Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 1

ระบบจักรราศีและดาวเคราะห์

˜

1.  จักรราศี จักรราศี คือ เขตที่กำหนดเป็นเส้นทางรวมกันโอบอยู่โดยรอบเป็นรูปวงกลมในท้องฟ้า  มีระยะจากสุริยวิถีข้างละ 9 องศา  เรียกว่าภาจักรหรือรังศีมณฑล  เป็นวงกลมที่ไม่มีต้นและปลาย  เพื่อสะดวกแก่การกำหนดระยะ  จึงตั้งจุดเริ่มต้นเป็นหมายจุดตายตัวขึ้น  เรียกจุดนี้ว่าจุดต้นของเมษ  จักรราศีหมุนอยู่รอบเป็นรูปวงกลมในท้องฟ้า  มีระยะจากสุริยวิถีข้างละ 9 องศา เรียกว่าภาจทรหรือรังศีมณฑล  เป็นวงกลมที่ไม่มีต้นและปลาย  เพื่อสะดวกแก่การกำหนดระยะ  จึงตั้งจะจุดเริ่มต้นเป็นหมายจุดตายตัวขึ้น  เรียกจุดนี้ว่าจุดต้นของเมษ  จักรราศีหมุนอยู่รอบแกนวันละรอบ  จากตะวันออกไปตะวันตก.

2.  สุริยวิถี สุริยวิถี คือ ทางโคจรของอาทิตย์ เรียกว่าอปมณฑลหรือระวิมรดา  เป็นทางตรงผ่านตลอดศูนย์กลางของเส้นทางรอบจักรราศี.

3.  ราศีในจักรราศี ในห้วงเวหาของสุริยวิถีแบ่งออกเป็น 12 ภาค เรียกว่าแต่ละภาคว่าราศี  ราศีหนึ่ง ๆ มีระยะเขต 30 องศา  และเฉพาะราศีหนึ่ง ๆ มีคุณภาพพิเศษต่าง ๆ กัน  ที่ได้กล่าวถึงระเบียบการตั้งจุดเริ่มต้นมาแล้วในข้อ 1 นั้น การตั้งต้นของจักรราศี  กะตั้งต้นเอาที่จุดแรกของราศีเมษ  และราศี 1 กะระยะไว้ 30 องศา  องศาหนึ่งแบ่งออกเป็น 60 ลิปดา ๆ หนึ่งแบ่งออกไปอีกเป็น 60 พิลิปดา  ดังนั้นระยะทั้งหมดโดยรอบของจักรราศีได้ 12600 ลิปดา หรอ 129600 พิลิปดา.

4.  นักษัตร เขตของสุริยวิถีมีกลุ่มดาวหรือนักษัตร 27 กลุ่มเป็นที่หมาย กลุ่มดาวหรือนักษัตรเหล่านี้  เรียกกันว่าที่อาศัยของดวงจันทร์  เพราะดวงจันทร์ต้องอาศัยจรผ่านเข้าในกลุ่มนักษัตรเหล่านี้ครบทั้ง 27 นักษัตรจึงได้ 1 รอบวงจร  ดังนั้นดวงจันทร์จึงสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนักษัตรทั้ง 27 นี้  เมื่อจันทร์ผ่านกลุ่มนักษัตรในสุริยวิถีครบ 27 นักษัตรหรือครบรอบหนึ่ง  ก็เป็นที่หมายว่าได้ 1 เดือนจันทร์คตินักษัตรหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน  เรียกส่วนนั้น ๆ บาทหรือจัตุภาค  และบาทหนึ่งเท่ากับ  3 * 1/3              องศาของเรขา (จักรราศีหรือเส้นโค้งของวงจักรวาล)  หรือว่าทั้งจักรราศีประกอบด้วย 108 บาท  ดังนั้นนักษัตรหนึ่งได้ 13 องศา 20 ลิปดาของเรขา  ราศี


2                                                                    โหราวิทยา


และนักษัตรทั้ง 2 อย่างถือเอาจุดเริ่มต้น ณ ที่เดียวจุดเดียวกันที่จุดทีฆันดร (แวง) 0 องศาของราศีเมษ  จุดนี้คือจุดเริ่มต้นของราศีเมษ (ดูบท 2) และเป็นจุดเริ่มต้นของนักษัตรอัสวิณีด้วย  หมายความว่าทั้งราศีและนักษัตรร่วมจุดเริ่มต้นจุดเดียวกัน.

