Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

นายชวน หลีกภัย

วันพฤหัสที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เวลา ๐๕:๑๘ น.ตรงกับจันทรคติวันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ
เดือน ๘ ปีขาล ลัคนา สถิตราศีมิถุน เสวยฤกษ์ที่ ๗ ปุนรวสุนักษัตร เพชฌฆาฏฤกษ์
ตรียางค์พิษสุนัข ดาวพฤหัสเป็นดาวเจ้าฤกษ์ จันทร์ สถิตราศีกรกฎ เสวยฤกษ์ที่ ๙
อาศเลษานักษัตร สมโณฤกษ์ ดาวพุธเป็นดาวเจ้าฤกษ์

-------------------------------------------------
ตำแหน่งมาตรฐานดาว
อาทิตย์สถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ เป็นตนุเศษ ได้ตำแหน่ง มหาจักร
จันทร์สถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ ได้ตำแหน่ง เกษตร
อังคารสถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ ได้ตำแหน่ง นิจ
พุธสถิตย์ราศีสิงห์ ภพสหัชชะ ได้ตำแหน่ง อุจจาวิลาส มหาจักร ราชาโชค
ราหูสถิตย์ราศีพิจิก ภพอริ ได้ตำแหน่ง อุจจ์

*คำนวนจาก โปรแกรม โฮ๋ราสาด รุ่น Profesional

สูติกาล
วันพฤหัสที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ ตรงกับจันทรคติวันพุธ แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ปีขาล เวลา 05:18 น.
ตรัง
------------------------------------------------------------
สมผุสดาว
คำนวณตามแบบดาราศาสตร์ ใช้ข้อมูลของ NASA ตัดค่าอายนางศะ 22 องศา 59 ลิปดา 57 ฟิลิปดา
ลัคนาคำนวณใช้เวลานักษัตร
ลัคนา สถิตย์ราศีมิถุน 27 องศา 24 ลิปดา 53 ฟิลิปดา เสวยปุนรวสุนักษัตร เพชฌฆาฏฤกษ์ วรโคตม
นวางค์ ตรียางค์สุนัข
ดาวอาทิตย์ สถิตย์ราศีกรกฎ 11 องศา 11 ลิปดา 31 ฟิลิปดา เสวยปุษยะนักษัตร ราชาฤกษ์
ดาวจันทร์ สถิตย์ราศีกรกฎ 22 องศา 4 ลิปดา 32 ฟิลิปดา เสวยอาศเลษานักษัตร สมโณฤกษ์
ตรียางค์สุนัข
ดาวอังคาร สถิตย์ราศีกรกฎ 10 องศา 12 ลิปดา 58 ฟิลิปดา เสวยปุษยะนักษัตร ราชาฤกษ์
ดาวพุธ สถิตย์ราศีสิงห์ 8 องศา 6 ลิปดา 29 ฟิลิปดา เสวยมาฆะนักษัตร ทลิทโทฤกษ์
ดาวพฤหัส สถิตย์ราศีกุมภ์ 7 องศา 13 ลิปดา 53 ฟิลิปดา เสวยศตภิสัชนักษัตร เทวีฤกษ์
ดาวศุกร์ สถิตย์ราศีสิงห์ 22 องศา 41 ลิปดา 47 ฟิลิปดา เสวยปุรพผลคุณีนักษัตร มหัทธโณฤกษ์
ดาวเสาร์ สถิตย์ราศีมีน 25 องศา 2 ลิปดา 13 ฟิลิปดา เสวยเรวตีนักษัตร สมโณฤกษ์
ดาวราหู สถิตย์ราศีพิจิก 0 องศา 12 ลิปดา 0 ฟิลิปดา เสวยวิสาขะนักษัตร เพชฌฆาฏฤกษ์
ดาวเกตุ สถิตย์ราศีเมษ 13 องศา 9 ลิปดา 0 ฟิลิปดา เสวยอัศวินีนักษัตร ทลิทโทฤกษ์
ดาวมฤตยู สถิตย์ราศีเมษ 24 องศา 30 ลิปดา 32 ฟิลิปดา เสวยภรณีนักษัตร มหัทธโณฤกษ์
ดาวเนปจูน สถิตย์ราศีสิงห์ 26 องศา 13 ลิปดา 56 ฟิลิปดา เสวยปุรพผลคุณีนักษัตร มหัทธโณฤกษ์
ดาวพลูโต สถิตย์ราศีกรกฎ 6 องศา 48 ลิปดา 31 ฟิลิปดา เสวยปุษยะนักษัตร ราชาฤกษ์
ดาวเกตุสากล สถิตย์ราศีพฤษภ 0 องศา 12 ลิปดา 0 ฟิลิปดา เสวยกฤตติกานักษัตร โจโรฤกษ์
ดาวทศมลัคน์ สถิตย์ราศีมีน 27 องศา 36 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เสวยเรวตีนักษัตร สมโณฤกษ์
วรโคตมนวางค์  อาทิตย์เป็นตนุเศษ

