หมวด: โหราวิทยา เล่ม 4กำลังดาวเคราะห์และเรือนชาตา
จำนวนผู้อ่าน: 8670

บทที่ 9

ภวะพละ

˜

124.  ภวะพละ ภวะหมายความถึงเรือน  พละหมายความถึงกำลัง ภวะพละเป็นกำลังหรืออำนาจหรือความสำคัญของเรือน  เรือนมี 12 เรือน ๆ หนึ่งๆ  ซึ่งหมายถึงหรือแสดงให้เห็นเหตุการณ์,  หน้าที่หรือการกระทำ  ตัวอย่างเช่นเรือนที่ 1 ให้ความหมายหรือแสดงถึงตนหรือตัวตน,  รูปลักษณที่ปรากฏ,  ผิวพรร,  อารมณ์,  ขนาดสูงตำของร่างกาย ฯลฯ  ถ้าเรือนนี้ได้หรือมีกำลังมั่นคงดีเจ้าชะตาจะได้หรือมีทุกสิ่งทุกอย่างตามความหมายของเรือนอย่างสมบูรณ์  ถ้าเรือนนี้ไม่มีกำลังปรากฏการณ์ตามความหมายก็ไม่สมบูรณ์  กำลังของเรือนประกอบด้วยกำลัง 3 ประการ คือ ( 1 ) ภวะธิปติพละ  ( 2 ) ภวะทิคะพละ  ( 3 ) ภวะทฤษฎีพละ  จะต้องศึกษาสิ่งเหล่านี้แต่ละอย่างด้วยความถี่ถ้วน  จะได้หาพละทั้ง 3 ประการหลักนี้  ในชะตาตัวอย่างเป็นอุทาหรณ์.

125.  ภวะธิปติพละ ภวะธิปติพละเป็นกำลังของเจ้าเรือน เจ้าเรือนคือดาวเคราะห์เจ้าราศีที่ภวะมัธยตกในราศีนั้น  หรือนัยหนึ่งว่า  ถ้าภวะมัธยตกราศีไหนดาวเคราะห์เจ้าราศีนั้นเป็นเจ้าเรือน ษัฑพละปินฑะ  (ผลรวมของษัทพละ)  ของเจ้าเรือนเป็นภวะธิปติพละ  ในข้อ 29 ได้แสดงเจ้าเรือนทั้ง 12 เรือนในชะตาตัวอย่างอยู่แล้ว  ได้นำมาไว้ ณ ที่นี้อีกเพื่อความสะดวกในการพิจารณาตามหลักท่กล่าวแล้ว.

ตัวอย่าง 58 : หาภวะธิปติพละในชะตาตัวอย่าง.

เรือน                                      อธิปติ (เจ้าเรือน)                                 ภวะธิปติพละ (กำลังของเจ้าเรือน)

1 ตนุ                                             เสาร์                                                                  6.171 รูปะ

2 ธนะ                                           เสาร์                                                                  6.171    ,,

3 ภราตรุ                                       อังคาร                                                               5.390    ,,

4 มาตรุ                                         ศุกร์                                                                   6.208    ,,

เรือน                                      อธิปติ (เจ้าเรือน)                                 ภวะธิปติพละ (กำลังของเจ้าเรือน)

5   ปุตระ                                   พุธ                                                                              9.743   รูปะ

6   ศตรู                                         พุธ                                                          9.743     ,,

7   กัลป์ตระ                                 จันทร์                                                      6.686     ,,

8   อะยุระ                                    อาทิตย์                                                    6.288     ,,

9   ภัคยา                                     ศุกร์                                                         6.208     ,,

10 กรรม                                       อังคาร                                                              5.390     ,,

11 ลาภะ                                       พฤหัสบดี                                                7.381     ,,

12 วรัยะ                                                       พฤหัสบดี                                                7.381     ,,

126.  ภวะทิคะพละ ภวะทิคะพละ เป็นกำลังที่เรือนชะตาได้โดยเรือนชะตานั้นตกในประเภทหนึ่งใดของราศี  ราศีของจักรราศีแบ่งออเป็น 5 ประเภท  ( 1 ) นระราศี (ราศีมนุษย์)  ( 2 ) ชลจรราศี  (ราศีสัตว์น้ำ)  ( 3 ) จัตุสบาทราศี (ราศีสัตว์ 4 เท้า)   ( 4 ) กีฏะราศี (ราศีสัตว์แมลง)  เรือนชะตาได้ภวะทิคะพละโดยศูนย์กลางของเรือนตกในราศีประเภทหนึ่งใดตามวิธีในเกณฑ์บังคับ  ตัวอย่างเช่นศูนย์กลางของเรือนที่ 4 เผอิญตกในชลจรราศี  (ดูข้อ 128)  จะกำลัง 1 รูปะ.

