หมวด: โหราสาร -บทความทางโหราศาสตร์
จำนวนผู้อ่าน: 14149

ตำแหน่งที่สถิตของดาวพฤหัสบดีในดวงชาตา เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการพิจารณาดวงชาตาของบุคคล  ดาวพฤหัสบดีที่รู้จักกันว่าเป็นดาวแห่งคุรุ หรือ ดาวครู ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ให้คุณสูงสุดในหมู่ดาวเคราะห์ทั้งหลาย  ดาวพฤหัส ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งคุรุ (บูรพาจารย์) ในปรัชญาของฮินดู  พรอันเป็นมงคลแห่งดาวพฤหัสบดี (คุรุ พละ) มีความสำคัญมากสำหรับดวงชาตาบุคคล  และการโคจรไปสถิตย์อยู่ในตำแหน่งที่ดี (โคจารา-โคจร) เป็นที่ทุกคนรอคอยมากที่สุดสำหรับการดำเนินการทำพิธีมงคลต่างๆเช่น แต่งงาน ฯลฯ แม้แต่ขณะที่การหาฤกษ์มงคลต่างๆ (มุหูรตะ)ในดวงฤกษ์นั้นจะต้องวางดาวพฤหัสบดีให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีเพื่อผลที่ดีในฤกษ์ยามนั้นๆ

 

ตาราง เวลาการโคจรของดาวพฤหัสบดีในราศีสิงห์ การย้ายราศีของดาวพฤหัสบดีโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบหนึ่งปี และจะใช้เวลา 12 ปีดาวพฤหัสบดีจะโคจรรอบจักรราศี ในปีนี้การย้ายราศีของดาวพฤหัสบดีจะเกิดขึ้นในวันที่ 14/7/2558 และเมื่อเริ่มโคจรเข้าสู่ราศีราศีสิงห์ จะสถิตย์ในกลุ่มดาวฤกษ์ ลำดับที่ 10 คือ มาฆะนักษัตร ตารางเวลาการโคจรของดาวพฤหัสบดีจะเป็นดังนี้ ...

 

ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ สถิตในบาทแรกของ

มาฆะนักษัตร ที่ 10

วันที่ 14.07.2558
เข้าสู่บาทแรกของปูรวผลคุนีนักษัตรที่ 11 วันที่ 14.9.2558
เข้าสู่บาทแรกของอุตตรผลคุนีนักษัตรที่ 12 วันที่ 28.11.2558
ออกจากราศีสิงห์ ยกเข้าสู่ราศีกันย์ วันที่ 11.08.2559
ดาวพฤหัสดับ (คุรุอัสตะ) วันที่12.08.2558-08.09.2558
ดาวพฤหัสพักร (โคจรถอยหลัง) วันที่ 08.01.2559-10.05.2559

 


ในระหว่างสถิตย์อยู่ในราศีราศีสิงห์นี้ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรผ่าน กลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆคือ มาฆะนักษัตร ปูรพผลคุนีนักษัตร และอุตรผลคุนีนักษัตร ก่อนจะยกเข้าสู่ราศีกันย์  และในช่วงระยะเวลาที่ดาวพฤหัสบดีสถิตย์ในราศีสิงห์นี้  ดาวเสาร์จะยังคงอยู่ในราศีพิจิก  ดาวราหู สถิตย์ราศีกันย์-ดาวเกตุ(สากล)จะสถิตย์ในราศีมีน ไปจนถึงมกราคม 2559


 