 

 

 

 

การวิเคราะห์ดวงชาตาของอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยท่านนี้  ระบบษัฑพละ ได้แสดงให้เห็นกำลังของดาวพุธได้อย่างชัดเจน ทั้งในรูปะพละและได้อิษฏะผลสูงสุดในดวงชาตาคือ 40.06 ซึ่งอิทธิพลของดาวพุธนักโหราศาสตร์ทั่วไปต่างก็รู้ว่าเป็นดาวแห่งสติปัญญาและการพูดการสื่อสาร การเรียนรู้ (วิทยะการกะ)  ในดวงชาตานี้ดาวพุธถือว่าได้กำลังในการให้ผลดีสูงสุด ทำให้นายชวนเป็นคนที่มีความศักยภาพทางความคิด เฉลียวฉลาดและมีวาทะศิลป์อย่างที่ไม่มีใครเทียบได้

ดาวอาทิตย์ที่มีกำลังถึง 6.77 รูปะ หรือ 135.42 เปอร์เซ็นต์ทำให้นายชวนกลายเป็นผู้นำหัวหน้าพรรคการเมือง และเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยได้อย่างไม่ต้องสงสัย    เพราะอาทิตย์เป็นเกษตรอยู่ในเรือนที่ 2 หมายถึงตำแหน่ง อาชีพ หน้าที่การงาน และถึงแม้ว่าอาทิตย์จะได้ตำแหน่งนิจในนวางศ์จักร แต่ก็ไม่เสียกำลังเพราะได้กำลังอื่นๆมาชดเชยจากหลักเกณฑ์ในระบบษัฑพละ แต่ถ้าหากเป็นหลักวิชาพื้นฐานทั่วไปจะตีความว่าดวงนี้จะไม่มีฐานะ หรือ ยศศักดิ์อันใดเพราะอาทิตย์ได้ตำแหน่งนิจในนวางศ์จักร

จุดที่น่าสังเกตุอีกก็คือในเรือนที่ 2 ซึ่งเป็นเรือนวิทยสถาน (เรือนแห่งการศึกษา,ความรู้)มีดาวอาทิตย์สถิตย์ร่วมกับดาวจันทร์ซึ่งเป็นวิทยสถานธิปติ (เจ้าเรือนที่ 2) เป็นวากยะธิปติ(เจ้าการแห่งถ้อยคำ)และเป็นวากยะสะฏะถานธิปติ(เจ้าการคำพูด) ซึ่งดาวจันทร์ก็มีกำลังสูงถึง 129.32 เปอร์เซ็นต์แต่กลับให้ผลดีน้อยกว่าผลร้าย ส่งผลให้เจ้าชาตามีจุดเสียก็คือคำพูดที่อ่อนหวานและนุ่มนวลเกินไปเพราะอิทธิพลของดาวจันทร์  อีกทั้งในบางครั้งก็จะต้องเสียหายเพราะคำพูดของตนเอง

ส่วนดาวอังคารเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีกำลังสูงสุดคือ 151.08 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลร้าย (กัษฏะผล)มากถึง 56.02 ษัฏิอัมศะส่งผลร่วมกันระหว่างดาวจันทร์(อ่อนหวาน)และดาวอังคาร (ร้าย-รุนแรง) ดาวอาทิตย์(หลักการ- ทิฐิมานะ) ซึ่งทำให้เจ้าชาตามีวาทะศิลป์ในแบบที่เรียกว่า “มีดโกนอาบน้ำผึ้ง” นอกจากนี้ ดาวอังคารดาวแห่งสงครามหรือกำลังทหารอยู่ในเรือนที่ 2(อาชีพ)ได้แสดงอิทธิพลให้เจ้าชาตาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมานายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้  อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากองศาดาว ปรากฏว่าดาวอังคารเป็นอัสตะ(ดับ)เพราะรัศมีอาทิตย์ย่อมส่งผลให้เจ้าชาตามีอำนาจในทางทหารอย่างไม่เต็มที่