127.  นระราศี นระราศีหมายความว่าราศีมนุษย์ได้แก่ราศิมิถุน,  กันย์,  ดุล,  ครึ่งแรกของธนู  และกุมภ์  ถ้าศูนย์กลางของลัคน์เผอิญตกในราศีหนึ่งใดในราศีเหล่านี้ลัคน์จะได้กำลัง 1 รูปะ  และกลับกันถ้าศูนย์ของเรือนที่ 7 ตกในนระราศีเรือนที่ 7 จะสูญเสียกำลังหมดสิ้น.

128.  ชลจรราศี ชลจรราศีคือราศีน้ำหรือราศีสัตว์น้ำได้แก่ราศีกรกฏ  ครึ่งของมกร  และมีน  ถ้าเรือนที่ 4 ตกในชลจรราศีจะได้กำลัง 60 ษัษติอางศ  แต่ถ้าชลจรราศีมาเป็นศูนย์กลางของเรือนที่ 10 เรือนที่ 10 จะปราศจากกำลังทั้งมวล.

129.  จัตุสบาทราศี จัตุสบาทราศีหรือราศีสัตว์ 4 เท้าได้แก่ ราศีเมษ, พฤษภ, สิงห์,  ครึ่งหลังของธนู,  ครึ่งแรกของมกร  เมื่อจัตุสบาทราศีมาเป็นศูนย์กลางของเรือนที่ 10 เรือนนั้นจะได้กำลัง 60 ษัษติอางศโดยกลับกัน  ถ้าศูนย์กลางของเรือนที่ 4 ตกในจัตุสบาทราศีเรือนที่ 4 จะไม่มีกำลังเลย.

130.  กีฏะราศี กีฏะราศีหรือราศีสัตว์แมลง  ในราศีทั้งหมดของจักรราศีพฤศจิกราศีเดียวที่เป็นกฏะราศีหรือราศีสัตว์เลื้อยคลาน  กีฏะราศีโดยธรรมชาติก่อให้เกิดอันตรายอย่างสูง  ถ้ากีฏะราศีเผอิญเป็นภวะมัธยของเรือนที่ 7 จะได้กำลัง 60 ษัษติอางศ  แต่ถ้าภวะมัธยของลัคน์ตกในกีฏะราศีจะปราศจากกำลัง.

131.  วิธีหาทิคะพละ ลัคนาภวะจะมีกำลังแรงมากที่สุดเมื่อตกในราศีนระ ณ ที่นี้จะได้กำลัง 60 ษัษติอางศ  เมื่อนระราศีเป็นภวะมัธยของเรือนที่ 7 จะไม่มีกำลัง  คือเมื่อภวะมัธยของเรือนที่ 7 ตกในราศีนระจะไม่มีกำลังเลยเป็น 0 ษัษติอางศ  จากภวะมัธยที่ 1 พละจะลดลงทีละเล็กน้อยจนเป็น 0 ทีภวะมัธยของเรือนที่ 7 ในทำนองเดียวกันภวะมัธยของจัตุสบาทราศีจะหมด  กำลังเมื่อเป็นเรือนที่ 4 และจะได้กำลังสูงสุดเมื่อเป็นเรือนที่ 10 ค่าของพละเพิ่มขึ้นจากภวะมัธยที่ 4 เป็นจำนวน 10 ษัษติอางศต่อ 1 ราศีจนถง 60 ษัษติอางศที่ภวะมัธยที่ 10 ดังนั้นทีแรกหาลำดับของภวะมัธยประสงค์  ถ้าภวะมัธยประสงค์อยู่ในราศีพฤศจิกเอกลบจาก 1 ถ้าภวะมัธยประสงค์อยู่ในราศีเมษ, พฤษภ,  สิงห์,  ครึ่งแรกของมกร,  ครึ่งหลังของธนู  ลบจาก 10 ถ้าอยู่ในราศีมิถุน,  ตุลย์,  กุมภ์,  กันย์  ครึ่งแรกของราศีธนู  ลงจาก 7 และสุดท้ายถ้าอยู่ในราศีกรกฎ,  มีน,  ครึ่งหลังของมังกร  ลบจาก 104 ถ้าผลต่างกันถึง 6 ให้เอาไปลบจาก 12 หรืออีกประการหนึ่งให้ถือเอาจำนวนนั้นแล้วเอา 10 คูณ  ผลต่างกันนี้  จะได้เป็นทิคะพละของภวะนั้น ๆ เช่นเรือนที่ 8 ในชะตาตัวอย่างภวะมัธยของเรือนที่ 8 อยู่ในราศีสิงห์  (ราศีสัตว์ 4 เท้า)  ดังนั้นลบ (ลำดับของภวะมัธยประสงค์เพราะว่าเป็นภวะที่ 8)  จาก 4 ได้ 8 เพราะว่าจำนวนนี้มากกว่า 6 เอาไปลบจาก 12 อีกเหลือ 4 ซึ่งเมื่อคูณด้วย 10 ได้ 40 ษัษติอางศเป็นภวะทิคะพละที่ต้องการ.