ตามทฤษฎีระยะเชิงมุมของดาวพฤหัส ดาวพฤหัสมีโยคเกณฑ์พิเศษ เรียกว่า วิเศษทฤษฎี โดยดาวพฤหัสจะส่งกำลังเต็มที่ไปยังราศีที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 จากตำแหน่งราศีที่ตนเองสถิตย์อยู่ ดังนั้นเมื่อดาวพฤหัสสถิตย์ในราศีสิงห์ ก็ย่อมที่จะส่งกำลัง(เต็มที่)ไปสู่ราศี ราศีธนู(ที่ 5) ราศีกุมภ์ (ที่ 7) และราศีเมษ (ที่ 9) แต่สำหรับในปีนี้ดาวพฤหัสถูกโยคร้ายจากดาวเสาร์ที่สถิตย์อยู่ในราศีพิจิก โดยถูกเกณฑ์ที่ 10 ของดาวเสาร์ (ดาวเสาร์มีวิเศษทฤษฏี มีโยคพิเศษส่งกำลังเต็มที่ในราศีที่ 3 ที่ 7 และที่ 10 )  และนอกจากนี้ดาวพฤหัสจะต้องถูกโยคร้ายจากดาวราหูและดาวเกตุ(สากล) เมื่อดาวราหูโคจรสถิตย์ร่วมกันในราศีสิงห์ (มกรา 2559) โดย พฤหัสในราศีนี้ก็จะกลายเป็น พฤหัสจัณฑาลโยค ซึ่งให้ผลร้ายต่อดวงชาตากำเนิดของเด็กทารกที่เกิดในช่วงนี้

อธิบาย-ครหะจัณฑาล-คือดาวเคราะห์ใดก็ตามที่สถิตย์ร่วมกับราหูในขณะที่เกิดคราส  ดาวเคราะห์ดวงนั้นก็จะกลายเป็นดาวจัณฑาล  เช่น พุธร่วมราหู ก็จะกลายเป็นพุธจัณพาล ดาวพฤหัสร่วมราหูก็จะกลายเป็นพฤหัสจัณฑาล และจะกลายเป็นให้ผลร้ายตามความหมายของดาวเคราะห์นั้น


 

ในการพิจารณาการให้คุณ-โทษของดาวพฤหัส ตามทฤษฎีของโหราศาสตร์ภารตะท่านให้วิธีเอาไว้หลากหลายวิธี มีดังนี้

 

(1)ชนมราศี-จันทร์กำเนิด

โดยวิธีแรกเป็นวิธีคิดคำนวนจากชนมราศี (ราศีของจันทร์ที่สถิตย์ในดวงชาตากำเนิด) สำหรับการสถิตย์ในราศีสิงห์ของดาวพฤหัส มีการคำนวนผลดี-ร้ายจากชนมราศีดังนี้


หมายเหตุ-นอกจากชนมราศี บางตำราท่านให้ใช้ทฤษฎีนี้จากตำแหน่งของลัคนาได้ด้วย

ลำดับ

ลัคนา/ชนมราศี

เรือน

ผล

การพยากรณ์

1.

ราศีเมษ

เรือนที่ 5

ให้ผลดี

เป็นระยะเวลาของการเพิ่มพูนความรู้และเสร้างความเจริญก้าวหน้าของชีวิต การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และสถานะที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมให้ดีขึ้น และช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่สูงขึ้นและโอกาสที่ดีในการศึกษา


2.

ราศีพฤษภ

เรือนที่ 4

ให้ผลร้าย

มีความร้อนรนและความวุ่นวายทางอารมณ์ ,การละทิ้งจากสถานที่เกิด ,การค้นหาทางจิตวิญญาณ ,มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับแม่,การงานตกต่ำ, มีคดีความ


3.

ราศีมิถุน

เรือนที่ 3

ให้ผลร้าย

การเปลี่ยนแปลงของสถานที่อยู่อาศัย,โยกย้ายหรือแยกทาง ,มีอุปสรรคในการเดินทาง ,เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ,มีโรคภัย,การเจ็บป่วยทรุดลง โดยเฉพาะในช่วงดาวพฤหัสบดีโคจรพักร,หน้าที่การงาน ล้มเหลว, ถูกเพื่อนฝูงทอดทิ้ง,


4.

ราศีกรกฏ

เรือนที่ 2

ให้ผลดี

การมีโชคดีในเรื่องต่างๆ  ,มีความพึงพอใจ ,ชีวิตมีความสุข ,มีความมั่งคั่งด้านทรัพย์สิน, การลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดี,ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงาน


5.

ราศีสิงห์

เรือนที่ 1

ให้ผลร้าย

เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง,เกิดความเครียด ,ค่าใช้จ่ายที่สูง,มีปัญหาเรื่องเงินทอง, และภัยจากการถูกคุกคาม


6.

ราศีกันย์

เรือนที่ 12

ให้ผลร้าย

ปัญหาสุขภาพ,ปัญหาทางการเงินและการสูญเสียเงินทอง , ห้ามการลงทุนในช่วงนี้

7.

