ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 9

ทศมะ  สผุต (ทีฆันดรของเรือนที่ 10)

˜

72.  ทศมะภวะ ทศมะภวะหรือเรียกว่ามัธยลัคน์  มัธยลัคน์เทียบทางดาราศาสตร์  ได้แก่จุดหรือชั้นสูงสุดของวิถีที่เส้นศูนย์เที่ยงทางโหราศาสตร์ ถือเป็นทศมะภวะ (เรือนที่ 10) เป็นเจ้าการสำคัญในการดำรงชีวิต  ให้ความหมายถึงการอาชีพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากรรม  เป็นเนื้อแท้สำคัญที่เหลืออยู่ในดวงชะตาที่จะต้องพิจารณาให้ได้ความแน่นอน  เมื่อได้ ทีฆ. ของทศมะภวะแน่นอนแล้วเรื่องของเรือนอื่น ๆ ก็หาได้ง่าย.

73.  ราศีจักร ราศีจักรเป็นที่หมายหรือเครื่องหมายคงที่ของจักรราศีภายในขอบเขตของราศีทั้ง 12,  ราศี 1 เป็น 1 ใน 12   ส่วนของจักรราศีมีขอบเขต 30 องศาของสุริยวิถี  ในเรื่องนี้ขอให้เข้าใจว่า  ราศีจักร (ข้อ 71) และภวะจักร (ข้อ 75) ต่างกัน.

74.  ความเห็นในเรื่องภวะจักร ความเห็นทั่ว ๆ ไปเข้าใจว่าภายหลังที่ได้สผุดของลัคน์แล้วภวะอื่น ๆ ก็หาได้ง่าย  โดยสันนิษฐานว่าอิทธิพลของลัคน์มีขอบเขตข้างละ 15 องศา  แล้วก็เริ่มหาภวะหน้าและหลังต่อไป  ความเห็นนี้ไม่เป็นที่ถูกต้อง.

ความจริงการเปลี่ยนแปลง  ของอิทธิพลขึ้นอยู่แก่  แต่ละองศาลิปดา ฯลฯ ของทีฆ.  และวิถ. ณ พื้นปฐพี  ราศีจักรออกจากภวะจักร  และเป็นไปเพื่อการพยากรณ์.

75.  กฎของภวะจักร ภวะจักรคือจุดตรงที่สุริยวิถีตัดกับเส้นขอบฟ้าตะวันออกเป็นอุทัยลัคน์ (จุดเกิด)  จุดตรงที่สุริยวิถีตัดกับเส้นขอบฟ้าตะวันตกเป็นอัสตมะลัคน์ (จุดดับ)  จุดตรงที่สุริยวิถีตัดกับเส้นศูนย์เที่ยงท้องถิ่นเป็นลัคน์เบื้องสูง (จุดสูงสุดเหนือพื้นปฐพี)  และนาฑิร์ลัคน์ ๆ เบื้องต่ำใต้ปฐพี.


ทศมะ สผุส (ทีฆันดรของเรือนที่ 10) 47


76.  ความหมายจำกัดของภวะจักร ภวะจักรเป็นจุดหมายของสุริยวิถีในเรือนทั้ง 12 เรือน  โดยอาศัยหลัก วิถ. (รุ้ง) ของสถานที่และเวลาเมื่อเกิด (ดูบทต่อไปในคำจำกัดความของเรือน)  และสผุดคือรายละเอียดต่อไปของขอบเขตแห่งเรือนต่าง ๆ เช่นภวะสนธิและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน.

77.  วิธีพิจารณาหาศูนย์กลางเวหา ความแตกต่างระหว่างเที่ยงวันและเวลาของวันเห็นได้จากที่สถิตของอาทิตย์  โดยตั้งนะตะเป็นที่กำหนดนะตะคือของระยะของเส้นศูนย์เที่ยง  นะตะเป็นทั้งประคะคือตะวันออกและปาศะจาตะยะคือตะวันตกเป็นประคะระหว่างเที่ยงคืนกับเที่ยงวัน  และเป็นปาศะจาตะยะระหว่างเที่ยงวันกับเที่ยงคืน.