132.  ภวะทฤษฎีพละ. ภวะหนึ่ง ๆ ในดวงชะตาอยู่ในสภาพถูกเป็นเกณฑ์โดยดาวเคราะห์  ภวะที่ถูกเป็นเกณฑ์นั้นบางทีก็เป็นเกณฑ์บางทีก็เป็นเกณฑ์ลบ  สุดแท้แต่ถูกเป็นเกณฑ์โดยศุภเคราะห์หรือบาปเคราะห์  ในการที่จะหาจำนวนแน่นอนของกฤษฎีแก่ภวะให้พิจารณาเรือนประสงค์เป็นเช่นทรุสยาเคราะห์  (ตัวถูกเป็นเกณฑ์)  และจะได้ทฤษฎีเกณฑ์ตามวิธีของกฎในข้อ 114 เมื่อได้ค่าของทฤษฎีแล้วถ้ามีวิเศษทฤษฎี  ให้เอาค่าของวิเศษทฤษฎี

(เกณฑ์พิเศษของอังคาร,  เสาร์,  พฤหัสบดี)  บวกเข้าด้วย  ในที่สุดเมื่อเอา 4 หารทฤษฎี (         ของทฤษฎี)  ของแต่ละดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์แก่ทรุสยา  (ถูกเป็นเกณฑ์)  ก็จะได้ทฤษฎีพละของภวะมัธย  ยกเว้นทฤษฎีของพุธและพฤหัสบดีไม่ต้องเอา 4 หารให้ถือเอาจำนวนเต็ม  ผลรวมค่าของทฤษฎีของดาวเคราะห์ทั้งหมดที่เป็นเกณฑ์แก่ภวะมัธย  เป็นทฤษฎีพละหรือทฤคะพละของภวะนั้น.

ลบทีฆ. ของทฤษฎีเคราะห์จากทีฆ.  ของทรุสยาภวะมัธยได้เป็นทฤษฎีเกณฑ์หาค่าของทฤษฎีโดยใช้ทฤษฎีเกณฑ์ตามวิธีของกฎในข้อ 114 ถ้ามีวิเศษทฤษฎีเอาค่าของวิเศษทฤษฎีของอังคาร,  พฤหัสบดี,  เสาร์  บวกเข้าด้วย  ค่าทฤษฎีของพฤหัสบดีและพุธไว้ตามจำนวนเดิม  เอา 4 หารค่าของเกณฑ์ของดาวเคราะห์อื่น ๆ ที่เป็นเกณฑ์แก่ภวะมัธยและทฤษฎีนั้น ๆ จะเป็นบวกหรือลบสุดแท้แต่ศุภทฤษฎีของภวะมัธยมากกว่าหรือน้อยกว่าปาปะทฤษฎี  ทฤษฎีเป็นศุภ  (บวก)  เมื่อทฤษฎาเคราะห์  (ดาวเคราะหที่เป็นเกณฑ์)  เป็นศุภเคราะห์โดยธรรมชาติ  และเป็นปาปะ  (ลบ)  เมื่อทฤษฎาเคราะห์เป็นบาปเคราะห์โดยธรรมชาติ  จะต้องหาทิคะพละให้ได้ดังกล่าวมานี้  ในการหาทฤษฎีเกณฑ์  ถ้าทีฆ. ของภวะมัธยน้อยกว่าทีฆ. ของกฤษฎา  (ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์)  ให้เอา 360 บวกเข้ากับทรุสยา  (ทีฆ. ภวะมัธย)  เสียก่อน.

ตัวอย่าง 59 : หาภวะทฤคะพละในชะตาตัวอย่าง.

ทฤษฎีเกณฑ์  (มุมเกณฑ์)  ทฤษฎีเคราะห์

อ                  จ                  ภ                  ว                  ช                ศ                 ส

ภวะ     ทีฆ. 179° 7'    311° 40'    229° 49'    370° 33'    73° 35'    170° 4'    124° 53'   

X

X

1    311° 40'    115°49'    - -              65°  7'    114° 24'    213° 22'     124° 43'    170°  6'   

2    327° 16'    147° 8'    - -              97° 27'       147° 43'     244° 43'     158° 12'    203° 25'   

X

3        1° 36'    182° 28'       59° 56'    1.31° 47'    181°   3'    278°  1'    191° 32'    236° 45'   

X

4      34° 55'    215° 47'    83° 15'    165°  6'    214° 22'    - - 224° 51'    270°  4'   

5      61° 36'    242° 28'    109° 56'    191° 47'    241°   3'    - -         251° 32'    296° 45'   

อ                  จ                  ภ                  ว                  ช                ศ                 ส