ราศีตุลย์

เรือนที่ 11

ให้ผลดี

มีรายได้ที่ดีขึ้นและการหมุนเวียนทางการเงินคล่องตัวขึ้น ,มีโชคทางการเงิน,ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง,ได้รับความเคารพนับถือและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง


8.

ราศีพิจิก

เรือนที่ 10

ให้ผลร้าย

อาจจะเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของคนราศีพิจิก นอกจากดาวพฤหัสโคจรจะไม่ให้คุณแล้ว ผู้ที่มีดาวจันทร์สถิตย์ในราศีพิจิก ก็จะต้องได้รับเคราะห์ร้ายจากอิทธิพลของดาวเสาร์ทับดาวจันทร์ในดวงชาตา (เสต สาติ) ซึ่งให้โทษร้ายมีระยะนานถึง 7ปีครึ่ง


9.

ราศีธนู

เรือนที่ 9

ให้ผลดี

ดาวพฤหัสจะให้คุณกับคนราศีนี้มาก เนื่องเกณฑ์ของดาวพฤหัสจรสามารถส่งผลดีต่อราศีธนูได้เต็มที่  ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งของชีวิต การเดินไปต่างประเทศ การได้โชคจากพ่อแม่ บ้านเรือนที่ดิน และบุตรหลาน


10.

ราศีมังกร

เรือนที่ 8

ให้ผลร้าย

ชีวิตมีอุปสรรคมาก,ปัญหาสุขภาพ, ร้อนที่อยู่, การโยกย้าย  ดาวพฤหัสบดีในช่วงโคจรถอยหลังจะทำให้สูญเสียคนใกล้ชิดและพลัดพรากจากคนรัก ,สูญเสียเงินทองและให้ระวังเรื่องคดีความ


11.

ราศีกุมภ์

เรือนที่ 7

ให้ผลดี

มีความสุขในชีวิตคู่,มีเสน่ห์ มีคนรักใคร่ มีคนสนับสนุน , จะได้โชคจากการเดินทาง, ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน, การงานอาชีพเจริญรุ่งเรือง ,ได้หุ้นส่วนใหม่


12.

ราศีมีน

เรือนที่ 6

ให้ผลร้าย

ศัตรู คู่แข่งขันให้โทษ,คนรอบข้างเป็นปฏิปักษ์,ความสัมพันธ์กับคู่ครองและบุตรหลานเป็นไปในทางที่ไม่ดี ,สุขภาพจะย่ำแย่ โรคภัยรุมเร้า โดยเฉพาะในช่วงดาวพฤหัสพักร

 

วิธีการพิจารณาผล

การพิจารณาตามกฏของโหราศาสตร์ภารตะ ท่านว่า ดาวพฤหัสจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อสถิตย์ในราศีที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 และที่ 11 และให้ผลร้ายเมื่อสถิตย์ในราศี ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 12 จากชนมราศี(ราศีจันทร์กำเนิด) ตามที่ดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์ในปีนี้ ก็จะให้ผลดีแก่ผู้ที่มีดาวจันทร์ในดวงชาตาเดิม หรือชนมราศี ในราศีเมษ ราศีกรกฏ ราศีตุลย์ ราศีธนู และราศีกุมภ์ เท่านั้น ส่วนราศีนอกจากนี้ถือว่าไม่เป็นศุภผล  และการโคจรในเรือนที่ 11 ของดาวพฤหัสบดีถือเป็นมงคลให้ผลดีสูงสุด ในขณะเดียวกันการโคจรในเรือนที่ 3 ของดาวพฤหัสบดีนับจาก ชนมราศี หรือ ลัคนา ท่านว่าเป็นอัปมงคลอย่างแรง


ผลดีของดาวพฤหัส
มีโชคลาภทางการเงิน  มีฐานะการเงินคล่องตัว มีโชคเกี่ยวกับต่างประเทศ; โชคดี; ความสุข; มีความสุขกับลูกหลาน; ได้แต่งงาน ; มีสุขภาพดี; ประสบความสำเร็จ ; ความก้าวหน้าในอาชีพ และอื่น ๆ

