Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


ในตอนท้ายนี้จะว่าด้วยการตัดเวลาอีกตำราหนึ่ง ตามตำราของหลวงพรหมโยธี มีวิธีทำตอนท้ายต่างออกไปดังนี้

ให้ทำปุณมีกับติตถนาฑีที่ยังเป็นมหานาฑี และมหาวินาฑีอยู่นั้นให้เป็นเวลาธรรมดาเสียก่อน แล้วให้ตั้งติตถนาฑี เอาเกณฑ์ทิวา คือ ๑๑ ชั่วโมง ๔๘ นาฑีบวกเข้า ผลบวกนี้เป็นติตถทิวา แล้วให้เอาติตถทิวาไปลบปุณมี ผลลัพธ์เป็นเวลาแรกจับ แล้วให้เอา ปุณมีตั้ง เอาติตถทิวาบวก แล้วเอาเกณฑ์อดีต คือ ๒๓ ชั่วโมง ๓๖ นาฑีมาลบ ได้ผลลัพธ์เป็นโมกษบริสุทธิ นับเวลานาฬิกา เริ่มแต่ย่ำค่ำเป็นต้นไป

เมื่อได้ความรู้เท่านี้ ก็เป็นอันทำจันทรุปราคาตามตำราเล่มนั้นได้ตลอด จะทำที่คำนวณมาแล้วให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังนี้

ติตถนาฑี ๓ มหานาฑี กับ ๒๘ มหาวินาฑี คิดเป็นเวลาธรรมดาได้ ๑ โมง ๒๓ นาฑี ๑๒ วินาฑี ปุณมี ๕๐ มหานาฑี กับ ๓๒ มหาวินาฑี คิดเป็นเวลาธรรมดาได้ ๒๐ ชั่วโมง ๑๒ นาฑี กับ ๑๔ วินาฑี แล้วทำลบบวกกันดังนี้

ติตถนาฑี       เกณฑ์ทิวา     ติตถทิวา        /        ปุณมี            ติตถทิวา        เวลาแรกจับ

๑    +                    ๑๑   =          ๑๓     /         ๒๐     -        ๑๓     =                 ๗

๒๓   +           ๔๘  =          ๑๑      /        ๑๒     -        ๑๑      =                 ๑

๑๒                                    ๑๒     /        ๑๔     -        ๑๒     =                 ๒


-------------------------------


ปุณมี            ติตถทิวา                                     เกณฑ์อดีต              เวลาปล่อย

๒๐   +         ๑๓             =       ๓๓     /        ๓๓     -        ๒๓     =         ๙

๑๒   +         ๑๑             =       ๒๓     /        ๒๓     -        ๓๖     =       ๔๗

๑๔   +         ๑๒             =       ๒๖     /        ๒๖     -           ๐     =       ๒๖


----------------------------


ตำราเล่มนั้นใช้คำนวณมาตราเวลาด้วยมหานาฑี ๕ ชั้น เศษจะคลาดกันอยู่บ้างกับตำราที่ทำนี้ แต่ที่ทำมาในเบื้องต้นนั้นผลเป็นอย่างเดียวกันตลอดมา แต่การแก้ตำราในตอนท้ายนี้ ผู้แต่งตำราหาได้แสดงเหตุผลไว้ให้ทราบไม่ ว่าได้ใช้เกณฑ์ทิวากับเกณฑ์อดีต ตัดเวลาแทนทินาฒและนิสาฒเพราะเหตุใด และเกณฑ์ทั้งสองอย่างนั้นคิดมาได้อย่างไร?

ข้าพเจ้าจะอธิบายไว้ ตามความเห็นของข้าพเจ้าพอเป็นทางสันนิษฐาน เกณฑ์ทิวานั้นแปลว่าเป็นเวลาในวันหนึ่ง นับแต่ย่ำรุ่งไปจนค่ำ แต่ตั้งไว้ให้หย่อนอยู่ ๑๒ นาฑี เมื่อเอาเกณฑ์ทิวาบวกเข้ากับผลนั้น จะเป็นเวลากลางคืนไป เพราะฉะนั้นที่เอาเกณฑ์ทิวาบวกติตถนาฑีนั้น ก็คือเวลากลางวันกับกลางคืนในครึ่งซีกของวงพระจันทร์บวกเข้าด้วยกัน แล้วเอาไปลบปุณมี คือเวลาแต่ย่ำรุ่ง จนถึงตรงกึ่งกลางดวงจันทร์นั้น จึงเหลือเวลาแต่ย่ำค่ำไปจนขอบวงดวงจันทร์เข้าจดกับเงามืดนั้น นับเป็นเวลาแรกจับ