X

ภวะ     ทีฆ. 179° 8'    311° 40'    229° 49'    190° 33'    83° 35'    170° 4'    124° 51'   

6     89° 16'    269°  7'    136° 36'    218° 27'    267° 43'    - - 278°12'     - -

7   114° 57'    295° 49'    363° 17'      245°   7'    294°  24'    31° 22'           - -                 - -

8   148° 36'    - - 196° 36'       278° 27'    - - 64° 41'    - -                  - -

X

9   171° 36'          - -           229° 56'    - -                  - - 97°   1'    - - 56° 45'   

10   214° 55'    35° 47'    263° 15'            - -               34° 22'    131° 20'        44° 51'       90°  4'

11   241° 36'       62° 29'     279° 56'            - -               61°   3'    158°  1'       71° 32'     116° 45'

12   268° 36'       89°   7'          - -             38° 27'           87° 43'    184° 41'        98° 12'     143° 25'

เครื่องหมาย X = วิเศษทฤษฎี


ทฤษฎีพละของเรือน  (เป็นษัษติอางศ)  ทฤษฎาเคราะห์

พละ

1

1

- อ        + จ            - ภ            + ว            + ช             + ศ               - ส ภวะทฤคะ

เรือน

10.2           4.1               12.3               + 37.9

X 30.0

X  3.7

X 10.2

X  3.7

1       7.0          - -            5.0             32.7           44.3           6.3               30.0               + 60.4

2       0.2          - -                                2.3


3.7

X  11.2

3     14.7         2.5           4.5              59.5           11.0         13.5                  7.9              + 59.4

4     10.5         9.5           7.5              42.8            - -             9.4                                     + 28.8



0.4

X  11.2

5       7.2         7.7         13.5              29.5            - -             6.0                                     + 11.9



X  10.2

3.7

6       3.8         3.3                              16.3            - -             2.7                   - -              + 4.4

7       0.5         6.6            6.8               2.7           0.3             - -                    - -              + 2.9

พละ

1

1

- อ        + จ            - ภ            + ว            + ช             + ศ               - ส ภวะทฤคะ

เรือน


8         - -         12.9          2.7              - -             19.7            - -                - -                 + 29.9

X  30.0

18.7

9         - -           8.7          - -               - -             51.0            - -                3.3                + 46.4

10        0.7          4.6           - -              2.2                               1.8             11.2                + 45.4


11        4.4          1.2           - -            16.1            16.0            6.6               7.8                + 27.7

12      30.0           - -          1.0            42.7            57.7          10.2               1.6                + 97.0

เครื่องหมาย X = วิเศษทฤษฎี


133.  ผลรวมของภวะพละ เอาภวะธิปติพละ,  ภวะทิคะพละ,  และภวะทรุคพละ  ของแต่ละภวะหนึ่ง ๆ รวมเข้าด้วยกัน  จำนวนของผลรวมที่ได้เป็นกำลังของเรือน.

ตัวอย่าง 60 : หาผลรวมพละของเรือนทั้ง 12 เรือนในดวงชะตาตัวอย่าง.

เรือนที่                     1                   2                   3                    4                   5                   6

ภวะธิปติพละ                  373.840        371.740         332.390         332.456        580.460       570.460

ภวะทิคะพละ                    30.000          50.000           10.000            - - - -            20.000         10.000

ภวะทรุคะพละ               + 60.400        +37.900        +59.400         +28.700           11.900          4.400

ผลรวมของภวะพละ       462.240         459.740        392.790         401.265         612.360      594.760

เป็นรูปะ             7.70               7.66              6.55               6.69              10.21            9.91

ลำดับพละของภวะ             5                    6                  12                  10                    1                 2


เรือนที่             7                    8                    9                   10                  11               12

ภวะธิปติพละ                 401.380          377.255        372.465         326.390          442.870      442.870

ภวะทิคะพละ                   30.000            40.000          20.000           30.000            40.000        40.000

ภวะทรุคะพละ                   2.800            29.900          46.400           45.400            22.700        97.000

เรือนที่                                   7                   8                   9                   10                  11               12

ผลรวมของภวะพละ       433.980         447.155        437.865         398.790         510.570      579.770

เป็นรูปะ             7.23               7.45              7.31               6.65              7.51            9.66

ลำดับพละของภวะ             9                    7                   7                  11                   4                 3



134.  ข้อสังเกตขั้นสุดท้าย จะเห็นได้จากข้างบนนั้นว่าเรือนที่ 5 เป็นเรือนที่มีกำลังมากที่สุดของเรือนทั้ง 12 เรือน  เรือนที่ 3 มีกำลังน้อยที่สุดของเรือนทั้ง 12 เรือน  ทั้งหมดนี้นับได้มูลฐานพอเพียงสำหรับการพยากรณ์.