ผลร้ายของดาวพฤหัส
มีอุปสรรคในชีวิต; สุขภาพไม่ดี; การสูญเสียเงิน; ค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่ารายได้; เดินทางบ่อย พบกับความเศร้าโศกและความทุกข์ยาก; เกิดภาวะซึมเศร้า; ความสับสน; ความไม่พอใจ; แตกแยก; การสูญเสียความมั่งคั่ง; ปัญหาที่ไม่คาดคิด; ความเครียดและความวิตกกังวล ฯลฯ


 

(2)ดาราพละ-นักษัตรกำเนิด


การคำนวนผลดีร้ายของดาวพฤหัสจรยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นทฤษฎีฐานกำลังของดวงดาวที่คำนวนจากดวงดาวที่สัมพันธ์กับดาวนักษัตรฤกษ์ ซึ่งเรียกกำลังจากฐานนี้ว่า "ดาราพละ" อันจะแสดงให้ผลดี-ร้ายที่เกิดจากที่สถิตย์ของดวงดาวจรในนักษัตรที่สัมพันธ์กับดาวนักษัตรที่จันทร์เสวยในพื้นดวงชาตาเดิม  (ชนมนักษัตร)

ชนมนักษัตร

พฤหัสจรใน มาฆะนักษัตร

พฤหัสจรใน ปุรพผลคุนีนักษัตร

พฤหัสจรใน อุตรผลคุนีนักษัตร

อัศวินี,มาฆะ,มูลละ

ชนม (ทลิทโท) (1)

สมบัติ(มหัธโณ) (2)

วิบัติ(โจโร) (3)

ภรณี,ปุรพผลคุณี,ปุรพาษาฒ

ปรมมิตระ(สมโณ) (9)

ชนม (ทลิทโท)  (1)

สมบัติ(มหัธโณ) (2)

กฤตติกา,อุตรผลคุณี,อุตราษาฒ

มิตระ (ราชา) (8)

ปรมมิตระ(สมโณ) (9)

ชนม (ทลิทโท)  (1)

โรหิณี,หัสตะ,สราวณะ

นิธนะ(เพชฌฆาต) (7)

มิตระ (ราชา) (8)

ปรมมิตระ(สมโณ) (9)

มฤคศิระ,จิตรา,ธนิษฐะ

สาธนะ(เทวี) (6)

นิธนะ(เพชฌฆาต) (7)

มิตระ (ราชา) (8)

อารทรา,สวาติ,สตภิษัท

ปรัตยัก(เทศาตรี) (5)

สาธนะ(เทวี) (6)

นิธนะ (เพชฌฆาต) (7)

ปุนรวสุ,วิสาขะ,ปูราภัทรปท

เกษม(ภูมิปาโล)  (4)

ปรัตยัก(เทศาตรี) (5)

สาธนะ(เทวี) (6)

ปุษยะ,อนุราธะ,อุตราภัทรปท

วิบัติ(โจโร) (3)

เกษม(ภูมิปาโล)  (4)

ปรัตยัก(เทศาตรี) (5)

อาศเลศะ,เชษฐะ,เรวดี

สมบัติ(มหัธโณ) (2)

วิบัติ(โจโร) (3)

เกษม(ภูมิปาโล)  (4)

 

ผลของดาราพละนี้ เป็นการคำนวนผลดีร้ายจากนักษัตรฤกษ์ โดยมีผลดังนี้ 1. ชนม(ทลิทโทฤกษ์)  เป็นอันตราย 2. สมบัติ(มหัธโณฤกษ์) ทรัพย์สินเงินทอง 3.วิบัติ(โจโรฤกษ์) เสียหาย 4.เกษม(ภูมิปาโลฤกษ์) เจริญรุ่งเรือง 5.ปรัตยัก(เทศาตรีฤกษ์) อุปสรรค 6. สาธนะ(เทวีฤกษ์) สมปรารถนา  7.นิธนะ (เพชฌฆาตฤกษ์) อันตราย 8.มิตระ (ราชาฤกษ์) ดี สำเร็จ 9.ปรมมิตระ(สมโณฤกษ์) ดีมาก