ครั้นถึงจะหาเวลาโมกษบริสุทธิ เอาเกณฑ์ติตถทิวาบวกกับปุณมีก็แปลว่า แต่ถึงกึ่งกลางที่ดวงจันทร์เต็มดวงไปจนสว่าง แล้วเอาเกณฑ์ ๒๓ ชั่วโมง ๓๖ นาฑีมาลบ ก็คือเอาเวลากลางวันแต่รุ่งไปจนค่ำเป็นเวลา ๑๑ ชั่วโมง ๔๘ นาฑีออกเสีย และเวลากลางคืน ๑๑ ชั่วโมง ๔๘ นาฑีออกเสีย คือเวลาที่

หลังดวงจันทร์หลุดพ้นจากเงามืดนั้นไปจนสว่าง เวลาทั้งสองนี้เมื่อบวกเข้าด้วยกันก็เป็น ๒๓ ชั่วโมง ๓๖ นาฑี ที่เรียกว่าเกณฑ์อดีต เมื่อเอามาตัดเวลาของดวงจันทร์ คือปุณมีที่บวกไว้กับติตถทิวานั้น ก็คง

เหลือเวลา แต่ย่ำค่ำไปจนขอบวงดวงจันทร์หลุดพ้นเงามืดเป็นโมกษบริสุทธิ

วิธีการนี้ดูออกจะยอกย้อน เข้าใจยากกว่าวิธีที่ตัดเวลาด้วยทินาฒและนิสาฒ แต่อย่างไรก็ดี คงจับเค้าความของตำรานี้ได้ว่า เมื่อเวลามีจันทรคราส เวลาลดน้อยลงกว่ามัธยมกาล ๒๔ นาฑี คือเร็วเข้า ครั้นเมื่อมีสุริยคราส เวลามากขึ้น ๒๔ นาฑี คือช้าไป จงดในวิธีคำนวณสุริยคราส ประกอบกันเถิด ตามวิธีการที่ทำมานั้น ดูเป็นวิธีพลิกแพลงซ่อนความรู้เรื่องเวลา ๒๔ นาฑีนี้นักหนา ขอให้ผู้ศึกษาจงพิจารณาดูความจริงตามรูปการณ์ที่เป็นแบบคำนวณนั้น

ตามที่กล่าวมานี้ ขอให้รู้ไว้เป็นเครื่องทดลองสอบสวนในการตัดเวลาจันทรุปราคา เพื่อค้นหาความแน่นอนอีกแบบหนึ่ง เทียบกันกับแบบเก่า แบบไหนจะช้าเร็วไปกว่ามัธยมเป็นประการใด และช้าเร็วกว่าความจริงเป็นประการใด ก็ให้ทำเป็นเกณฑ์ไว้ใช้ติดเวลาในเบื้องหน้าต่อไป เป็นการได้ช่วยกันแก้ไขตำราให้เป็นประโยชน์อยู่ทุกกาลทุกสมัย