ประคะนะตะสรุปความเป็น 2 นัย คือ :

(1)  ระยะเวลาระหว่างอาทิตย์และศูนย์เที่ยง  เมื่อก่อนดวงอาทิตย์ตก.

(2)  ระยะเวลาระหว่างศูนย์เที่ยงและอาทิตย์  ภายหลังดวงอาทิตย์ตก.

นะตะเมื่อลบจาก 30 มหานาทีได้เป็นอุนนะตะ.

ในเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจไว้ว่า  ศูนย์เที่ยงได้แก่เวลาเที่ยงจริง  อาทิตย์ได้แก่เวลาเกิด.

ภายหลังเมื่อได้เข้าใจแจ่มแจ้งในความหมายและความสำคัญของคำว่า “นะตะ” และ “อุนนะตะ”  ให้หาดูว่าเวลาเกิดตกในประคะนะตะหรือปาศะจาตะยะนะตะ.


48                                                                   โหราวิทยา


ประคะนะตะ.

(ก)  ถ้าเกิดภายหลังอาทิตย์ขึ้น  เอาเวลาเกิดลบจากทินอาระขะ  (ครึ่งเวลากลางวัน)

(ข)  ถ้าเกิดก่อนอาทิตย์ขึ้น  เอาทินอาระธะบวกกับมหานาทีที่ผ่านล่วงแล้วจากเวลาเกิดถึงอาทิตย์ขึ้น.

ผลของทั้ง 2 ประการนี้เป็นประคะนะตะ  คือประคะนะตะชี้ให้เห็นโดยเวลาที่ล่วงแล้วระหว่างเวลาเกิดและเวลาเที่ยงจริงของท้องถิ่น.

ในปาศะจาตะยะนะตะ.

(ก)  ถ้าเกิดเวลาบ่ายก่อนอาทิตย์ตก  เอาทินอาระธะลบจากเวลาเกิด (เป็นมหานาที)

(ข)  ถ้าเกิดภายหลังอาทิตย์ตก  เอาทินอาระธะบวกกับจำนวนเวลาระหว่างอาทิตย์ตกและเวลาเกิด  ได้จำนวนเวลาของปาศะจาตะยะ.

ตามระเบียบการข้างบนนี้สรุปความได้ดังนี้ :

กฎ 1  เมื่อเกิดระหว่างเที่ยงคืนและเที่ยงวัน.

(ก)  ทินอาระธะ – สุรโยทัยชนม์กาลมหานาที – จำนวนเวลาประคะนะตะ.

(ข)  ทินอาระธะ + เวลาระหว่างเวลาเกิดกับอาทิตย์ขึ้น = จำนวนเวลาประคะนะตะ.

กฎ 2  เมื่อเกิดระหว่างเที่ยงวันและเที่ยงคืน

(ก)        สุรโยทัยชนม์กาลมหานาที – ทินอาระธะ = จำนวนเวลาปาศะจาตะยะนะตะ.

(ข)        ทินอาระขะ + เวลาระหว่างอาทิตย์ตกและเวลาเกิด = จำนวนเวลาปาศะจาตะยะนะคะ.

กฎ 3  30 มหานาที – นะตะ = อุนนาตะ.


ทศมะ สผุส (ทีฆันดรของเรือนที่ 10) 49


ตัวอย่าง  12 หาสภาวะของนะตะและเวถาระหว่างนะตะในชะตาตัวอย่างเวลาเกิดเป็นเวลาเมื่อ “เกิดระหว่างเที่ยงวันกับเที่ยงคืน”  และกฎ 2 (ก)  เป็นกฎที่ใช้กับเวลาเกิดนี้  เพราะเกิดภายหลังเที่ยงวันและก่อนอาทิตย์ตก.