 

การวิเคราะห์ดวงชาตาจากโยค

“โยค”เป็นกลวิธีวินิจฉัยดวงชาตาในระบบพิเศษของโหราศาสตร์ฮินดู-ภารตะซึ่งมีความสำคัญมาก  โดยมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่่าดาวเคราะห์ที่สถิตย์อยู่ในดวงชาตาแต่ละดวงนั้น มีโยคเกณฑ์และทำมุมสัมพันธ์กันอย่างไร และกำหนดเป็นรูปโยคต่างๆขึ้นมา ซึ่งก็มีทั้งโยคดีและโยคร้าย ซึ่งก็อาจจะเทียบได้กับดวงมาตรฐานของโหราศาสตร์ไทย เช่น ดวงมหาจักร เทวีโชค องค์เกณฑ์ ฯลฯ และการพิจารณาดาวเคราะห์ต่างๆที่ประกอบเป็นรูปโยคนั้น จะต้องคำนึงถึงกำลังของดาวเคราะห์นั้นๆว่าจะสามารถส่งผลได้จริงทั้งดีและร้าย ซึ่งกำลังของดาวเคราะห์ในระบบษัฑพละจะเป็นตัวตัดสิน

 

 

โยคดี-ร้ายในดวงชาตา ของนายชวน หลีกภัย (คำนวนเฉพาะโยคที่มีกำลังในดวงชาตา)



 

จากเครื่องมือทางโหราศาสตร์สำหรับการวินิจฉัยดวงชาตานี้ จะเห็นได้ว่าเป็นดวงที่ีมีสัมพันธภาพพิเศษที่หาได้ยาก ดาวต่างๆ ที่ประกอบเป็นรูปโยค ล้วนแต่มีกำลังในการให้ผลดี และปรากฏว่าไม่มีโยคร้ายใดใดที่จะบั่นทอนกำลังของโยคดีในดวงชาตานี้  ทำให้เจ้าชาตาประสบความสำเร็จในอาชีพหน้าที่การงานอย่างสูงสุด มีอำนาจและได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชน อย่างไรก็ดีผลดีร้ายของ ดาวเคราะห์ต่างๆนั้นก็ไม่ได้ให้ผลตลอดเวลา แต่จะปรากฏผลดี-ร้ายให้เห็นได้ชัดเจนจากการเสวยอายุของดาวต่างๆ ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตของเจ้าชาตา และโหราศาสตร์ฮินดูจึงมีระบบการคำนวนดาวเสวยอายุที่ได้มีรับรองผลและใช้กันอย่างแพร่หลาย เรียกว่า“ระบบวิมโษตรีทักษา” หรือดาวเสวยอายุ 120 ปี ซึ่งจะได้ อธิบายต่อไป

 

ทักษาระบบ 120 ปี วิมโษตรีทศา

จากเครื่องมือทางโหราศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีเครื่องมือที่ทรงพลังอีกอันหนึ่งในระบบโหราศาสตร์ภารตะ สำหรับตัดสินชี้วัดว่า ดาวเคราะห์ที่ให้ผลดี-ร้ายในดวงชาตา จะให้ผลเมื่อใด หรือผลดี-ร้ายจะเริ่มต้นและสิ้นสุดในวันเดือนหรือปีไหน ระบบดังกล่าวนี้เรียกว่า ทักษาเสวยอายุ ซึ่งในโหราศาสตร์มีระบบทักษาให้ใช้กันหลายสิบระบบ โดยแบ่งประเภท ว่าเป็นทศาคำนวนจากดาวเคราะห์(ครหะทศา)หรือคำนวนจากดาวนักษัตร (นักษัตรทศา) หรือคำนวนจากราศี (ราศีทศา) ซึ่งประเภทต่างๆก็มีวิธีการใช้ตามความต้องการในมิติที่ต่างกัน ในที่นี้เราจะใช้ ระบบของนักษัตรทศา หรือ ดาวฤกษ์ ที่เรียกว่า วิมโษตรีทศา มาใช้ในการวินิจฉัยดวงชาตา