คำนวณสุริยุปราคา

วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔

ตรงกับวันจันทร์เดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๖๓

สุทินนับแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ได้ ๒๑๐

สมผุสอาทิตย์ดังนี้

วันที่  ๙ (แรม ๑๓ ค่ำ)                   ราศี ๖           องศา ๒๓       ลิบดา ๕๓

วันที่ ๑๐ (แรม ๑๔ ค่ำ)         ราศี ๖           องศา ๒๔      ลิบดา ๕๓

วันที่ ๑๑ (ขึ้น ๑ ค่ำ)             ราศี ๖           องศา ๒๕      ลิบดา ๕๕

สมผุสจันทร์ดังนี้

วันที่  ๙ (วันเสาร์)               ราศี ๖           องศา   ๘       ลิบดา ๓๘

วันที่ ๑๐ (อาทิตย์)               ราศี ๖           องศา ๒๐       ลิบดา ๔๘

วันที่ ๑๑ (จันทร์)                 ราศี ๗           องศา   ๒       ลิบดา ๕๕

สมผุสราหู

วันที่ ๑๑                            ราศี ๖           องศา ๒๐       ลิบดา ๑๗

วันที่  ๙         ฤกษ์จันทร์ ๑๔ นาฑีฤกษ์ ๙   ดิถี ๑๓          นาฑีดิถี ๔๓

วันที่ ๑๐            “    ๑๕          “       ๓   ดิถี ๑๔          นาฑีดิถี ๓๙

วันที่ ๑๑            “    ๑๕          “     ๕๙   ดิถี   ๐          นาฑีดิถี ๓๕


มีดวงพระเคราะห์ดังนี้

รูปภาพ


หรคุณอัตตา   ๔๖๑๓๒๓

สุทิน                   ๒๑๐

วันที่ ๙          เพียร             ราศี ๑๑         องศา ๑๔       ลิบดา ๔๕

วันที่ ๑๐        เพียร             ราศี ๑๑         องศา ๒๖       ลิบดา ๕๕

วันที่ ๑๑        เพียร             ราศี   ๐         องศา   ๗       ลิบดา   ๐

เพียรวันที่ ๑๑ บอกว่าจะมีสุริยุปราคา

ดิถี  วันที่ ๑๑  บอกว่าจะมีสุริยุปราคา

ตรวจดูนวางศ์ วันที่ ๑๑ มีดังนี้

อาทิตย์ ๒๕ คูณ ๖๐ = ๑๕๐๐ + ๕๕ = ๑๕๕๕

๑๕๕๕ หาร ๒๐๐ = ๗ เศษ ๑๕๕ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๘

จันทร์ ๒ คูณ ๖๐ = ๑๒๐ + ๕๕ = ๑๗๕

๑๗๕ หาร ๒๐๐= ๐ เศษ ๑๗๕ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๑

ราหู ๒๐ คูณ ๖๐ = ๑๒๐๐ + ๑๗ = ๑๒๑๗

๑๒๑๗ หาร ๒๐๐ = ๖ เศษ ๑๗ เพิ่มผลลัพธ์เป็น ๗

อาทิตย์ร่วมราหู นวางศ์ ๘ กับ ๗ อยู่ชิดกัน

พระจันทร์เคียงราศีอาทิตย์ราหู นวางศ์ ๑ ใกล้กัน

เมื่อตรวจดูเห็นว่า จะมีสุริยุปราคา แน่แล้ว ให้ทำคำนวณสุริยุปราคาตามตำราสารัมภ์ดังตัวอย่าง

ต่อไปนี้

(๑) หรคุณอัตตา ๔๖๑๓๒๓ + สุทิน ๒๑๐ = ๔๖๑๕๓๓

๔๖๑๕๓๓ – ๑๘๕๒๙๘ = ๒๗๗๒๓๕ เป็นอุณทิน

(๒) อุณทิน ๒๗๗๒๓๕ – ๑ คูณ ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ = ๑๖๓๙๔๕๕๗๓๙๗๓๕๔๔

เพราะฉะนั้น ๑๖๓๙๔๕๕๗ เป็นพลอาทิตย์

(๓) อุณทิน ๒๗๗๒๓๕ – ๑ คูณ ๗๙๐๕๘๑๐๐๓๒ = ๒๑๙๑๗๕๙๓๓๘๔๑๑๔๘๘ (อ)

เพราะฉะนั้น ๒๑๙๑๗๕๙๓๔ เป็นพลจันทร์

(๔) อุณทิน ๒๗๗๒๓๕ -๑ คูณ ๖๖๘๑๘๖๗๐ = ๑๘๕๒๔๔๐๗๑๕๘๗๘๐ (อ)