5.  ระบบดาวเคราะห์ ระบบดาวเคราะห์ก็คือระบบสุริยะ  โดยมีดาวเคราะห์มีรัศมีแรงกล้า  คือดวงอาทิตย์เป็นประธาน  ประกอบด้วยดาวเคราะห์สำคัญ 7 ดวง (รวมทั้งอาทิตย์เองด้วย)  ดาวเคราะห์ทุกดวงรักษาศูนย์กลางของการหมุนเวียนและศูนย์กลางที่ได้รับแสงโชติช่วงไว้ได้  ด้วยถูกดึงดูดจากกำลังของอาทิตย์และเคลื่อนไปเป็นวงอยู่รอบดวงอาทิตย์  ระยะเวลาที่ดาวเคราะห์เคลื่อนไปจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งไม่เท่ากัน  เปลี่ยนไปตามเหตุเฉพาะของแต่ละดาวเคราะห์  ในระบบดาวเคราะห์นี้มีราหูและเกตุร่วมอยู่ด้วยโดยถืออปรกาศะเคราะห์  (ดาวเคราะห์ไม่มีแสง)  ยิ่งกว่านั้นความสำคัญของดาวเคราะห์ทั้ง 2 นี้  ในทางโหราศาสตร์ก็ไม่ยืนยัน  เพราะดูเหมือนว่าเมื่อเข้าไปสถิตราศีใด ก็เป็นแต่เพียงคล้อยตามสัญลักษณ์ของราศีที่เข้าไปสถิตนั้น  นักศึกษาต้องพยายามสังเกตผลปรากฎการณ์ของดาวเคราะห์ทั้ง 2 นี้ จากการวิเคราะห์ดวงชะตา.

ดาวเคราะห์เสาร์อยู่ห่างไกลจากพื้นปฐมพีมากที่สุด  ต่อมาพฤหัสบดี  อังคาร  อาทิตย์  ศุกร์  พุธ  และจันทร์ใกล้เข้ามาตามลำดับ.

6.  การหมุนเวียนและอาการหมุน ท่านโบราณจาริย์  ได้สังเกตพบเห็นว่า  อาการเคลื่อนไหวของแต่ละดาวเคราะห์  ได้ก่อให้เกิดอิทธิพลเหนือปรากฏการณ์ของภาคพื้นปฐมพี  เพราะดาวเคราะห์ทุกดวง  รับกำลังดึงดูดและแสงโชติช่วงจากอาทิตย์  ดาวเคราะห์ดำเนินการเคลื่อนไหวพร้อมกัน 2 อย่าง  ภาคะนะและภระมนะ.

ภาคะนะ คือการเคลื่อนไหวไปรอบดวงอาทิตย์  เพื่อรักษาศูนย์กลางของกำลังดึงดูดและศูนย์กลางของแสงโชติช่วง  ในขณะที่ดาวเคราะห์กำลังเคลื่อนไปก็เกิดคลื่นในอากาศหรืออากาศเกิดเป็นคลื่น.

ภระมนะ คือ  อาการที่ดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเอง  เพื่อรักษาอาการทรงตัวทางดิ่ง  ในขณะที่หมุนก็เกิดแรงเหวี่ยงกระจาย  กระแสของวัตถุส่วนประสมในตัวเอง


ระบบจักรราศี 3


แปรเป็นกระแสอิทธิพลเข้าประสมร่วมกับคลื่นอากาศ  และคลื่นนี้พร้อมด้วยกระแสอิทธิพลส่งตัวเองทยอยกันมากระทบพื้นปฐพี  ให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ สุดแท้แต่กระแสของวัตถุประสม  หรือรวมความว่าคุณภาพของดาวเคราะห์นั้น ๆ .

ภาคะนะและภระมนะอาการเคลื่อนไหว 2 ประการของดาวเคราะห์  และรวมทั้งของโลกด้วย  ต่อไปจะใช้คำว่าโคจรเป็นความหมาย.

7.  กำลังโคจรของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แต่ละดาวเคราะห์มีกำลังเร็วในการโคจรของตัวเอง  โดยยึดหลักระยะใกล้ไกลจากโลก  เช่นดาวเคราะห์จันทร์เป็นตัวอย่าง  ดาวเคราะห์จันทร์อยู่ใกล้กับเรามากที่สุด  และดังนั้นจึงโคจรไปอย่างรวดเร็ว  ดาวเคราะห์จันทร์โคจรไปรอบจักรราศี 1 รอบประมาณ 30 วันจันทร์คติ  เสาร์ซึ่งอยู่ไกลที่สุดจากโลก  มีอาการโคจรอย่างเชื่องช้า  และดังนั้นเสาร์โคจรรอบจักรราศี 1 รอบประมาณ 30 ปี  ดาวเคราะห์ไม่อาจรักษากำลังโคจรให้เสมอคงที่อยู่ได้เพราะเหตุหลายประการ  ต่อไปนี้  เป็นระยะเวลาที่ดาวเคราะห์โคจรไปได้ 1 รอบจักรราศีโดยประมาณ.

