หมวด: โหราวิทยา เล่ม 4กำลังดาวเคราะห์และเรือนชาตา
จำนวนผู้อ่าน: 7524

บทที่ 5

กาละพละ

˜

46.  กาละพละ กาละพละคือกำลังของเวลาหรือกำลังที่ได้จากเวลา  กาละพละคำนวณหาจากปี, เดือน, วัน, ชั่วโมง ฯลฯ  เมื่อเกิดหรืออีกนัยหนึ่งว่ากำลังอิทธิพลแห่งรังสีของดาวเคราะห์ที่เนื่องมาจากฤดูกาลอย่างละเอียด  กาละพละประกอดด้วย  ( 1 ) นโตนะนตะพละ  ( 2 ) ปักษพละ  ( 3) ไตรภาคพละ   ( 4 ) อพทะพละหรือวรรษาธิปติพละ   ( 5 ) มาสาพละ   ( 6 ) วาระพละ   ( 7 ) โหราพละ   ( 8 ) อยะนะพละ   ( 9 ) ยุทธพละ.

47.  นโตนะนตะพละกำลังดาวเคราะห์ ได้จากภาคของวันเมื่อเกิดเรียกว่านโตนะนตะพละหรือทิวาราตรีพละ  คือเมื่อเกิดนั้นเกิดกลางวันหรือเกิดกลางคืน  ถ้าเกิดกลางวันได้แก่ทิวาพละ  (กำลังกลางวัน)  ถ้าเกิดกลางคืนได้แก่ราตรีพละ  (กำลังกลางคืน).

จันทร์,  อังคาร,  เสาร์  มีกำลังเต็มที่เมื่อเวลาเที่ยงคืนและปราศจากกำลังเมื่อเวลาเที่ยงวัน  อาทิตย์,  พฤหัสบดี,  ศุกร์  มีกำลังเต็มที่เมื่อเวลาเที่ยงวันแลปราศจากกำลังเมื่อเวลาเที่ยงคืน  พุธมีกำลังตลอดเวลาทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืน  จันทร์,  อังคาร,  เสาร์  ได้ทิวา  ราตรีพละ 60 ษัษติอางศเมื่อเวลาเที่ยงคืน อาทิตย์,  พฤหัสบดี,  ศุกร์,  ได้เท่ากันเมื่อเวลาเที่ยงวัน  และพุธได้ทิวาราตรีพละ 60 ษัษติอางศเสมอไป.

48.  เที่ยงวันเที่ยงคืน เมื่ออาทิตย์ผ่านเส้นศูนย์เที่ยงที่ท้องถิ่นได้เวลานั้นเป็นเวลาเที่ยงจริงของท้องถิ่นนั้น  โหราศาสตร์ภารตถือเอาจากเวลาเที่ยงจริงเฉพาะท้องถิ่น  และเพราะฉะนั้นถ้าได้เวลาเกิดเป็นเวลามัธยมท้องถิ่น  จะต้องแปลงให้เป็นเวลาแท้จริงโดยใช้สมการของเวลา  เที่ยงคืนได้แก่เมื่ออาทิตย์อยู่ที่เส้นศูนย์เที่ยงต่ำ ณ ท้องถิ่นและเวลานี้ถือเอาเป็นเวลาเที่ยงคืนโดยแท้จริง.

49.  วิธีหาทิวาราตรีพละ วิธีหาทิวาราตรีพละมี 2 วิธี ทั้ง 2 วิธีนี้หลักเหมือนกันต่อไปจะเรียกว่าวิธี ก.  และ ข.


50.  วิธี ก. จะเกิดเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ดี  เอา 2 คูณนตะฆทิได้นตะพละ (ราตรี)  เป็นษัษติอางศสำหรับดาวเคราะห์ที่มีกำลังระหว่างเที่ยง  และเอา 2 คูณอุนนตะฆทิได้อุนนตะพละ  (ทิวา)  สำหรับดาวเคราะห์ที่มีกำลังระหว่างเที่ยงวัน  ทั้ง 2 อย่างนี้อธิบายได้ว่าเอา 2 คูณอุนนตะได้ทิวาพละสำหรับดาวเคราะห์ที่มีกำลังเวลากลางวันและเอา 2 คูณนตะได้ราตรีพละสำหรับดาวเคราะห์ที่มีกำลังเวลากลางคืน  ดังนั้น.

ทิวาพละ  (สำหรับอาทิตย์,  พฤหัสบดี,  ศุกร์,)  = อุนนตะ X 2

ราตรีพละ  (สำหรับจันทร์,  อังคาร,  เสาร์)  = นตะ X 2

(พุธ  มีกำลังทิวาราตรีพละเป็น 60 ษัษติอางศเสมอ)

ตัวอย่าง 16 : ทิวาราตรีพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่างหาตามวิธี ก.