เพราะฉะนั้น ๑๘๕๒๔๔๑ เป็นพลอุจจ์

(๕) อุณทิน ๒๗๗๒๓๕ – ๑ คูณ ๓๑๘๐๐๓๗๓ = ๘๘๑๖๑๔๔๖๐๘๒๘๒

เพราะฉะนั้น ๘๘๑๖๑๔ เป็นพลราหู


ทำมัธยม


(๖) พลอาทิตย์

๑๖๓๙๔๕๕๗ + ๑๒๒๖๘ หาร ๒๑๖๐๐ = ๗๕๙ เศษ ๑๒๔๒๕

เพราะฉะนั้น เศษ ๑๒๔๒๕ เป็นมัธยมอาทิตย์ปฐม

(๗) มัธยมอาทิตย์ปฐม

๑๒๔๒๕ + ๕๙ = ๑๒๔๘๔ เป็นมัธยมอาทิตย์ทุติย

(๘) พลจันทร์

๒๑๙๑๗๕๙๓๔ + ๑๑๓๓๙ หาร ๒๑๖๐๐ = ๑๐๑๔๗ เศษ ๑๒๐๗๓

เพราะฉะนั้น เศษ ๑๒๐๗๓ เป็นมัธยมจันทร์ปฐม

(๙) มัธยมจันทร์ปฐม ๑๒๐๗๓ + ๗๙๐ = ๑๒๘๖๓ เป็นมัธยมจันทร์ทุติย

(๑๐) พลอุจจ์

๑๘๕๒๔๔๑ + ๑๗๖๔๑ หาร ๒๑๖๐๐ = ๘๖ เศษ ๑๒๔๘๒

เพราะฉะนั้น เศษ ๑๒๔๘๒ เป็นมัธยมอุจจ์ปฐม

(๑๑) มัธยมอุจจ์ปฐม ๑๒๔๘๒ + ๗ = ๑๒๔๘๙ เป็นมัธยมอุจจ์ทุติย

(๑๒) พลราหู ๘๘๑๖๑๔ – ๘๐๑๔ หาร ๒๑๖๐๐ = ๔๐ เศษ ๙๖๐๐

เพราะฉะนั้น เศษ ๙๖๐๐ เป็นมัธยมราหูปฐม

(๑๓) มัธยมราหูปฐม ๙๖๐๐ + ๓ = ๙๖๐๓ เป็นมัธยมราหูทุติย


ทำสมผุส

(๑๔) มัธยมอาทิตย์ปฐม ๑๒๔๒๕ – ๔๖๘๐ หาร ๕๔๐๐ = ๑ โกลัง เศษ ๒๓๔๕

๕๔๐๐ – ๒๓๔๕ = ๓๐๕๕ เป็นปฐมภุช

(๑๕) ปฐมภุช ๓๐๕๕ หาร ๑๐๐๐ = ๓ เป็นขันธ์ เศษ ๕๕ เศษเป็นทุติยภุช

ฉายาเท่าขันธ์ฐานบนลบฐานต่ำ ๑๑๘ – ๙๘ = ๒๐

ทุติยภุช ๕๕ คูณ ๒๐ หาร ๑๐๐๐= ๑ เศษ ๑๐๐

ฉายาเท่าขันธ์ ๙๘ + ๑ = ๙๙ เป็นรวิภุชผล (โกลัง ๑ ต้องลบ)