อาทิตย์โคจรประมาณอย่างหยาบได้ 1 องศาต่อ 1 วัน หรือ 365วันต่อ 1 รอบจักรราศี  จันทร์โคจรได้ 1 รอบจักรราศีต่อ 27 วัน 1 ชั่วโมงเศษ  อังคารประมาณระหว่าง 45 ถึง 60 วันต่อ 1 ราศี  พุธประมาณระยะเวลาไล่เลี่ยกับอาทิตย์  แต่โดยเหตุที่พุธอยู่ใกล้อาทิตย์  พุธมักจะมีอาการโคจรไม่คงที่ เฉลี่ยผลอย่างหยาบในราว 27 วันต่อ 1 ราศี  พฤหัสบดีประมาณอย่างหยาบ 12 ปีต่อ 1 รอบจักรราศี  ศุกร์บางทีก็น้อยบางทีก็มากกว่าอาทิตย์  เสาร์ประมาณ 30 เดือนต่อหนึ่ง 1 ราศี  ราหูและเกตุ 18 เดือนต่อ 1 ราศี  หรือ 18 ปีต่อ 1 รอบจักรราศี  ทิศทางโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงเป็นสัพยะ  (ทางโคจรธรรมชาติของดาวเคราะห์)  แต่ของราหูและเกตุเป็นอปสัพยะคติ  (โคจรในทิศตรงข้ามคือจากตะวันออกสู่ตะวันตก)


4                                                                    โหราวิทยา


กำลังโคจรของดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์             องศา         ลิปดา         พิลิปดา            ปะระ            ปะราตะปะระ          ตาตะปะระ

อาทิตย์      วันละ       0              59                 8                10                    10                           24

จันทร์          ,,          13             10               34                52                       3                           49

อังคาร         ,,            0              31              26                28                     11                             9

พุธ              ,,            1                5              32                20                     41                            51

พฤหัสบดีบี ,,            0               4              59                  8                     48                            35

ศุกร์             ,,           1              36                7                43                     37                            17

เสาร์             ,,          0                2                0                22                     53                            25

60  ดาตะปะระเป็น 1 ปะราตะปะระ 60 ปะราตะปะระเป็น 1 ปะระ 60 ปะระเป็น 1 พิลิปดา 60 พิลิปดาเป็น 1 ลิปดา 60 ลิปดาเป็น 1 องศา 30 องศาเป็น 1 ราศี.

กำลังโคจรของดาวเคราะห์ข้างบนนี้  คัดมาจากคัมภีร์โหราศาสตร์แต่โบราณสมัย  เฉพาะเรื่องนี้ต้องศึกษาต่อไปอีกมากจึงจะทราบรายละเอียด

8.  พักร์และเสริด เมื่อดาวเคราะห์ใดทิ้งระยะห่างจากอาทิตย์มากขึ้นกำลังเคลื่อนของดาวเคราะห์นั้นจ้าลงหรือถึงถอยหลัง (พักร์) คือเมื่อดาวเคราะห์ออกอยู่นอกทางที่อยู่  ในระยะใกล้ชะตากับดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นทางโคจรธรรมชาติของดาวเคราะห์นั้นเอง  เพราะเมื่อถอยออกห่างจากอาทิตย์ดาวเคราะห์นั้นก็เสียกำลังดึงดูดที่ได้จากอาทิตย์ไปทีละเล็กละน้อย  เพื่อให้ได้กำลังนั้นคืนมาดาวเคราะห์จึงมีอาการพักร์  และเมื่อดาวเคราะห์โตเคลื่อนจากระยะไกลอาทิตย์เข้าระยะใกล้กับอาทิตย์  ยิ่งใกล้เข้าไปก็ได้กำลังดึงดูดจากอาทิตย์มากขึ้น  ดังนั้นกำลังเคลื่อนของดาวเคราะห์อยู่ในข่ายของพักร์และเสริด  เว้นแต่อาทิตย์และจันทร์และยกเว้นอประกาศะเคราะห์ (ราหู – เกตุ) เราได้พบว่ากำลังเร็วในอาการเคลื่อนของดาวเคราะห์ไม่เท่ากัน  โดยที่


ระบบจักรราศี 5


แตกต่างกันในส่วนต่าง ๆ ของวิถีโคจรและทั้งวิถีโคจรก็เป็นวงรี  พักร์และเสริด ฯลฯ เป็นผลที่เนื่องมาแต่เหตุจากกำลังกดดันเร้นลับของดีโครช์ชะหรือคีฆรอุจจ, มนะโทช์ชะ  และปฏะ  (มีบรรยายในสุริยสิทธานต์)

ความสำคัญของพักร์ ฯลฯ ของดาวเคราห์กว้างขวางมากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความหมายทางโหราศาสตร์  นักศึกษาจะต้องถือเอาที่สถิตที่ถูกต้องของดาวเคราะห์เป็นสำคัญ  ปรากฏการณ์ของพักร์มีบรรยายความสำคัญละเอียดในตำรากำลังดาวเคราะห์และเรือนชะตา.