ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ตามพระคัมภีร์แห่งพระเวทโบราณของพราหมณ์ พระพรหม พระผู้สร้าง และทำลายจักรวาลเป็นรอบๆเกิดเป็นวัฏจักรไม่มีจบสิ้น ชีวิตของพระพรหมคือ 120 ปีทิพย์เป็นเวลาเท่ากับ 1 มหากัลป์ และในทุกวัน(ทิพย์) พระพรหมจะทรงสร้างพระมนู อีก 14 องค์ในทุกๆวันของพระพรหม เพื่อให้พระมนูทำการควบคุม และพิทักษ์โลก ใน 1 วันทิพย์ ที่พระพรหมทรงสร้างพระมนูนั้นเรียกว่า 1 กัลป์

และเวลาในช่วงชีวิตหนึ่งๆของพระมนูแต่ละองค์นั้นเรียกว่า “มานวันตระ”  และใน 1 มาวันตระจะมี 71 ยุคย่อยในสี่ยุคใหญ่(มหายุค)  ซึ่งเรารู้จักกันดีคือ “จตุรยุค” คือ กฤดายุค(สัตยายุค,จัตยายุค)ไตรดายุค ทวาปรยุค และกลียุคซึ่งแต่ละยุคจะมีระยะเวลาแตกต่างกันจากมากไปหาน้อยสุดและคุณธรรมและอายุขัยของมนุษย์ก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามสัดส่วน และจนถึงยุคในปัจจุบันก็คือ “กลียุค”ซึ่งนักคำนวนชาวอินเดียปัจจุบันได้คำนวนแล้วว่าโลกได้เข้าสู่ กาลียุค มาแล้ว 5114 ปี (นับถึงปี คศ2013) โดยเริ่มต้นของกาลียุคตั้งแต่วันแรม13 ค่ำเดือนภัทรปทในเวลาเที่ยงคืนตรงกับวยาฑิปัฏฏะโยค พระจันทร์เสวยอาศเลษะนักษัตรที่ 9 เมื่อ 5114 ปีมาแล้ว

ที่นี้เราลองมาดูกันว่า คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ในสมัยโบราณท่านได้จำแนกแยกแยะการวัดช่วงเวลาเอาไว้ได้อย่างละเอียดเพียงใดและทำไมจึงคำนวณและแบ่งยุคต่างๆออกมาได้ มีที่มาที่ไปอย่างไรต่อไปนี้คือการคำนวณหน่วยเวลาอย่างละเอียดที่ได้จากคัมภีร์พระเวท ซึ่งได้ให้แนวคิดของการวัดหน่วยเวลาที่เล็กสุดจนถึงใหญ่ที่สุด



 

และเวลาในช่วงชีวิตหนึ่งๆของพระมนูแต่ละองค์นั้นเรียกว่า “มันวันตระหรือมนูวันตระ”  และใน 1 มันวันตระจะมี 71 มหายุค  ซึ่ง 1 มหายุคก็จะมี4 ยุคย่อยเรารู้จักกันดีคือ “จตุรยุค” คือ กฤดายุค(สัตยายุค,จัตยายุค)  ไตรดายุค ทวาปรยุค และกลียุค ซึ่งแต่ละยุคจะมีระยะเวลาแตกต่างกัน จากมากไปหาน้อยสุดและคุณธรรมและอายุขัยของมนุษย์ก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามสัดส่วน และจนถึงยุคในปัจจุบันก็คือ “กลียุค”ซึ่งนักคำนวนชาวอินเดียปัจจุบันได้คำนวนแล้วว่าโลกได้เข้าสู่ กาลียุค มาแล้ว 5114 ปี (นับถึงปี คศ2013) โดยเริ่มต้นของกาลียุคตั้งแต่วันแรม 13 ค่ำ เดือนภัทรปท ในเวลาเที่ยงคืนตรงกับ วยาฑิปัฏฏะโยค พระจันทร์เสวยอาศเลษะนักษัตรที่ 9 เมื่อ 5114 ปีมาแล้ว