“กาลิทาส”*หนึ่งในมหาคุรุของวิชาโหราศาสตร์ท่านหนึ่ง  ได้บรรยายในคัมภีร์อุตรกาละมฤตที่ท่านรจนาขึ้นเกี่ยวกับทักษาว่า“ผลที่ได้รับ เป็นผลของความดี-ร้ายที่ทำเอาไว้แต่อดีต(กรรมดี-ชั่ว) ซึ่งจะรู้ได้จากมหาทศา หรือ อนุทศาของดาวเคราะห์...................เจ้าชาตาจะประสบความสุขหรือทุกข์จะรู้ได้จากผลของทศาย่อยตามลับดับของทศา และถ้าหากเป็นผลร้ายก็จะเอาชนะผลร้ายได้บางส่วน โดยประกอบพิธีศานติ”

 

 

จากทฤษฎีอายุขัยของมนุษย์ของปรัชญาฮินดูจะสัมพันธ์กับยุคต่างๆ ในคัมภีร์พระเวทซึ่งในขณะนี้อยู่ในกาลียุคซึ่งเป็นยุคเสื่อม และมนุษย์จะมีอายุขัยไม่เกิน 120 ปี จากประสบการณ์ของนักโหราศาสตร์ หรือนักศึกษาวิชานี้บางส่วนที่ยังไม่เข้าใจการเสวยอายุของดาวเคราะห์ก็มักจะตกใจกลัวในขณะที่ดาวร้ายต่างๆจะโคจรมาทับลัคนา หรือทับดาวต่างๆในดวงชาตากำเนิดของตนหรือพวกพ้องเพื่อนฝูง หรือพบว่าจะมีดาวดี ดาวศุภเคราะห์จะนำโชคใหญ่มาให้ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีปรากฏการณ์ใดใดเกิดขึ้น  หรือมีแต่น้อยมากจนยากที่จะสัมผัส  จนเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาโหราศาสตร์บางคนเข้าใจว่า ภาคพยากรณ์หรือทฤษฎีจากตำรามีข้อผิดพลาด หรือไม่ก็โทษว่าภาคการคำนวนอาจจะมีความผิดพลาดตกหล่น จนทำให้ผลของการพยากรณ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง

แต่ในความเป็นจริง หากเราได้นำทฤษฎีของทักษาระบบเข้ามาจับ และตรวจดูปรากฏกาณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆในดวงชาตาก็จะเห็นความจริงว่า ทศาระบบสามารถตรวจสอบอิทธิพลของดาวเคราะห์ที่แสดงเหตุการณ์ย้อนหลังหรืออดีตไปจนถึงอนาคตได้อย่างชัดเจนโดยวิธีการคำนวนทางคณิตศาสตร์ และเมื่อดาวเคราะห์ใดยังไม่เสวยอายุ หรือยังไม่ได้กำลังในอายุ       ก็จะไม่แสดงผลดี-ร้ายอันใดได้เลย ไม่ว่าดาวจรจะทำมุมโยคเกณฑ์กับดวงชาตาเดิมอย่างไรก็ตาม     ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องแม่นยำเราจะต้องตรวจสอบผลการเสวยอายุทั้งในระดับมหาทศา อันตรทศา(หรือ อนุทศา) และวิทศา (หรือ สูกะษะมะทศา) อย่างละเอียด

การคำนวนดาวเสวยอายุและแทรก (มหาทศา-อันตรทศา)