มัธยมอาทิตย์ปฐม ๑๒๔๒๕ – ๙๙ = ๑๒๓๒๖ เป็นสมผุสอาทิตย์ปฐม

(๑๖) มัธยมอาทิตย์ทุติย ๑๒๔๘๔ – ๔๖๘๐ หาร ๕๔๐๐ = ๑ โกลัง เศษ ๒๔๐๔

๕๔๐๐ – ๒๔๐๔ = ๒๙๙๖ เป็นปฐมภุช

๒๙๙๖ หาร ๑๐๐๐ = ๒ เป็นขันธ์ เศษ ๙๙๖ เป็นทุติยภุช

ฉายา ๙๘ – ๗๑ = ๒๗

๙๙๖ คูณ ๒๗ หาร ๑๐๐๐ = ๒๖ เศษ ๘๙๒

๗๑ + ๒๖ = ๙๗ เป็นรวิภุชผล

๑๒๔๘๔ – ๙๗ = ๑๒๓๘๗ เป็นสมผุสอาทิตย์ทุติย

(๑๗) มัธยมจันทร์ปฐม ๑๒๐๗๓ + ๒๑๖๐๐ -๑๒๔๘๒ หาร ๕๔๐๐ = ๓ เศษ ๔๙๙๑

๕๔๐๐ – ๔๙๙๑ = ๔๐๙ เป็นปฐมภุช

(๑๘) ปฐมภุช ๔๐๙ หาร ๑๐๐๐ = ๐ เป็นขันธ์ เศษ ๔๐๙

ฉายาเท่าขันธ์ ขันธ์ศูนย์ = ๘๗

๔๐๙ คูณ ๘๗ หาร ๑๐๐๐ = ๓๕ เศษ ๕๘๓

เพราะฉะนั้น ๓๕ เป็นจันทร์ภุชผล

๑๒๐๗๓ + ๓๕ = ๑๒๑๐๘ เป็นสมผุสจันทร์ปฐม

(๑๙) มัธยมจันทร์ทุติย มัธยมอุจจ์ทุติย

๑๒๘๖๓ – ๑๒๔๘๙ หาร ๕๔๐๐ = ๐ เป็นโกลัง เศษ ๓๗๔

๓๗๔ หาร ๑๐๐๐ = ๐ เศษ ๓๗๔ เศษเป็นปฐมภุช

ฉายาเท่าขันธ์ ขันธ์ศูนย์ = ๘๗

๓๗๔ คูณ ๘๗ หาร ๑๐๐๐ = ๓๒ เศษ ๕๓๘

เพราะฉะนั้น ๓๒ เป็นจันทร์ภุชผล

มัธยมจันทร์ทุติย ๑๒๘๖๓ – ๓๒ = ๑๒๘๓๑ เป็นสมผุสจันทร์ทุติย

(๒๐) ตั้ง ๒๑๖๐๐ – ๙๖๐๐ มัธยมราหูปฐม = ๑๒๐๐๐ สมผุสราหูปฐม

(๒๑) ตั้ง ๒๑๖๐๐ – ๙๖๐๓ มัธยมราหูทุติย = ๑๑๙๙๗ สมผุสราหูทุติย

ตั้งแต่ข้อ ๒๒ ไป เป็นการทำสุริยคราสโดยเฉพาะ

(๒๒) มัธยมอาทิตย์ทุติย ๑๒๔๘๔ – ๑๒๔๒๕ มัธยมอาทิตย์ปฐม = ๕๙ เป็นรวิภุกดิ

(๒๓) สมผุสอาทิตย์ทุติย ๑๒๓๘๗ – ๑๒๓๒๖ สมผุสอาทิตย์ปฐม = ๖๑ เป็นรวิภุกดภุกดิ

(๒๔) มัธยมจันทร์ทุติย ๑๒๘๖๓ – ๑๒๐๗๓ มัธยมจันทร์ปฐม = ๗๙๐ เป็นจันทร์ภุกดิ

(๒๕) สมผุสจันทร์ทุติย ๑๒๘๓๑ – ๑๒๑๐๘ สมผุสจันทร์ปฐม = ๗๒๓ เป็นจันทร์ภุกดภุกดิ

(๒๖) จันทร์ภุกดภุกดิ ๗๒๓ – ๖๑ รวิภุกดภุกดิ = ๖๖๓ เป็นภูจันทร์

(๒๗) สมผุสจันทร์ปฐม ๑๒๑๐๘ + ๒๑๖๐๐ – ๑๒๓๒๖ ส. อาทิตย์ปฐม = ๒๑๓๘๒

๒๑๓๘๒ หาร ๓๒๐ = ๒๙ ดิถี เศษ ๕๐๒

๗๒๐ – ๕๐๒ = ๒๑๘ เป็นเคราะห์หันตกุลา

(๒๘) สมผุสอาทิตย์ปฐม สมผุสจันทร์ปฐม

๑๒๓๒๖ – ๑๒๑๐๘ = ๒๑๘ ทิศเอษฐ

๒๑๘ หาร ๗๒๐ = ๐ เศษ ๒๑๘ เศษเป็นเคราะห์หันตกุลา

(๒๙) เคราะห์หันตกุลา ๒๑๘ คุณ ๖๐ หาร ๖๖๒ ภูจันทร์ = ๑๙ เศษ ๕๐๒

๕๐๒ คูณ ๖๐ หาร ๖๖๒ = ๔๕ เศษ ๓๓๐

เพราะฉะนั้น  ๑๙ มหานาฑี ๔๕ มหาวินาฑี เป็นอมาวสีสมผุสดี

(๓๐) อมาวสี รวิภุกดภุกดิ

๑๙ คูณ ๖๑ = ๑๑๕๙  ๔๕ = ๑๒๐๔

๔๕ คูณ ๖๑ = ๒๗๔๕ หาร ๖๐ = ๔๕ เศษ ๔๕

๑๒๐๔ หาร ๖๐ = ๒๐ เศษ ๔

เพราะฉะนั้น ๒๐ เป็นสมรวิกุลา

(๓๑) อมาวสี จันทร์ภุกดภุกดิ

๑๙ คูณ ๗๒๓ = ๑๓๗๓๗ + ๕๔๒ = ๑๔๒๗๙

๔๕ คูณ ๗๒๓ = ๓๒๕๓๕ หาร ๖๐ = ๕๔๒ เศษ ๓๕

๑๔๒๗๙ หาร ๖๐ = ๒๓๗ เศษ ๕๙ (อัฒา)