ซึ่งหากคำนวนดาราพละแล้วปรากฏว่า เป็นฤกษ์ที่ 1 ทลิทโท ที่ 7 เพชฌฆาต ดาวพฤหัสจรจะให้ผลร้ายมาก  และที่ 3 โจโร ที่ 5 เทศาตรี ก็จะให้ผลร้ายทั่วไป ส่วน ฤกษ์ที่ 2 มหัทธโน ที่ 4 ภูมิปาโล ที่ 6 เทวี ที่ 8 ราชา จะให้ผลดี และที่ 9 สมโณฤกษ์ จะให้ผลดีสูงสุด  ดังนั้นผลของดาวพฤหัสจรจะให้ผลดี-ร้ายได้ก็ต้องตรวจดูจากดาราพละ ของดวงชาตาเดิมที่สัมพันธ์กับดาวพฤหัสในทางจร


 

(3)มูรติ นิรนายะ-ตำแหน่งของดาวจันทร์

ทฤษฎีนี้คำนวนจากขณะที่ดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์ในวันที่ 14 กรกฏาคม 2558 ซึ่งในขณะนั้นดาวจันทร์จรอยู่ในราศีมิถุน  ทฤษฎีนี้นำเอาตำแหน่งที่สถิตย์ของดาวจันทร์ในเวลาเดียวกับดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์เป็นมูลฐานในการคำนวนร่วมกับชนมราศีของเจ้าชาตา

ชนมราศี

ตำแหน่งของดาวจันทร์จร(ในมิถุน)ในวันที่ 14.7.58 นับจากชนมราศี

มูรติ นิรนายะ

ผลดี-ร้าย

ราศีมิถุน,มังกร,สิงห์

ราศีที่ 1,6,11

สวารณะ(ทองคำ)

ดีมากที่สุด

ราศีพฤษภ,กุมภ์,ตุลา

ราศีที่ 2,5,9

รชฏ(เงิน)

ดีมาก/ดี

ราศีเมษ,ธนู,กันย์

ราศีที่ 3,7,10

ทามระ(ทองแดง)

ดี/ค่อนข้างดี

ราศีมีน,พิจิก,กรกฏ

ราศีที่ 4,8,12

โลหะ(เหล็ก)

ค่อนข้างดี/ผลร้าย

 

ในทฤษฎีนี้ท่านว่าดาวพฤหัสจะอำนวยผลดีมากที่สุด เมื่อผลที่ได้เป็น "สวารณะมูรติ"และให้ผลร้ายเมื่อผลทีได้เป็น "โลหะมูรติ" พิจารณาจากฏทั่วไปทางโหราศาสตร์ ดาวพฤหัสจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อสถิตย์ในราศีที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 และที่ 11 และให้ผลร้ายเมื่อสถิตย์ในราศี ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 12 จากชนมราศี(ราศีจันทร์กำเนิด) (ตามข้อ1-ชนมราศี) แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับกฏของมูรติ นิรนายะ ผลที่ได้ก็จะกลับแตกต่างออกไป ทั้งนี้ให้พิจารณาผลจากด้านอื่นมาประกอบ

 

(4)เวธะและวิปริตะ เวธะ-การขัดขวางผล

ทฤษฎีของเวธะใช้มากในโหราศาสตร์ภารตะโดยเฉพาะในดวงจร เรียกว่า เวธกะ หรือ จุดขัดขวาง โดยขณะเมื่อดาวดวงหนึ่งดวงใดกำลังส่งผลดีให้จากตำแหน่งจรในดวงชาตา (ที่สัมพันธ์กับชนมราศี) และในขณะเดียวกันก็มีดาวอีกดวงหนึ่งจรในราศีที่สัมพันธ์กับชนมราศีเช่นกัน ผลเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดจุดขัดขวางผลดี(ชั่วคราว) ต่อดวงชาตา จนกว่าดาวที่เป็นเหตุในการขัดขวางนั้นได้โคจรผ่านพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า "เวธะ"

และในกรณีกลับกันโดยขณะเมื่อดาวดวงหนึ่งดวงใดกำลังส่งผลร้ายให้จากตำแหน่งจรในดวงชาตา(ที่สัมพันธ์กับชนมราศี) และในขณะเดียวกันก็มีดาวอีกดวงหนึ่งจรในราศีที่สัมพันธ์กับชนมราศีเช่นกัน ผลเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดจุดขัดขวางผลร้าย(ชั่วคราว) ต่อดวงชาตา จนกว่าดาวที่เป็นเหตุในการขัดขวางนั้นได้โคจรผ่านพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า "วิปริตะเวธะ"