จากตารางข้างต้น สมมุติว่าเราอยู่ในช่งของดาวจันทร์เป็นดาวมหาทศาเสวยอายุ ซึ่งมีระยะเวลายาวถึง 10 ปีซึ่งตลอด 10 นี้ ก็ไม่ใช่ว่าชีวิตจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวจันทร์ไปทั้งหมด เพราะยังจะต้องมีดาวแทรกเข้ามาอีกเป็นช่วงๆ ในระดับย่อยลงไปอีก ซึ่งมีอยู่  3 ขั้น คือ 1.มหาทศา 2.อันตรทศา(หรือ อนุทศา) และ 3.วิทศา (หรือ สูกะษะมะทศา)  โดยนับจากมหาทศาซึ่งเป็นช่วงกว้างที่
สุดถัดจากดาวมหาทศา ก็จะเป็นดาวอันตรทศาแทรกดาวมหาทศาอีกที และย่อยลงไปอีกก็คือมีดาววิทศาแทรกดาวอันตรทศาอีก  ซึ่งระยะเวลาการแทรกอายุจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับดาวเจ้ามหาทศา และเรียงตามลำดับที่กำหนด (ตามตาราง)

 

ตัวอย่างการแทรกเสวย 3 ชั้น ดาวจันทร์เสวยอายุ/ดาวจันทร์แทรก/ดาวจันทร์วิทศา
ระดับที่    1.-มหาทศา(ปี)    -ดาวจันทร์เสวยอายุ 10 ปี
ระดับที่    2.-อนุทศา(เดือน)    -ดาวจันทร์เสวย/ดาวจันทร์แทรก มีระยะเวลา 10 * 10/120 ปี = 0.83 ปี หรือ 10 เดือน
ระดับที่    3.-วิทศา(วัน)    -ดาวจันทร์เสวย/ดาวจันทร์แทรก/ดาวจันทร์วิทศามีระยะเวลา 10 * 10/1440 เดือน = 25 วัน

ตัวอย่างการแทรกเสวย 2 ชั้น ดาวจันทร์เสวยอายุ/ดาวอังคารแทรก
ระดับที่    1.-มหาทศา(ปี)    -ดาวจันทร์เสวยอายุ 10 ปี
ระดับที่    2.-อนุทศา(เดือน)    -ดาวจันทร์เสวย/ดาวอังคารแทรก มีระยะเวลา 10 * 7/120 ปี = 0.58 ปี หรือ 7 เดือน

การเริ่มต้นนับดาวเสวยอายุ


โดยคำนวนจากดาวจันทร์ในดวงชาตากำเนิดว่าสถิตย์ในฤกษ์หรือนักษัตรอะไร มีองศาลิปดาเท่าใด แล้วดาวอะไรเป็นดาวเจ้าฤกษ์ และดาวเจ้าฤกษ์นั้นมีอำนาจในการเสวยอายุนานเท่า แล้วนำองศาลิปดาของดาวจันทร์ที่เสวยนักษัตรนั้นมาเฉลี่ยอายุที่เหลือ ซึ่งเรียกว่า “สมดุลย์จันทรทศา” แล้วนำมาคำนวนต่อเนื่องจากลำดับดาวเคราะห์เสวยอายุเป็นเจ้ามหาทศาตามตารางจนครบ 120 ปีและ
ในระหว่างดาวเจ้ามหาทศาเสวยอายุอยู่นั้นก็ให้นำมามาเฉลี่ยหาดาวเจ้าอนุทศา กับ วิทศา อีกชั้นหนึ่ง โดยวิธีการคำนวนโดยละเอียดจะอธิบายแยกต่างหาก ในหนังสือชื่อ “วิมโษตรีทศา”

 

จุดเริ่มต้นชีวิตการเมืองของนายชวน หลีกภัย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 นับเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย เป็นครั้งที่ 11 มีขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 โดยนายชวนได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512 นี่เป็นจุดแปลงเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิตและเป็นจุดเริ่มของชีวิตนักการเมืองตลอดมา จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจทางการเมือง
สำหรับการพิจารณาดาวเสวยอายุจะต้องนำเรื่องอวัสถาของดาวเคราะห์และดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะชาตามาประกอบด้วย แต่เนื่องจากดวงชาตานี้เป็นคนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และจะทำให้การอธิบายความยืดยาวต่อไปอีก จึงขออธิบายเฉพาะเรื่องทศาและมุมสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ดังนี้