ที่นี้เราลองมาดูกันว่า คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ในสมัยโบราณท่านได้จำแนกแยกแยะการวัดช่วงเวลาเอาไว้ได้อย่างละเอียดเพียงใดและทำไมจึงคำนวณและแบ่งยุคต่างๆออกมาได้ มีที่มาที่ไปอย่างไร

ต่อไปนี้คือการคำนวณที่สมบูรณ์ของหน่วยเวลาจากคัมภีร์พระเวท ซึ่งได้ให้ ความคิดของการวัดที่เล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดของเวลา


กราติ = 1/34,000 ของวินาที
เวลาที่ใช้ในการฉีกกลีบบัวเรียกว่า ' ทรูติ '
100  ทรูติ เท่ากับ 1 ลัพภ์
30 ลัพภ์ เท่ากับ 1 นิเมศ
27 นิเมศ เท่ากับ 1 คุรุ อักษะ
10 คุรุ อักษะ เท่ากับ 1 ปราณ
6 ปราณ วิฆฏิกะ เท่ากับ ให้ 1 ฆฏิกะ หรือ ทาน
60 ฆฏิ เท่ากับ 1 วัน และ 1 คืน
นั่นหมายความว่า ใน1 วันและคืน จะมี 17,49,60,000,00 ทรูติ
ดังนั้นตามวิทยาการของตะวันตกในหนึ่งวันและหนึ่งคืนจะมี 86,400 วินาที ในขณะที่วิทยาการแห่งพระเวท , วันและคืน ประกอบด้วย 17,49,60,000,00 ทรูติ

ระบบมาตราวัดเวลาอีกแบบหนึ่ง
1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง = 60 ฆฏิ
1 ฆฑิ = 60 วิฆฏิ (เรียกว่า พละ หรือ กาละ )
1 วิฆฑิ = 60 ลิปดา หรือ (เรียกว่า วิพละ หรือ วิกาละ)
1 ลิปดา = วิลิปดา 60
1 วิลิปดา= ปะระ 60
1 ปะระ = ตัดปะระ 60


ข้อมูลทางประวัติโบราณของอินเดียหรือข้อมูลทางโหราศาสตร์อินเดียมักบันทึกช่วงเวลาในรูปแบบหน่วยเวลา ฆฏิ และ วิฆฏิ ต่อไปนี้เป็นการแปลง:
5 ฆฏิ = 2 ชั่วโมง
5 วิฆฏิ = 2 นาที


*หน่วยเวลาที่ละเอียดในระดับไมโคร จากคัมภีร์พระเวท
60 ตัดปะระ = 1 ปะระ
60 ปะระ = 1 วิลิปดา
60 วิลิปดา = 1 ลิปดา
60 ลิปดา = 1 ฆฏิกะ หรือ ทาน
60 ฆฏิกะ  = 1วันและ 1 คืน


ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าในวันและคืนตามหน่วยเวลาจากคัมภีร์พระเวทจะ
มี 46,65,60,000,00 ตัดปะระ

*หน่วยเวลาที่กว้างในระดับมหภาค จากคัมภีร์พระเวท
สัตยายุค 4,32,000 ปี x 4 = 17,28,000 ปี
ไตรดายุค  4,32,000 ปี x 3 = 12,96,000 ปี
ทวาปรยุค 4,32,000 ปี X 2 = 8,64,000 ปี
กาลียุค 4,32,000 ปี X 1 = 4,32,000 ปี
1 มหายุค ( รวมจำนวนยุคทั้งหมดหรือเรียกว่า “จตุรยุค”) = 4,320,000 ปี
71  มหายุค = 43,20,000 X71 = 1 มันวันตระ
1 มันวันตระ = 30,6720,000 ปี
14 มันวันตระ = 4294080000 ปี

