Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

จะว่ากันไปแล้วเรื่องทฤษฎีปฏิกิริยา 5 ธาตุของจีนคงจะต้องเขียนอีกยาวหลายๆตอน เพราะมีความลุ่มลึกและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ทฤษฎีแบบง่ายๆในแบบที่เราเคยรับรู้รับทราบกันมาโดยตลอด เช่นว่า ดินเกิดทอง ทองเกิดน้ำ น้ำเกิดไม้ ไม้เกิดไฟ ไฟเกิดดิน ฯลฯ ซึ่งหลักการง่ายๆเช่นนี้ไม่สามารถนำไปประยุกต์และอธิบายปรากฏกาณ์ต่างของธรรมชาติในระดับลึกซึ้งได้เลย ซึ่งถ้าหากเรารับรู้หลักการของทฤษฎีนี้แบบผิดๆ การนำไปประยุกต์ใช้ก็จะผิดตามไปด้วย อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงหลักอภิปรัชญาแขนงนี้ได้เลยแม้แต่เปลือกนอก

ฤดูกาลทั้ง 5 ของจีน

หลักอภิปรัชญา 5 ธาตุนี้มีการอธิบายปรากฏการณ์ของปฏิกิริยาผ่านฤดูกาลต่างๆของจีน ซึ่งตามที่เราเข้าใจว่ามีเพียง 4ฤดูกาล แต่ความเป็นจริงมี 5 ฤดูกาลซึ่งทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้มากที่สุดโดยเฉพาะการแพทย์แผนจีน และโหราศาสตร์จีนแขนงต่างๆ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของพลังธาตุทั้ง 5  โดยฤดูกาลทั้ง 5 มีดังนี้

1. 木为ธาตุไม้ / ฤดูใบไม้ผลิ = (72 วัน) เป็นระยะเวลาของการเจริญเติบโตและความมีชีวิตชีวา พืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆก็จะเริ่มเติบโตในช่วงนี้  ซึ่งเรียกว่าฤดูใบไม้ผลิเป็นผู้ควบคุมการก่อกำเนิด(春主生)
2. 火为ธาตุไฟ / ฤดูร้อน = (72 วัน) เป็นระยะเวลาของการผลิดอกออกผลที่เต็มไปด้วยพลังงาน  (ไฟ )  ซึ่งเรียกว่าฤดูร้อนเป็นผู้ควบคุมการเจริญเติบโต(夏主长)

3. 土为季ธาตุดิน/ฤดูร้อนยาว = (72 วัน = 4x18 (4 ฤดูนับเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่าน x แต่ละฤดู 18วัน) ในระหว่างระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านฤดูกาลหรือเรียกว่า”ฉางเซี่ย长夏” หรือ 季夏(Late Summer  ปลายฤดูร้อนหรือฤดูร้อนช่วงยาว) - เป็นระยะเวลาของที่เกี่ยวข้องกับการปรับระดับและการรองรับ (การดูแลรักษา) ผลผลิต   ซึ่งเรียกว่าฤดูร้อนยาวเป็นผู้ควบคุมการดูแลรักษา(季夏主养)

แต่ในบางทรรศนะถือเอาเฉพาะเดือน 6 ตามจันทรคติจีน นับเป็นฤดู  ”ฉางเซี่ย长夏” ในคัมภีร์《素问·藏气法时论》อธิบายว่า  “长夏,谓六月也。夏为土母,土长干中,以长而治,故云长夏。”  ฤดูฉางเซี่ยเป็นเดือน 6  (ซึ่ง)ฤดูร้อนถือเป็นมารดาแห่งธาตุดิน ดินเติบโต(จะ)แห้งผาก (จำเป็น)ต้องใช้(เวลา)รักษาเลี้ยงดู (ช่วงนี้)นับเป็นฤดูฉางเซี่ย  
4. 金为ธาตุทอง / ฤดูใบไม้ร่วง = (72 วัน) เป็นระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวพืชพรรณ ต้นไม้ก็จะผลิตเมล็ดพันธ์ออกมาจากฤดูก่อนหน้า และต้นไม้ต่างๆก็จะสลัดใบทิ้งไป   เพื่อกักเก็บความชื้นเอาไว้  ซึ่งเรียกว่าฤดูใบไม้ร่วงเป็นผู้ควบคุมการเก็บเกี่ยว/กักเก็บ(秋主收)
5. 水为ธาตุน้ำ / ฤดูหนาว = (72 วัน) เป็นระยะเวลาของการพักผ่อนและการเก็บรักษา ต้นไม้ต่างๆก็จะหยุดนิ่งไม่เจริญเติบโต    ซึ่งเรียกว่าฤดูหนาวเป็นผู้ควบคุมการเก็บซ่อน/เก็บรักษา(冬主藏)

ปฏิกิริยาธาตุ 5 กับวงจรการก่อเกิดฤดูกาลทั้ง 4

ในการก่อเกิดและขับเคลื่อนของวงจรปฏิกิริยา 5 ธาตุนี้ถูกนำมาอธิบายปรากฏการณ์ของการก่อเกิดผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนของฤดูกาลทั้ง 4   ซึ่งก่อให้เกิดความร้อน-เย็น, ความแห้ง-ความชื้น ,กลางคืน-กลางวัน,เวลาสั้น-ยาว ในฤดูกาลต่างๆที่แตกต่างกัน โดยมีปรากฏกาณ์ของปฏิกิริยา 5ธาตุ แสดงถึงพลังงานจากจุดสูงสุดลงไปหาจุดต่ำสุดและจากจุดต่ำสุดไปหาจุดสูงสุด  เกิดการผันแปรไม่สิ้นสุด และก็จะเกิดปฏิกิริยา 5 ธาตุ ซึ่งมีทั้งในด้านจุดสูงสุดและต่ำสุดในขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักการที่ก่อให้เกิดพลังยิ่งใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด (生杀大权)โดยมี 6 ปฏิกิริยาย่อยคือ 1.เข้มแข็ง 2.อ่อนแอ 3.ร่วมกัน 4.หยุดพัก 5.กักเก็บ 6.สูญสลาย  (旺,衰,相,休,囚,死 )

  1. 春ฤดูใบไม้ผลิ ( เริ่มจากสารท ลี่ชุน 立春 )ธาตุไม้มีพลังสูงสุดและเป็นฤดูแห่งธาตุไม้ ธาตุดินมีพลังต่ำสุด เพราะถูกพิฆาตโดยธาตุไม้
  2. 夏ฤดูร้อน (เริ่มจากสารท ลี่เซี่ย 立夏)ธาตุไฟมีพลังสูงสุดและเป็นฤดูแห่งธาตุไฟ ธาตุทองมีพลังต่ำสุด เพราะถูกพิฆาตโดยธาตุไฟ
  3. 秋ฤดูใบไม้ร่วง (เริ่มจากสารท ลี่ชิว 立秋)ธาตุทองมีพลังสูงสุดและเป็นฤดูแห่งธาตุทอง ธาตุไม้มีพลังต่ำสุด เพราะถูกพิฆาตโดยธาตุทอง
  4. 冬ฤดูหนาว (เริ่มจากสารท ลี่ตง立冬)ธาตุน้ำมีพลังสูงสุดและเป็นฤดูแห่งธาตุน้ำ ธาตุไฟมีพลังต่ำสุด เพราะถูกพิฆาตโดยธาตุน้ำ