หมวด: ดาวเคราะห์และดาวอุปเคราะห์ ในโหราศาสตร์พระเวท
จำนวนผู้อ่าน: 1263

Upagraha Part3 2

เนื่องจากการคำนวณมีหลายสูตร หลายทฤษฎีหลายตำรา บ้างก็ใช้ยามเป็นหลัก โดยหนึ่งวันแบ่งเป็นกลางวัน 8 ยาม และกลางคืน 8 ยาม บ้างก็ใช้การคำนวณตามจำนวน घटिका ฆะฏิกะ (มหานาที) ของแต่ละวัน ซึ่งหนึ่งวันมี 60 ฆะฏิกะ โดยกลางวันมี 30 ฆะฏิกะ กลางคืนมี 30 ฆะฏิกะ(ในกรณีที่มีความยาวของกลางวันและกลางคืนเท่ากัน) ส่วนในกรณีนี้เราจะคำนวณจากยามทั้ง 8 เป็นหลักซึ่งใช้กันโดยทั่วไปและเพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น

ตารางยามที่มีดาวเคราะห์ทั้ง 7 เป็นเจ้ายามและเวลาเริ่มต้นของดาวอุปเคราะห์ต่างๆมีดังนี้

1. กาละ (काल) –ดาวอาทิตย์

กาละเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวอาทิตย์ และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวอาทิตย์เป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:
วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 5
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 4
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 3
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 1
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 8
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 7
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 6


2. ปะริธิ (परिधि) หรือ ปะริเวษะ (परिवेष) –ดาวจันทร์

ปริธิเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวจันทร์ และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวจันทร์เป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:
วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 6
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 5
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 4
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 2
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 1
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 8
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 7

3. มฤตยุ (मृत्यु) –ดาวอังคาร
มฤตยูเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวอังคาร และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวอังคารเป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:

วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 7
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 6
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 5
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 3
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 2
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 1
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 8

Upagraha Part3 2 Day

4. อรรธะประหะระ (अर्धप्रहर)–ดาวพุธ

อรรธะประหะระเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวพุธ และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวพุธเป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:

วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 8
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 7
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 6
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 4
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 3
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 2
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 1


5. ยะมะฆัณฏกะ (यमघण्ट्क) –ดาวพฤหัส
ยะมะฆัณฏกะเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวพฤหัส และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวพฤหัสเป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:


วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 1
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 8
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 7
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 5
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 4
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 3
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 2



6. โกทันทะ (कोदन्द) –ดาวศุกร์

โกทันทะเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวศุกร์ และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวศุกร์ เป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:


วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 2
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 1
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 8
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 6
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 5
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 4
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 8, กลางคืน--ยามที่ 3

7. คุลิกะ (गुलिक) –ดาวเสาร์

คุลิกะเป็นบุตรที่เป็นเงามืดของดาวเสาร์ และสถิตย์ในช่วงเวลาที่ดาวเสาร์ เป็นเจ้ายามในแต่ละวันมีดังนี้:

วันอาทิตย์ - กลางวัน--ยามที่ 7, กลางคืน--ยามที่ 3
วันจันทร์ - กลางวัน--ยามที่ 6, กลางคืน--ยามที่ 2
วันอังคาร - กลางวัน--ยามที่ 5, กลางคืน--ยามที่ 1
วันพุธ - กลางวัน--ยามที่ 4, กลางคืน--ยามที่ 7
วันพฤหัส - กลางวัน--ยามที่ 3, กลางคืน--ยามที่ 6
วันศุกร์ - กลางวัน--ยามที่ 2, กลางคืน--ยามที่ 5
วันเสาร์ - กลางวัน--ยามที่ 1, กลางคืน--ยามที่ 4

Upagraha Part3 2 Night

8. มานทิ (मान्दि) –ดาวเสาร์

มานทิก็เป็นบุตรในเงามืดของดาวเสาร์เช่นกัน แต่ตำแหน่งนั้นจะแตกต่างไปจากตำแหน่งของคุลิกา นี้ขึ้นอยู่กับเวลาสิ้นสุดของยามที่คุลิกาครองในแต่ละช่วงกลางวันและกลางคืน ตามทฤษฎีกล่าวไว้ว่ามานทิจะเกิดขึ้นหลังจากช่วงเวลาต่อไปนี้

วันอาทิตย์ – กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 26, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 10
วันจันทร์ - กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 22, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 6
วันอังคาร - กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 18, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 2
วันพุธ - กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 14, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 26
วันพฤหัส - กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 10, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 22
วันศุกร์ - กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 6, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 18
วันเสาร์- กลางวัน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 2, กลางคืน—เวลาสิ้นสุดของฆะฏิกะที่ 14