1.จากหัวข้อที่ผ่านมาเรารู้ว่าดาวพุธเป็นดาวที่ให้คุณแก่ดวงชาตาสูงสุด เจ้าชาตาได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในขณะที่ดาวพุธเสวยอายุเป็นเจ้ามหาทศา ซึ่งดาวพุธเป็นลัคนาธิปติ (เจ้าเรือนลัคน์) ส่วนดาวเสาร์แทรกและวิทศาโดยดาวพฤหัส ซึ่งสองดาวเคราะห์นี้ประกอบร่วมกันเป็นรูป “ราชาโยค” โดยการสลับเรือนเกษตร(ปริวรรตนเกษตร)กับเรือนที่ 9 หมายถึงชื่อเสียงและเรือนที่ 10 หมายถึงการงานอาชีพที่สดใสรุ่งโรจน์และมีชื่อเสียงของเจ้าชาตา

2.ในดวงจร ขณะที่เจ้าชาตาได้รับการเลือกตั้ง ดาว ๑ จรเล็งกับ ดาว ๑ ,๒,๓ เดิม , ดาว ๒,๓ จร ทำมุมตรีโกณกับ ดาว ๒,๓ เดิมดาว ๗,๘ จรกุมกันในเรือนกรรมะ กุมและตรีโกณกับดาว ๗,๘ เดิมและในดวงจรสังเกตุว่ามีดาว 3 ดวงสลับเรือนกัน(ปริวรรตนเกษตร)คือ ดาว ๔ อยู่ในเรือนดาว ๗ และดาว ๗ ไปอยู่ในเรือนดาว ๕ และดาว ๕ ไปอยู่ในเรือนดาว ๔ อันหมายถึง ความมีกำลังของดาว
ทั้ง ๓ ซึ่งเป็นดาวเสวยและแทรกอายุในขณะนั้น สรุปว่าดาวจรต่างก็ทำมุมสัมพันธ์ถึงดาวเดิมในทุกๆจุด และดาวเสวยอายุ/แทรกก็ได้แสดงผลสัมพันธ์กันทั้งในดวงจรและดวงเดิม

 

 

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกของนายชวน หลีกภัย

การได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกนี้ โดยได้จากอิทธิพลดาวพุธที่มีกำลังแรงในชาตา อีกทั้งเป็นดาวเจ้าลัคน์ ได้เริ่มแทรกอายุในวันที่ 8 มิถุนายนพ.ศ. 2535 เมื่อได้รับโปรดเกล้าฯให้ได้รับตำแหน่งนายกฯในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2535 ซึ่งในดวงจรดาวพุธโคจรได้ตำแหน่งมหาอุจน์ในราศีกันย์ สถิตย์ร่วมกับดาวเจ้าเรือนกรรมะ (๕) เล็งเรือนกรรมะ(ราศีมีน)เล็งดาว ๗ เดิม ตรีโกณกับดาวที่สถิตย์ในเรือนกรรมะ(ดาว๗ จร) ดาว ๒ ทับดาว ๒ เดิม และโปรดสังเกตุว่าดาวแทรก หรือดาวอนุทศา (๔) สถิตย์ร่วมกับดาวเจ้ามหาทศา (๖) ในดวงเดิม

เมื่อสิ้นสุดอนุทศาพุธ ในวันที่ 7 เมษายน 2538 ดวงการงานของเจ้าชาตาก็เป็นอันหมดพลังการสนับสนุนจากการแทรกอายุของดาวพุธ    และมีดาวเกตุทำหน้าที่แทรกอายุแทน ซึ่งดาวเกตุเป็นดาวสถิตย์ในเรือนวินาสน์ในดวงเดิม ทำให้เจ้าชาตาต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาลจนต้องประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2538     โดยในช่วงนี้เป็นมหาทศาศุกร์ช่วงสุดท้ายมีดาวเกตุ(สากล)แทรกและดาวศุกร์วิทศา ซึ่งช่วงนี้จะมีปรากฏการณ์จันทรุป-ราคาและสุริยุปราคาระหว่างวันที่ 15 และ 29 เมษายน 2538 อันมีผลให้ดาวราหูและดาวเกตุจะทำการแสดงผลดี-ร้ายในช่วงนี้และจะมีอิทธิพลมากเป็นพิเศษ

อีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาดาวเสวยอายุให้ถือราศีที่ดาวเจ้ามหาทศาสถิตย์เป็นราศีลัคน์   ซึ่งในชาตานี้จะตกราศีสิงห์และดาวเกตุสถิตย์อยู่ในเรือนที่ 10 (กรรมะ)ของดาวศุกร์เจ้ามหาทศา ซึ่งส่งผลร้ายในเรื่องหน้าที่การงานของเจ้าชาตาโดยตรง