เพราะฉะนั้น ๒๓๘ เป็นสมจันทร์กุลา

(๓๒) อมาวสี

๑๙ คูณ ๓ = ๕๗ + ๒ = ๕๙ หาร ๖๐ = ๐ เศษ ๕๙ (อัฒา)

๔๕ คูณ ๓ = ๑๓๕ หาร ๖๐ = ๒ เศษ ๑๕

เพราะฉะนั้น ๑ เป็นสมราหูกุลา

(๓๓) สมผุสอาทิตย์ปฐม ๑๒๓๒๖ + ๒๐ สมรวิกุลา = ๑๒๓๔๖ เป็นตักกลารวิ

(๓๔) สมผุสจันทร์ปฐม ๑๒๑๐๘ + ๒๓๘ สมจันทร์กุลา = ๑๒๓๔๖ ตักกลาจันทร์

(๓๕) สมผุสราหูปฐม ๑๒๐๐๐ – ๑ สมราหูกุลา = ๑๑๙๙๙ ตักกลาราหู

(๓๖) ตักกลารวิ ๑๒๓๔๖ หาร ๑๘๐๐ = ๖ เศษ ๑๕๔๖ เศษ เป็นปฐมภาคกุลา

(๓๗) อาทิตย์อยู่ดุล ๓๑๒ – ๒๔๔ สมาสัปต์ = ๖๘ เป็นเกณฑ์ลบ

ปฐมภาคกุลา ๑๕๔๖ คูณ ๖๘ หาร ๑๘๐๐ = ๕๘ มหาวินาฑี เศษ ๗๒๘

๓๑๒ + ๓๒๖ + ๓๓๔ + ๓๑๒ + ๒๗๒ + ๒๔๔ = ๑๘๐๐ มิสสกะ

๑๘๐๐ – ๕๘ = ๑๗๔๒ หาร ๖๐ = ๒๙ เศษ ๒

(๓๘) ทินประมาณ

๒๙ หาร ๒ = ๑๔ เศษ ๑ คูณ ๖๐ = ๖๐

๒ + ๖๐ = ๖๒ หาร ๑ = ๓๑

เพราะฉะนั้น ๑๔ มหานาฑี ๓๑ มหาวินาฑี เป็นทินาฒ

(๓๙) อมาวสี ทินาฒ

๑๙ – ๑๔ = ๕   }

๔๕ – ๓๑ = ๑๔ } ชื่อ อัปรัตนมหานาฑี เป็นเอษฐ

ฉายาเท่าขันธ์ฐานบน ๓๗ ฐานต่ำ ๔๓

๔๓ – ๓๗ = ๖  / ๑๔ คูณ ๖ = ๘๔

๘๔ หาร ๖๐ = ๑ เศษ ๒๔ / ๓๗ + ๑ = ๓๘ ลัมพกลา

(๔๐) ลัมพกลา ๓๘ คูณ ๖๐ หาร ๘๐๐ = ๒ มหานาฑี เศษ ๖๘๐

๖๘๐ คูณ ๖๐ หาร ๘๐๐ = ๕๑ มหาวินาฑี

เพราะฉะนั้น ๒ มหานาฑี ๕๑ มหาวินาฑี เป็นลัมพมหานาฑี

(๔๑) ตักกลารวิ ๑๒๓๔๖ + ๓๘ ลัมพกลา = ๑๒๓๘๔ เป็นเอษฐ

เพราะฉะนั้น ๑๒๓๘๔ เป็นลัมพภิตตรวิ

(๔๒) อมาวสี ๑๙ + ๒ = ๒๒ / ๔๕ + ๕๑ = ๓๖ เป็นเอษฐ

เพราะฉะนั้น ๒๒ มหานาฑี ๓๖ มหาวินาฑี เป็นลัมพภิตตโปรวิ

(๔๓) ลัมพมหานาฑี ๒ หาร ๒ = ๑ / ๕๑ หาร ๒ = ๒๕ เศษ ๑