จุดขัดขวางผลดีของดาวพฤหัส- เวธะ

ดาวพฤหัสสถิตย์เรือนจากชนมราศี -ให้ผลดี

2

5

7

9

11

จะขัดขวางผลดีเมื่อมีดาวเคราะห์ในเรือน(จากชนมราศี)

12

4

3

10

8

 

ตัวอย่างเช่นในชาตาหนึ่งมีดาวจันทร์สถิตย์ในราศีกรกฏ (ชนมราศี) ขณะนี้มีดาวพฤหัสจรอยู่ในราศีสิงห์ ซึ่งเป็นเรือนที่ 2 จากชนมจันทร์ เช่นนี้ดาวพฤหัสย่อมส่งผลดีให้กับเจ้าชาตา แต่ในขณะเดียวกันมีดาวเคราะห์จรเข้ามาสู่ราศีมิถุนเรือนที่ 12 จากชนมราศี ก็กลายเป็นจุดขัดขวาง(เวธะ) ต่อผลดีของดาวพฤหัส  ทำให้ผลดีของดาวพฤหัสจะไม่ให้ผลชั่วคราวในระยะที่มีดาวสถิตย์ในเรือนที่ 12 นี้

.

จุดขัดขวางผลร้ายของดาวพฤหัส- วิปริตะเวธะ

เมื่อดาวพฤหัสสถิตย์ในเรือนจากชนมราศี -ให้ผลร้าย

1

3

4

6

8

10

12

จะขัดขวางผลร้ายเมื่อมีดาวเคราะห์ในเรือน (จากชนมราศี)

1

2

5

6

7

9

11

ในกรณีที่ดาวพฤหัสจรไปสถิตย์ในเรือนที่ 8 จากชนมราศี ผลร้ายจะถูกทำให้เป็นโมฆะ ถ้ามีดาวเคราะห์จรในราศีที่ 7 จากชนมราศี ตัวอย่างเช่นหากเจ้าชาตามีชนมราศีเป็นราศีมังกร และขณะที่ดาวพฤหัสจรในราศีสิงห์ย่อมไม่ส่งผลดีต่อเจ้าชาตาเว้นเสียแต่ว่ามีดาวเคราะห์จรไปสถิตย์ในราศีกรกฏซึ่งเป็นเรือนที่ 7 จากชนมราศี ก็จะเกิดผลของวิปริตะเวธะ ขัดขวางผลร้ายจากดาวพฤหัสที่มีต่อเจ้าชาตา

 

(5)อัษฏกะวีระค์-กำลังจากการโคจร

การพิจารณาผลของดาวจรโดยระบบอัษฏกะวีระค์ หรือ อัษฏะวรรค เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโหราศาสตร์ภารตะ ความหมายคือการพิจารณาหากำลัง(พละศักดิ์)ของดาวเคราะห์จากมูลฐานกำลัง ๘ ประการ  ซึ่งสามารถมาคำนวนหากำลังของดาวเคราะห์ทุกดวงรวมถึงลัคน์ด้วย (เว้นแต่ราหู-เกตุ)  วิธีการคำนวน คือ การหาจุดกำลังที่เป็นจุดที่ให้ศุภผลและบาปผลจากตำแหน่งของดาวเคราะห์จรที่สัมพันธ์กับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากและจะอธิบายต่อไปในภายหลัง

สำหรับดาวพฤหัสท่านว่าเมื่อดาวพฤหัสจรไปยังราศีที่มีพินธุของดาวพฤหัสมากกว่า 4 จุด ในอัษฏกะวรรค หรือ มากกว่า 30 พินธุ ในสรวะอัษฏะวรรค (สรรพอัษฏกะวรรค) ท่านว่าดาวพฤหัสจะให้ผลดีเสมอถึงแม้ว่าดาวพฤหัสจะสถิตย์ในราศีร้ายก็ตาม ในทางกลับกันถ้าหากดาวพฤหัสสถิตย์ในราศีดีแต่ผลของอัษฏกะวรรคได้น้อยกว่า 4 พินธุ หรือ สรวอัษฏกะวรรคน้อยกว่า 30 จุด(พินธุ) ก็กลายเป็นว่าดาวพฤหัสให้ผลร้ายต่อดวงชาตา

