ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

อายุรเวทเป็นระบบของการรักษาอินเดียโบราณที่ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้มานานนับพัน ๆ ปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรืออาจจะนานกว่านั้น โดยคัมภีร์ในการอธิบายการรักษาแบบอายุรเวทปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงยุคพระเวท เรียกว่าคัมภีร์สุศรุตะ สัมหิตา  (सुश्रुतसंहिता)และคัมภีร์จรกะ สัมหิตา  (चरक संहिता)

อายุรเวท (आयुर्वेद) คำว่า อายุรเวท มาจากคำว่า "อายุสะ" หมายถึง อายุยืนยาว และ "เวทะ" หมายถึง องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ อายุรเวทมีหลายวิธีการ เพื่อการดูแลรักษาบำบัด เช่น โยคะอาสนะ ปราณยาม ปัจกรรม โภชนาการ นอกจากจะเป็นศาสตร์ของการรักษาแล้ว อายุรเวทยังมีวิธีการป้องกันโรค รวมทั้งเสริมสุขภาพและอายุให้ยืนยาวได้อีกด้วย ซึ่งระบบการรักษาแบบอายุรเวทมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการแพทย์แผนโบราณ แพทย์พื้นบ้าน ทั้งในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

อายุรเวทเป็นหลักแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากอภิปรัชญาของ"ปัญจมหาภูต"  ( महाभूत ) หรือธาตุทั้ง 5 ของฮินดูคือ 1.ปรฐวี - ธาตุดิน ,2. ชละ - ธาตุน้ำ , 3.เตช - ธาตุไฟ , 4.วายุ - ธาตุลม  5.อากาสะ -อากาศธาตุ  และทั้งหมดที่กล่าวก็คือองค์ประกอบของสรรพสิ่งตั้งแต่จักรวาลไปจนถึงร่างกายมนุษย์

ในอินเดียโบราณ คนในสมัยนั้นสามารถหาคำตอบในเรื่องสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บได้จากการคำนวนโดยวิธีทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกับการหาคำตอบเรื่องวิธีการรักษาสุขภาพ โรคภัย จากอายุรเวท และเมื่อได้อ่านบทความนี้คุณผู้อ่านจะไม่แปลกใจกับความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างสองศาสตร์นี้

1.หลักตรีโทษของอายุรเวทกับโหราศาสตร์

หลักการของวิชาอายุรเวทจะอ้างถึงทฤษฎีความสมดุลย์ของสามสิ่ง หรืออธิบายการทำงานของกายและจิตของมนุษย์ที่ถูกควบคุมโดยพลังงานหลัก 3 ส่วน  เรียกว่า ไตรโทษ หรือ ตรีโทษ คือ 1.วาตะ –(ธาตุลมและอากาศธาตุ) 2.ปิตตะ-(ธาตุไฟ) และ 3.กผะ –(ธาตุดินและธาตุน้ำ)  และพลังงานที่เรียกว่าตรีโทษเหล่านี้ก็เกิดมาจากธาตุสำคัญทั้ง 5 หรือ  ปัญจมหาภูติ   ซึ่งได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาสธาตุ   ที่รวมตัวกันเป็นจักรวาล ซึ่งก็คือส่วนประกอบของกายและจิตของเรา   ส่วนในหลักของ โหราศาสตร์ ที่ว่าด้วยเรื่องตรีโทษนี้จะสามารถ แบ่งออกตามคุณลักษณะราศี ได้ดังนี้


• วาตะราศี: ราศีเมถุน ราศีกันย์ ราศีตุลย์ ราศีมังกร ราศีกุมภ์ โดย ราศีกันย์ มีดาวพุธเป็นเจ้าเรือน ซึ่ง เป็นดาวเคราะห์ แห่งลม  ราศีตุลย์เป็นราศีต้นธาตุลม ส่วน ราศีมังกร ราศีกุมภ์  ดาวเสาร์เป็นเจ้าเรือน เป็นดาวเคราะห์แห่งอากาสะ (ความว่าง)

• ปิตตะราศี : ราศีเมษ ราศีสิงห์ ราศีธนู ราศีพิจิก โดย 3 ราศีแรกเป็นราศีตรีโกณธาตุไฟ ส่วราศีพิจิกเป็นราศีที่ครองด้วยดาวอังคาร เป็นดาวแห่งธาตุไฟ

• กผะราศี : ราศีพฤษภ , ราศีกรกฎ และ ราศีมีน ราศีเหล่านี้เป็นธาตุดิน และธาตุน้ำ โดยเป็นราศีธาตุกลางธาตุ ธาตุน้ำต้นธาตุ และธาตุน้ำปลายธาตุตามลำดับ

ส่วนดาวเจ้าเรือนในแต่ละราศีในข้างต้นก็จะเป็นไปตามคุณลักษณะตรีโทษของราศีนั้นๆ ซึ่งโหราศาสตร์ยังมีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยให้เราตัดสินได้ว่าคนไหนมีธาตุอะไรเป็นเจ้าเรือน ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยโรคภัยไข้เจ็บ หรือการดูแลสุขภาพตามหลักอายุเวท


2. ลักษณะตรีโทษในบุคคล

•คนประเภทวาตะ โดยทั่วไปจะมีลักษณะผอมบาง  เป็นคนขาดสมาธิ หรือทำจิตใจให้จดจ่อได้ยาก ตัวเย็น ถูกเร่งเร้าได้ง่าย ทำอะไรรวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว ชอบกินอาหารเร็ว   เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และกินอาหารไม่ตรงเวลา