หน่วยเวลาที่กว้างในระดับมหภาค จากคัมภีร์พระเวท

สัตยายุค 4,32,000 ปี x 4 = 17,28,000 ปี
ไตรดายุค  4,32,000 ปี x 3 = 12,96,000 ปี
ทวาปรยุค 4,32,000 ปี X 2 = 8,64,000 ปี
กาลียุค 4,32,000 ปี X 1 = 4,32,000 ปี
1 มหายุค ( รวมจำนวนยุคทั้งหมดหรือเรียกว่า “จตุรยุค”) = 4,320,000 ปี
71  มหายุค = 43,20,000 X71 = 1 มานวันตระ
1 มานวันตระ = 30,6720,000 ปี
14 มานวันตระ = 4294080000 ปี

ในคัมภีร์กล่าวว่าโลกจะจมอยู่ใต้น้ำเป็นระยะเวลาของ 8,64,000 ปี ในทุกๆรอบของมาวันตระ คือจำนวนเวลาครึ่งหนึ่งของจำนวนปีของสัตยายุค ก่อนที่จะเริ่มต้นของแต่ละ”มานวันตระ” โลกก็จะยังคงจมอยู่ใต้น้ำและหลังจากการจบสิ้นในแต่ละ มานวันตระ

ดังนั้นใน 14 มานวันตระ หรือ พระมนูทั้ง 14 องค์ คือ จำนวนรวมของปีทั้งหมดคือ
17,28,000 x 15 = 2,59,20,000
( จำนวน ปี ใน สัตยายุค )
+ 14 มาวันตระ = 42,9 , 40,80,000
1 กัลป์ = 4320.000.000 ปี
ดังนั้นเวลาหนึ่งวันและคืนของพระพรหม = 4,320,000 มหายุค x 100 = 4,320,00,000 ปี
ซึ่งหากจะเปรียบว่าเสี้ยวเวลาๆหนึ่งของชีวิตของพระพรหมอาจจะเท่ากับอายุของมนุษย์เรา 100 ปี  ดังนั้นหากชีวิตของพระพรหมมีอายุ
100 ปี(ทิพย์)จะเท่ากับ 4,32,00,00,000 x 360 x 100 = 1,555,200,000,000 ปี(มนุษย์)

 

หลักการเทียบยุคต่างๆในคัมภีร์พระเวทในอีกแบบหนึ่ง

1 ปีของมนุษย์  = 1 เทวะอโหราตระ หรือ เทวะอโหราตรี  (1 วันและ 1 คืนของเทพ)
360 เทวะอโหราตระ = 1 เทวะวัฏฏสาระ
12,000  เทวะวัฏฏสาระ = 1 จตุรยุค

(12,000 เทวะวัฏฏสาระ มีการแบ่งเป็น  กฤดายุค มีระยะเวลา  4,800 เทวะวัฏฏสาระ ,ไตรดายุค มีระยะเวลา  3,600 เทวะวัฏฏสาระ
ทวาปรยุคมีระยะเวลา   2,400 เทวะวัฏฏสาระ  และ ของกาลียุค 1,200 เทวะวัฏฏสาระ  ซึ่งรวมเป็น 1,200 * 360 = 4,32,000 ปีของมนุษย์)

71 จตุรยุค = 1 มันวันตระ (ช่วงชีวิตของมนุ 1องค์)
14 มาวันตระ = 1 กัลป์ (1 วันของพระพรหม)   2 กัลป์ = 1 วัน + 1 พรหมาราตระ (ราตรี)

360 วันของพระพรหม  = 1 พรหมาวรรษ (ปี)

 

 

อัตราเวลาการโคจรของดาวเคราะห์

ในอดีต ท่านมหาฤาษีโบราณท่านได้คิดคำนวนอัตราการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงในแต่ละวันโดยละเอียดดังต่อไปนี้

 

 

มาตราวัดเวลาทางโหราศาสตร์ฮินดู

 

60           ตาตะประระเท่ากับ    6 ปะราตะปะระ
60           ปะราตะปะระเท่ากับ    1 ปะระ
60           ปะระเท่ากับ        1 ฟิลิปดา
60           ฟิลิปดาเท่ากับ    1 ลิบดา
60           ลิบดาเท่ากับ        1 องศา
30           องศาเท่ากับ        1 ราศี