มหานาที               วิมหานาที

ทินอาระธะ (ครึ่งเวลากลางวัน)                                           14                           42

สุรโยทัยชนม์กาลมหานาที                                                   20                           15

20 / 15 – 14 / 42                                                                                    5                            33

สภาวะของนะตะเป็นปาศะจาตะยะ  เป็นเวลา 5 มหานาที  33 วิมหานาที (นะตะเป็นเวลาระหว่างเวลามัธยมของเวลาเที่ยงจริงและเวลามัธยมของเวลาเกิด  ในเรื่องนี้เวลาระหว่างนั้นเป็นเวลามัธยมเฉพาะท้องถิ่นของเวลาเกิด (2 ล.ท.) – เวลามัธยมของเวลาเที่ยงจริง (11.46 ล.ท.)  2 ชั่วโมง 14 นาที  มหานาที 5 / 35  ต่างกัน 2 วิมหานาที  เป็นเพราะการเคลื่อนกันของเวลาอาทิตย์ขึ้น  เพื่อความสะดวกทางโหราศาสตร์ปัดทิ้งเสียได้)

ตัวอย่าง  13 หาเวลาอุนนะตะซึ่งประคะนะตะ = 17 มหานาทีตามกฎ 3 ได้ 30 / 0 – 17 / 0 = 13  มหานาที – เวลาของอุนนะตะ.

จากที่สถิตของอาทิตย์สายะนะและถือเอาเวลาขึ้นที่เส้นศูนย์สูตร  หาเรขาหรือวิถีโค้ง (ในระเบียบกลับกัน)  ซึ่งตรงกับเวลาของนะตะ  เอาจำนวนบวกกับหรือลบจากอาทิตย์สายะนะสุดแท้แต่นะตะเป็นปาศะจาตะยะหรือประคะ  ผลลัพธ์ตัดโดยอายะนางศ  ได้มัธยลัคน์นิรายะนะ.

ตัวอย่าง  14 หามัธยลัคน์นิรายะนะในดวงชะตาตัวอย่าง.

ปาศะจาตะยะนะตะ = 5 / 33 (ตัวอย่าง 12)

อาทิตย์สายะนะ = 200°  24'

เวลาขึ้นของตุลย์  20°  24'

7

50                                                                   โหราวิทยา


X  4 / 39 =  3 / 9   หรือ 3 /10

ราศีตุลย์ที่ศูนย์สูตร

20°  42'

30

หรือ (20 X 60 + 24) ÷ (30 X 60) X (4 X 60 + 39)  =  3 / 9.72  หรือ  3/ 10

ถือเอาในทางกลับกันเราก็ได้เห็นว่า 3 มหานาที 10 วิมหานาทีเป็นเวลาที่ผ่านเข้าในราศีตุลย์

ในราศีกันย์ผ่านมาได้  นะตะ – 3 / 15°  หรือ 5'    33 - 3'    10 = 2 / 23

X 30°

ฉะนั้นเราขาตรงกับ 2 / 23  ราศีกันย์  (ณ ศูนย์สูตร) =

= 15° 22'   34"     หรือ 34"    .84  หรือ  35"

ฉะนั้นระยะระหว่างอาทิตย์และเส้นศูนย์เที่ยงเป็นตุลย์   20°  24'     0"

กันย์   15     22    35  +

ระยะศูนย์  เที่ยง =   35    46     35

เมื่อนะตะเป็นปาศะจาตะยะบวกนะตะนี้เข้ากับอาทิตย์สายะนะ

อาทิตย์สายะนะ                                   200°  24'     0"

ระยะศูนย์เที่ยง                                     35    46   35  +

ฉะนั้นมัธยลัคน์สายะนะ              236    10   35

อายะนางศ                                            21    15   46   -

ฉะนั้นมัธยลัคน์นิรายะนะ        = 214    54   49

=  214   55     0

ฉะนั้นศูนย์เวหาหรือมัธยลัคน์ =  214°      55'

- ราศีพฤศจิก  5°  55'

หรืออีกนัยหนึ่งว่า นี่เป็น ทีฆ. ของภาวะมัธยหรือศูนย์กลางของเรือนที่ 10.

˜