เพราะฉะนั้น ๑ มหานาฑี ๒๕ มหาวินาฑี เป็นอัฑฒลัมพมหานาฑี

(๔๔) อมาวสี ๑๙ + ๑ = ๒๑ / ๔๕ + ๒๕ = ๑๐ เป็นเอษฐ

เพราะฉะนั้น ๒๑ มหานาฑี ๑๐ มหาวินาฑี เป็นลัมพวัฑฒโปรวิ

(๔๕) ลัมพภิตตรวิ ตักกลาราหู อุดร

๑๒๓๘๔ – ๑๑๙๙๙ หาร ๕๔๐๐ = ๐ เศษ ๓๘๕ เศษเป็นภุช

ภุช ๓๘๕ คูณ ๖๐ หาร ๘๐๐ = ๒๘ มหานาฑี เศษ ๗๐๐

๗๐๐ คูณ ๖๐ หาร ๘๐๐ = ๕๒ มหาวินาฑี เศษ ๔๐๐

เพราะฉะนั้น ๒๘ มหานาฑี ๕๒ มหาวินาฑี เป็นปฐมราหูวิกขิป

(๔๖) ลัมพภิตตรวิ ๑๒๓๘๔ หาร ๑๘๐๐ = ๖ เศษ ๑๕๘๔ เศษเป็นทุติยภาคกุลา

(๔๗) ตั้ง ๑๘๐๐ – ๑๕๘๔ = ๒๑๖ เป็นมหาวินาฑีอาทิตย์โคจรอยู่

(๔๘) อาทิตย์อยู่อันโตฌานราศี ๓๑๒ คูณ ๒๑๖ หาร ๑๘๐๐ = ๓๗ เศษ ๗๙๒

เพราะฉะนั้น ๓๗ เป็นมหาวินาฑี อนาคตอาทิตย์โคจรอยู่

(๔๙) ลัมพวัฑฒโปรวิ ๒๑ คูณ ๖๐ = ๑๒๖๐

๑๐ + ๑๒๖๐ = ๑๒๗๐ – ๓๗ = ๑๒๓๓

๑๒๓๓ – ๓๒๖ = ๙๐๗ – ๓๓๔ = ๕๗๓ – ๓๑๒ = ๒๖๑

กาไว้ที่ราศีกุมภ์ อนโตฌานราศี ๒๗๒

๒๖๐ คูณ ๓๐ = ๗๘๓๐ หาร ๒๗๒ = ๒๘ องศา เศษ ๒๑๔

๒๑๔ คูณ ๖๐ หาร ๒๗๒ = ๔๗ ลิบดา เศษ ๕๖

นับตั้งแต่ราศีเมษถึงราศีมังกรได้ ๑๐ ราศี

เพราะฉะนั้น ๑๐ ราศี ๒๘ องศา ๔๗ ลิบดา เป็นสุทธิลัคน์ภุกดะ

(๕๐) ๑๐ – ๓ = ๗ อุตรราศี เป็นทักษิณ

๗ หาร ๓ = ๒ โกลัง เศษ ๑ เศษ เป็นภุช เศษ ๑ เอาเป็น ๙

๙ + ๖ (ยกมาบวก) = ๑๕ มหานาฑี

๒๘ คูณ ๑๔ = ๓๙๒ + ๑๑ = ๔๐๓ หาร ๖๐ = ๖ เศษ ๔๓

๔๗ คูณ ๑๔ = ๖๕๘ หาร ๖๐ = ๑๐ เศษ ๕๘ (อัฒา) เป็น ๑๑

เพราะฉะนั้น ๑๕ มหานาฑี ๔๓ มหาวินาฑี เป็นทุติยราหูวิกเขป (ทักษิณ)

(๕๑) ปฐมราหูวิกขิป (อุดร) ทุติยราหูวิกขิป (ทักษิณ) ตติยราหูวิกขิป (อุดร)