 

 

 

 

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของนายชวน หลีกภัย

การได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นี้จะสังเกตุเห็นมีดาวที่ส่งผล ราชาโยค (๕+๗) ที่ส่งผลด้านอาชีพการงานของเจ้าชาตาสลับเรือนกันในราศีมังกรและราศีมีนตามลำดับ (ปริวรรตนเกษตร) เหมือนกับการดำรงตำแหน่งสมัยแรก และดาวเสาร์จร(๗)ทับดาวเสาร์เดิมในเรือนกรรมะ ดาวอาทิตย์จร (๑) ทำมุมจตุเกณฑ์กับดาวอาทิตย์เดิม ดาวพฤหัส(๕) จรอยู่ในราศีของดาวเสาร์ทั้งในดวงจรและดวงเดิมถือว่าสัมพันธ์เท่ากับดาวพฤหัส(๕)กุมกัน

สำหรับมหาทศาครั้งนี้ดาวทิตย์เสวยอายุ ซึ่งดาวอาทิตย์ทำมุมจตุเกณฑ์ต่อกันทั้งในดวงเดิมดวงจร ดาวราหูแทรกอาทิตย์และดาวเสาร์วิทศา จะเห็นว่าดาวราหูทำมุมตรีโกณกับเสาร์และตรีโกณดาวอาทิตย์ในดวงเดิม ซึ่งเป็นจุดให้กำลังแก่เรือนที่ 10 (กรรมะ) ดาวพุธเดิม (๔) เป็นจตุเกณฑ์กับพุธเดิมและตรีโกณกับดาวเสาร์ (๗)ในเรือนกรรมะ ซึ่งมีผลให้เจ้าชาตาได้รับตำแหน่งสูงสุดในทางการเมืองอีกครั้ง

ในการพิจารณาเรือนใดก็ตามจะต้องดูการสนับสนุนกำลังจากดาวเคราะห์ ที่สถิตย์ในเรือนตรีโกณของเรือนนั้นซึ่งก็คือเรือนที่2 และเรือนที่ 6 เป็นตำแหน่งค้ำจุนสนับสนุนเรือนที่ 10 และในทางกลับกันเรือนที่ 2 กับเรือนที่ 6  ก็จะได้กำลังจากเรือนที่ตรีโกณกับเรือนตนเองด้วยเช่นกัน

อีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาดาวเสวยอายุให้ถือราศีที่ดาวเจ้ามหาทศาสถิตย์เป็นราศีลัคน์  ซึ่งในชาตานี้จะตกราศีกรกฏและดาวอาทิตย์(๑)สถิตย์อยู่ในราศีกรกฏ ดาวเสาร์(๗) และราหู (๘) ซึ่งเป็นดาวแทรกและวิทศา ทำมุมตรีโกณกับอาทิตย์(๑)เจ้ามหาทศา

การอธิบายโดยวิธีนี้ก็คือลัคนาของเจ้าชาตาเปลี่ยนเป็นราศีกรกฏชั่วคราว มีดาวจันทร์ (๒) เจ้าเรือนลัคน์(ตัวเจ้าชาตา)และดาวอังคาร (๓)เจ้าเรือนที่ 5 ภพปุตตะ (การมีโชค) เรือนที่ 10 ภพกรรมะ(การงาน) กุมลัคนา (หมายถึงตนเองได้โชคใหญ่ด้านการงาน) ซึ่งดาวทั้ง 3 ดวงนี้มีกำลังมากในระบบษัฑพละ (ถึงแม้ว่าดาวอังคารจะเป็นนิจในราศี แต่ได้กำลังจากส่วนอื่นมาทดแทน)และดาวเจ้าเรือนภพกรรมะ(การงาน)คือดาวอังคาร (๓) กับเจ้าเรือนที่ 2 ภพกดุมภะ คือดาวอาทิตย์ (๑)  (การเงิน,อาชีพ,ตำแหน่ง,อำนาจ) ซึ่งเป็นเจ้ามหาทศาล้วนได้การสนับสนุนจากดาวแทรกอายุคือดาวราหู (๘) ดาวเสาร์ (๗) ในฐานะที่ตรีโกณกันในดวงเดิม