นตะ = 5 ฆฑิ    35 วิฆฑิ = 5.58 ฆฑิ  (ดูข้อ 5)

อุนนตะเท่ากับ 24 ฆฑิ  25 วิฆฑิ = 24.42 ฆทิ  (ดูข้อ 5)

ดังนั้นทิวาพละ = 24.42 X 2 = 48.84  ษัษติอางศง

ราตรีพละ = 5.58 X 2 = 11.16  ษัษติอางศ.

ดาวเคราะห์                                          ทิวาหรือราตรีพละ

อาทิตย์                                                            48.84

จันทร์                                                              11.16

อังคาร                                                             11.16

พุธ                                                                 60.00

พฤหัสบดี                                                         48.84

ศุกร์        ˜                                                       48.84

เสาร์                                                              11.16

51.  วิธี ข. ได้กล่าวมาแล้วว่าระยะเวลาระหว่างเที่ยงคืนและเที่ยงวันเป็น 180 องศา  และระหว่างเที่ยงวันและเที่ยงคืนก็เป็น 180 องศาเหมือนกัน  ทางโหราศาสตร์ถือเอาเวลาเที่ยงจริงเฉพาะท้องถิ่น  ฉะนั้นถ้ได้เวลาเกิดเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นต้องแปลงเป็นเวลาจริง

สำหรับท้องถิ่นโดยใช้สมการของเวลา  แล้วแปลงเวลาเกิด  (นับจากเที่ยงคืน)  เป็นองศาโดย 15 องศาเท่ากับ 1 ชั่วโมง (ชั่วโมงละ 15 องศา)  แล้วทำตามกฎต่อไปนี้  (ถ้าเวลาเกิดที่แปลงเป็นองศาได้มากกว่า 180 องศา  ต้องเอาจำนวนนี้ไปลบจาก 360 องศา)

ตัวอย่าง 17 : ทิวาราตรีพละของดาวเคราะห์ชะตาอย่างหาตามวิธี ข.


เวลาเกิด 2.00 ล.ท.

สมการ 14 นาที

ดังนั้นเวลาเกิด = 2.14 ล.ท.

= 213°   5'   = (360° - 213°   5'   = 146   5'  )


52.  ปักษพละ ปักษพละเป็นกำลังที่ได้จากปักษ์ ๆ หนึ่งเท่ากับ 15 วันจันทร์คติ คือ ศุกรปักษ์ (ข้างขึ้น)  เมื่อแสดงจันทร์สว่างขึ้นและกฤษณปักษ์  (ข้างแรม)  เมื่อแสงจันทร์มืดลงบาปเคราะห์มีกำลังดีเมื่อจันทร์สว่าง.

53.  บาปะและศุภะ บาปเคราะห์ได้แก่อาทิตย์,  อังคาร,  เสาร์,  พุธ  เมื่อสัมพันธ์กับดาวร้ายและจันทร์ตั้งแต่แรม 9 ค่ำถึงขึ้น 7 ค่ำ  ศุภเคราะห์ได้แก่พฤหัสบดี, ศุกร์, พุธเมื่อสัมพันธ์กับดาวศุภผลและจันทร์  ตั้งแต่ขึ้น 8 ค่ำถึงแรม 8 ค่ำ.

54.  กฤษณปักษ์และศุกรปักษ์ ในการหาปักษพละของดาวเคราะห์จะต้องหาว่า


เมื่อเกิดอยู่ในระหว่างศุกร์ปักษหรือกฤษณปักษ์  เอาทีฆ.  ของอาทิตย์ลบจากทีฆ. ของจันทร์  ถ้าผลต่างกันน้อยกว่า 180 องศาเป็นศุกร์ปักษ์  ถ้ามากกว่า 180 องศาเป็นกฤษณปักษ์.

45.  วิธีหาปักษพละ ถ้าเกิดระหว่างศุกร์ปักษ์เอาทีฆ.  อาทิตย์  ลบจากทีฆ.  จันทร์แล้วเอา 3 หารผลลบนั้น  ผลหารเป็นปักษพละของศุภเคราะห์  เอาปักษพละของศุภเคราะห์ไปลบ 60 ษัษติอางศ  ผลลบเป็นปักษพละของบาปเคราะห์  ปักษพละของศุภเคราะห์ระหว่างข้างขึ้นตรงกับปักษพละของบาปเคราะห์ระหว่างข้างแรม.