๒๘     –        ๑๕     =       ๑๓

๕๒     –        ๔๓     =       ๙

(๕๒) โกลัง ๓๑ คูณ ๖๐ รวิภุกดภุกดิ หาร ๕๙ = ๓๒ มหานาฑี เศษ ๓

๓ คูณ ๖๐ หาร ๕๙ +๙+ ๓ มหานาฑี เศษ ๓

เพราะฉะนั้น ๓๒ มหานาฑี ๓ มหาวินาฑี เป็นรวิพิมพ์

(๕๔) ๓๑ คูณ ๗๒๓ จันทร์ภุกดภุกดิ หาร ๗๙๐ = ๒๘ มหานาฑี เศษ ๒๙๓

๒๙๓ คูณ ๖๐ หาร ๗๙๐ จันทร์ภุกดิ = ๒๒ มหาวินาฑี เศษ ๒๐๐

เพราะฉะนั้น ๒๘ มหานาฑี ๒๒ มหาวินาฑี เป็นจันทร์พิมพ์

(๕๕) ๒๘ คูณ ๕ = ๑๔๐ + ๑ = ๑๔๑ หาร ๒ = ๗๐ มหานาฑี เศษ ๑

๒๒ คูณ ๕ = ๑๑๐ หาร ๖๐ = ๑ เศษ ๕๐

เศษ ๑ คูณ ๖๐ + ๕๐ เศษ ๑๑๐ หาร ๒ = ๕๕ มหาวินาฑี

เพราะฉะนั้น ๗๐ มหานาฑี ๕๕ มหาวินาฑี เป็นราหูพิมพ์

(๕๖) รวิพิมพ์            จันทร์พิมพ์

๓๒       +       ๒๘               =       ๖๐ หาร ๒      = ๓๐

๓       +       ๒๒               =       ๒๕ หาร ๒     = ๑๒ เศษ ๑

เพราะฉะนั้น ๓๐ มหานาฑี ๑๒ มหาวินาฑี เป็นมานยกาษฐ์

(๕๗) มานยกาษฐ์     สุทธิวิกเขป              คราสสางคุลี

๓๐          – ๐              =          ๒๙

๑๒          – ๓๕            =          ๔๗

(๕๘) รวิพิมพ์           คราสสางคุลี             กินไม่สิ้น

๓๒             – ๒๙            =            ๒

๓              – ๔๗            =           ๑๖

(๕๙) เกณฑ์            สุทธิวิกเขป              กำลังจันทร์

๓๒             – ๐              =           ๓๑

๐             – ๓๕            =           ๒๕

๓๑ – ๑ = ๓๐ – ๒ = ๒๘ – ๓ = ๒๕ – ๖ = ๑๙ – ๘ = ๑๑ – ๐

ลบได้เศษ ๐ เอาเศษฐานวินาฑีมาตั้ง

๒๕ หาร ๑๑ = ๒ มหาวินาฑี เศษ ๓

นับฉายาที่ลบได้ ๖ ห้อง เป็น ๖ มหานาฑี

เพราะฉะนั้น ๖ มหานาฑี ๒ มหาวินาฑี เป็นสถิตย์คราส

(๖๐) สถิตย์ยาตร์

๖ หาร ๒ = ๓

๒ หาร ๒ = ๑

เพราะฉะนั้น ๓ มหานาฑี ๑ มหาวินาฑี เป็นสถิตย์ยาตร์คราส

ตามที่คำนวณมาแล้วในข้อ ๓๙ เป็นเอษฐ

(๖๑) ไม่มีตัวอย่างเพราะเป็นคตแต่ที่คำนวณนี้เป็นเอษฐ

(๖๒) ลัมพวัฑฒโปรวะ          สถิตย์ยาตร์              มัธยมประเวสการ

๒๐            –             ๓            =                 ๑๘

๑๐            –             ๑            =                    ๙

มัธยมโมกษกาล

๒๑            +            ๓            =                 ๒๔

๑๐            +            ๑            =                 ๑๑

(๖๓) มัธยมประเวสกาล        ทินาฒ                    สุทธประเวสกาล

๑๘            –           ๑๔            =                    ๓

๙                    –           ๓๑            =                 ๓๘

(๖๔) มัธยมโมกษกาล         ทินาฒ                    สุทธโมกษกาล

๒๔           –           ๑๔            =                    ๙

๑๑            –           ๓๑            =                 ๔๐

(๖๕) ถ้าจะทำกึ่งคราส ให้ตั้งเวลาปล่อย เอาเวลาแรกจับลบ แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์นั้น ได้                 ผลเท่าใด เอาไปบวกกับเวลาแรกจับ เป็นเวลากึ่งคราส เรียก อัฒคราส (แบบเก่าไม่มีเขียนเติมไว้)


------------------------


จบสุริยุปราคาตามตำราเดิมแต่เพียงนี้