๕๔๐๐ หาร กระทำเหมือนอย่างที่กระทำมาแล้ว ในการกระทำสมผุสอาทิตย์ปฐมในข้อ ๑๔ และ ๑๕ นั้น ทั้งสองประการ แล้วให้เอาทุติยรวิภุชผลที่ทำได้นี้ บวกหรือลบด้วยมัธยมอาทิตย์ทุติย ตามเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วในข้อ ๑๕ นั้น ผลลัพธ์เป็นสมผุสอาทิตย์ทุติย ตราไว้

(๑๗) ตั้งมัธยมจันทร์ปฐม เอามัธยมอุจจปฐมลบ ถ้าลบมิได้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนแล้วจึงลบ แล้วเอา ๕๔๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นโกลัง ถ้าโกลัง ๐ หรือ ๒ เศษเป็นภุช ถ้าโกลัง ๑ หรือ ๓ เศษยังไม่เป้นภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหารเสียก่อน ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นปฐมภุช

(๑๘) ตั้งปฐมภุช เอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นขันธ์ เศษเป็นทุติยภุช ตราไว้

ฉายาเท่าขันธ์           ขันธ์

๘๗                ๑

๑๖๕               ๒

๒๓๐               ๓

๒๗๖               ๔

๒๙๘               ๕

๓๐๑

เอาฉายาเท่าขันธ์ ฐานบนลบฐานต่ำ ผลลัพธ์เอาไปคูณทุติยภุช แล้วเอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฉายาเท่าขันธ์ เป็นจันทร์ภุชผล ตราไว้

ถ้าขันธ์ศูนย์ ให้เอาฉายาฐานแรก คูณทุติยภุชทีเดียว แล้วเอา ๑๐๐๐ หาร ผลลัพธ์ ไม่ต้องบวกด้วยฉายา เป็นจันทร์ภุชผลทีเดียว

แล้วให้พิจารณาดูโกลัง ถ้าโกลังเป็น ๐ หรือ ๑ ชื่อระณัง ให้เอาจันทร์ภุชผลลบมัธยมจันทร์ปฐม ผลลัพธ์เป็นสมผุสจันทร์ปฐม ถ้าโกลังเป็น ๒ หรือ ๓ ชื่อธนัง ให้เอาจันทร์ภุชผล บวกด้วยมัธยมจันทร์ปฐม ผลลัพธ์เป็นสมผุสจันทร์ปฐม ตราไว้

(๑๙) ตั้งมัธยมจันทร์ทุติย เอามัธยมอุจจ์ทุติยลบ ถ้าลบมิได้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนแล้วจึงลบ เมื่อลบเสร็จแล้วเอา ๕๔๐๐ หาร กระทำเหมือนอย่างที่กระทำมาแล้ว ในการกระทำสมผุสจันทร์ปฐมในข้อ ๑๗ และ ๑๘ นั้นทั้งสองประการ แล้วให้เอาจันทร์ภุชผลที่ได้กระทำนี้ บวกหรือลบด้วยมัธยมจันทร์ทุติย ตามเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วในข้อ ๑๘ นั้น ผลลัพธ์เป็นสมผุสจันทร์ทุตย ตราไว้

(๒๐) ตั้ง ๒๑๖๐๐ เอามัธยมราหูปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒ คูณ ๒๑๖๐๐ ก่อนแล้วจึงลบ ผลลัพธ์เป็นสมผุสราหูปฐม ตราไว้

(๒๑) ตั้ง ๒๑๖๐๐ เอามัธยมราหูทุติยลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒ คูณ ๒๑๖๐๐ ก่อนแล้วจึงลบ ผลลัพธ์เป็นสมผุสราหูทุติย ตราไว้


จบสุริยยาตร์สารัมภ์แต่เพียงนี้


(ก) ถ้าจะทำดิถี ให้ตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เอาสมผุสอาทิตย์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อน จึงลบแล้วเอา ๗๒๐ หาร ผลลัพธ์เป็นดิถีปฐม เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๗๒๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีดิถีปฐม ตราไว้

(ข) ตั้งสมผุสจันทร์ทุติย เอาสมผุสอาทิตย์ทุติยลบ ถ้าลบมิได้ ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ แล้วเอา ๗๒๐ หารผลลัพธ์เป็นดิถีทุติย เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๗๒๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีดิถีทุติย ตราไว้

(ค) ตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นฤกษ์จันทร์ปฐม เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีฤกษ์จันทร์ปฐม ตราไว้

(ฅ) ตั้งสมผุสจันทร์ทุติย เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นฤกษ์จันทร์ทุติย เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีฤกษ์ จันทร์ทุติย ตราไว้

(ฆ) ตั้งสมผุสราหูปฐม เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นฤกษ์ราหูปฐม เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีฤกษ์ราหูปฐม ตราไว้

(ง) ตั้งสมผุสราหูทุติย เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นฤกษ์ราหูทุติย เศษเอา ๖๐ คูณ เอา ๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นนาฑีฤาษ์ราหูทุติย ตราไว้

หมายเหตุ ตั้งแต่ข้อ (ก) จนถึง (ง) ที่เขียนไว้นี้ เป็นแต่การแสดงวิธีทำดิถี และฤกษ์เท่านั้น มิใช่เป็นบทจำเป็นซึ่งจะต้องทำในตำราสารัมภ์นี้ แต่เขียนไว้ให้รู้เหตุการณ์ว่า จำนวนที่ทำมาแล้วทั้งหมดนั้น เป็นจำนวนลิบดาของพระอาทิตย์ จันทร์ ราหู แต่ละองค์ ตั้งต้นรอบแต่ราศีเมษมาทั้งนั้น เมื่อต้องการจะรู้ผลตามตัวอย่างที่ทำในปฏิทินโหร ก็ให้ทำตามววิธีที่กล่าวนี้ แต่ตามตำรานี้ใช้ตัดเวลาเป็นวันใหม่ ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่งเป็นต้นไป