 

 

 

ดาวพฤหัสในราศีสิงห์กับฤกษ์ร้าย

ในบางคัมภีร์ของโหราศาสตร์ภารตะ เช่น มุหูรตะ ท่านได้กล่าวไว้ว่า ห้ามกระทำการมงคลใดใดในขณะที่ดาวพฤหัสโคจรไปสถิตย์ในราศีของอาทิตย์ (สิงห์) อันเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าดาวพฤหัสจะโคจรอยู่ในราศีนี้แบบอยู่นานผิดปกติคือ ประมาณ 13 เดือน ในขณะที่ดาวพฤหัสโคจรในราศีอื่นๆประมาณ 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า "สิงหาคุรุ"  ชาวฮินดูทั่วไปถือในเรื่องนี้มากจนไม่ยอมทำการมงคลใดใดในช่วงระหว่างปีนี้  เช่นสร้างบ้านใหม่ เปลี่ยนงานใหม่ เปิดร้านใหม่ ฯลฯ โดยเฉพาะการแต่งงานให้งดเว้นเด็ดขาด

ด้วยความเชื่อดังกล่าวก็มีโหราจารย์ชาวอินเดียหลายท่านมีมติว่าควรใช้แค่ช่วงเวลาของดาวพฤหัสเสียมากที่สุดจริงๆ เท่านั้น คือขณะโคจรใน นวางค์ราศีสิงห์เท่านั้น ซึ่งก็คือในช่วงวันที่ 14 กย 58-1 ตค 58 เท่านั้นจึงจะงดเว้นการทำงานมงคล นอกจากนี้ไม่ห้าม

 

สรุปผล

ผลของ การโคจรของดาวพฤหัส ตามที่ได้แสดงด้วยทฤษฎีต่างๆเอาไว้นั้น เป็นการพิจารณาเฉพาะดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว และไม่ควรถือว่าผลดีร้ายนั้นจะเกิดขึ้นจากผลของดาวเคราะห์เดียวนี้เท่านั้น ทั้งหมดจะต้องพิจารณาจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆที่สถิตย์ในดวงชาตา ความมีกำลังหรือไม่มีกำลังของดาวเคราะห์นั้นๆ อีกทั้งความเข้มแข็งของดวงชาตาโดยรวม  ตำแหน่งที่สถิตย์เดิมของดาวพฤหัสในพื้นดวง ทั้งจากราศีจักรและนวางศ์จักรและดาวเคราะห์อื่นที่ส่งโยคเกณฑ์ดี-ร้ายต่อดาว พฤหัส รวมถึงดาวที่กำลังเสวยอายุและแทรก และตำแหน่งของดาวเคราะห์ใหญ่ๆอย่างดาวเสาร์และราหู-เกตุที่จะส่งผลต่อดวง ชาตาร่วมกับพฤหัส

เรา ไม่ควรจะที่จะสรุปผลดี-ร้ายทั้งหมดจากผลในการโคจรที่ปรากฏในกฏเกณฑ์ใด กฎเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งผลของมันอาจได้รับการจำกัดหรือผันแปรโดยตำแหน่งเวธะของดาวเคราะห์อื่น ๆ และผลที่เกี่ยวข้องกับผลของอัษฏกะวีระค์ในดวงชาตา ดังนั้นสำหรับการประเมินผลของการโคจรจะต้องนำผลรวมของทฤษฎีอื่นๆนำมาพิจารณา ร่วมด้วย

ตำแหน่ง ของดาวเคราะห์ในพื้นดวงกำเนิดเป็นตัวแทนของความสามารถที่แท้จริงของแต่ละคน ขณะที่ตำแหน่งของดาวจรแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในระยะสั้น แม้ว่าผลการการโคจรถือเป็นอันดับรองในการพิจารณาพื้นดวงชาตา  แต่ในบางครั้งดาวจรก็อาจจะสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงพื้นดวงชาตาเดิมได้ ดังนั้นการโคจรของดาวเคราะห์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบในพื้นดวงชาตา แต่ดาวจรกลับทำหน้าที่พิสูจน์ความแข็งแกร่งในดวงชาตา