•คนประเภทปิตตะ โดยทั่วไปจะมีรูปร่างที่สมดุล สมส่วน ชอบการแสดงออก อารมณ์ร้อนแรง การดำเนินชีวิตแบบไม่มีเวลาหยุดพัก ไม่ยอมทำตัวให้ว่าง  กินง่าย ไม่เรื่องมากในการกิน เป็นคนที่ไม่ให้ความสนใจในอาหารและการกินมากนัก

•คนประเภทกผะ โดยทั่วไปมักจะอ้วน  ทำอะไรเชื่องช้า แต่จิตใจมีความแน่วแน่ มีความสงบ ชอบครุ่นคิด เป็นคนชอบกิน มีความสุขกับการกิน



3. ดวงชาตากับประเภทตรีโทษของแต่ละบุคคล

ตามหลักโหราศาสตร์กล่าวว่าดวงชาตากำเนิดมีบทบาทสำคัญในการสร้างลักษณะของตรีโทษในแต่ละบุคคล ซึ่งเราจะต้องใช้การพิจารณาจากหลักการและวิธีการทางโหราศาสตร์แห่งพระเวทเท่านั้น (โหรภารตะ) แต่หลักการนี้จะใช้ไม่ได้กับดวงชะตาหรือวิธีการคำนวนแบบโหรตะวันตก  ทั้งนี้เป็นเพราะทั้ง อายุรเวท และ โหราศาสตร์แห่งพระเวท มีรากฐานเดียวกัน


•เพื่อกำหนดลักษณะตรีโทษในบุคคลนี้เราจะไม่ใช้ ดาวอาทิตย์ เป็นหลักในการพิจารณา แต่เราใช้ลัคนา และ เจ้าเรือนลัคน์ เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเจ้าชาตามีลัคนาสถิตย์ราศีเมษ (ปิตตะ) และ เจ้าเรือนของลัคนา ( ดาวอังคาร ) สถิตย์อยู่ใน ราศีพิจิก (ปิตตะ)เราก็จะถือว่าเจ้าชาตาเป็นคนประเภทปิตตะ


• ดาวเคราะห์ที่สถิตร่วมกับลัคนาก็เป็นอีกตัวแปรที่สำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดาวดวงนั้นอยู่ใกล้กับองศาของลัคนาด้วย สมมติว่าเจ้าชาตามี ดาวเสาร์กุมลัคน์ นี่ก็เป็นข้อบ่งชี้ว่าเจ้าชาตาเป็นคนประเภท”วาตะ”  แต่หากเป็นดาวพฤหัสบดีเจ้าชาตาก็อาจจะมีรูปร่างอ้วน และดาวพฤหัสก็จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเจ้าชาตาเป็นคนประเภท”กผะ” 
• นอกจากนี้เรายังจำเป็นจะต้องรู้ที่สถิตของ ดาวเคราะห์ที่อยู่ในเรือนที่หก (อริ) และที่สถิตของดาวเจ้าเรือนที่ 6  เช่นถ้า ดาวพุธ อยู่ในเรือนที่หกและเรือนที่ 6 เป็นราศีมีน ก็หมายความว่า เป็นทั้ง วาตะ และกผะ  ( ดาวพุธเป็น ดาววาตะ- ราศีมีนเป็น ราศีกผะ)   ส่วนดาวอื่นๆก็จะมีคุณลักษณะของตรีโทษ ดังนี้ เช่น ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวกผะและเป็นดาวปิตตะด้วย(เนื่องจากมี 2 ราศี ) ดาวอาทิตย์ เป็น ปิตตะ , ดาวอังคารเป็น ปิตะ , ดาวเสาร์เป็น วาตะ , ดาวจันทร์เป็นกผะ และดาวศุกร์ เป็น ดาวกผะและเป็นดาวปิตตะด้วย(เนื่องจากมี 2 ราศี )

• ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทในการวิเคราะห์ ก็คือ ตำแหน่ง ของดาวจันทร์ (ชนมจันทร์) เพราะดวงจันทร์ เป็นดาวที่มีพลังสำคัญที่สามารถช่วยสร้างวัตถุต่างๆให้กลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา (เป็นเหมือนแม่ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง)  ซึ่งตามหลักโหราศาสตร์ถือดาวจันทร์มีอิทธิพลสำคัญต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์  โดยเราจะต้องรู้ที่สถิตของดาวจันทร์และดาวเคราะห์อื่นๆที่สัมพันธ์กับดาวจันทร์

•ประการสุดท้ายก็คือดาวเคราะห์ที่แข็งแกร่งที่สุดในดวงชะตาก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการวินิจฉัยตรีโทษ ซึ่งหากดาวเคราะห์ใดเป็นเกษตร เป็นอุจน์ หรืออยู่เรือนจตุโกณ ก็จะความหมายของประเภทหรือชนิดของตรีโทษได้ชัดเจนขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์คนประเภทต่างๆ ตามระบบของโหราศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนอาจจะสลับซับซ้อน และดูเหมือนจะไม่ค่อยจะชัดเจนนัก ซึ่งว่ากันตามทฤษฎีแล้วอาจจะยากสำหรับคนทั่วไปในการวินิจฉัยด้วยตัวเองแต่อันที่จริงก็คือคนเราจะมีลักษณะของตรีโทษเป็นแบบผสมกันทุกคน และแต่ละคนก็อาจจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งเด่นขึ้นมาก็ได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยผู้ที่เชียวชาญทางโหราศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอายุรเวทเท่านั้นจึงจะสามารถตัดสินออกมาได้