ถ้าเกิดระหว่างกฤษณปักษ์  เอาทีฆ. ของอาทิตย์ลบจากทีฆ. จันทร์ได้ผลลัพธ์เท่าไรเอาไปลบจาก 360 องศาอีกได้ผลลบเท่าไรเอา 3 หารผลหารเป็นปักษพละของศุภเคราะห์   เอาปักษ์พละของศุภเคราะห์ไปลบ 60 ษัษติอางศ  เหลือเท่าไรเป็นปักษพละของบาปเคราะห์  ที่ได้อธิบายมาแล้วนี้เป็นวิธีในการหาปักษพละ  ต่อไปนี้เป็นกฎสามัญสำหรับหาปักษพละของดาวเคราะห์  (ไม่จำกัดปักษเมื่อเกิด)  ดังนี้ :



ค.  ปักษพละของจันทร์ได้เป็น 2 เท่าเสมอ

(เมื่อทีฆ. ของจันทร์ – ทีฆ. ของอาทิตย์  เหลือมากกว่า 180 องศา  ต้องเอาไปลบจาก 360 องศา)

ตัวอย่าง 18 : หาปักษพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่างตามวิธีในข้อ ก. ข.  และ ค.  ได้ :


ค.  ปักษพละของจันทร์เป็น 2 เท่า.

ดาวเคราะห์                                              ศุภะหรือบาปะ                                          ปักษพละ

อาทิตย์                                                            บาปะ                                                    15.83

จันทร์                                                              ศุภะ                                                      44.17 X 2 = 88.34

อังคาร                                                             บาปะ                                                    15.83

พุธ                                                                  ศุภะ                                                       44.17

พฤหัสบดี                                                          ศุภะ                                                       44.17

ศุกร์                                                                ศุภะ                                                       44.17

เสาร์                                                               บาปะ                                                     15.83

56.  ไตรภาคพละ เวลากลางวันและกลางคืนแต่ละเวลาแบ่งออกเวลา 3 ภาคเท่า ๆ กัน  คือระหว่างอาทิตย์ตกเป็นเวลากลางวันหรืออหะ  และระหว่างอาทิตย์ตกถึงอาทิตย์ขึ้นเป็นเวลากลางคืนหรือราตรี  ต้องแบ่งหะหรือราตรีออกเป็น 3 ส่วน สุดแท้แต่เกิดเวลากลางวันหรือเวลากลางคืน  แล้วพิจารณาหาผลจากส่วนหรือภาคเมื่อเกิดเช่นเวลาระหว่างกลางวันหรือเวลากลางคืน  และเกิดเวลา 21 ฆทิ  ตลอดเวลากลางวัน (ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ตก)  ได้ 33 ฆทิ  แบ่ง 33 ฆทิออก 3 ภาค  ๆ  หนึ่ง  ได้เท่ากับ  11 ฆทิ  ดังนั้นเวลาเกิดอยู่ในทุกติยภาค  (ภาคที่ 2)

ถ้าเกิดในปฐมภาคของราตรี  จันทร์ได้ไตรภาคพละ 60 ษัษอางศในทุติยภาค  ศุกร์ได้เท่ากัน  ในตุติยภาคอังคารได้เท่ากัน.

กาลางคืน  เมื่อหารแล้วผลหารนั้นเป็นภาคหนึ่งของไตรภาค  แล้วหาดูว่าเวลาเกิดนั้นอยู่ในภาคไหนจะเป็นปฐมภาค, ทุติยภาค  หรือตติยภาคแล้วกำหนดค่าเป็น 60 ษัษติอางศแก่ดาวเคราะห์ที่จะได้จากภาคไหน  พฤหัสบดี ได้ไตรภาคพละ 60 ษัษติอางศเสมอไม่จำกัดว่าเกิดเวลากลางวันหรือกลางคืน  ดังนี้ในไตรภาคพละเฉพาะภาคหนึ่ง ๆ จึงมิได้กล่าวถึงพฤหัสบดี  ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ได้ไตรภาคพละ 60 ษัษติอางศเสมอไปแต่ดาวเคราะห์เดียว  หรืออีกนัยหนึ่งดาวเคราะห์ที่ได้ไตรภาคพละนั้น  ได้เพียง 2 ดาวเคราะห์เท่านั้น  (รวมทั้งพฤหัสบดีด้วย)

ตัวอย่าง 19 : หาไตรภาคพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่างอหะ  (จำนวนเวลาระหว่างกลาวัน)  29 ฆทิ  24 วิฆทิ  หรือ 29.9 ฆทิ

เวลาเกิด 20 ฆทิ 15 วิฆทิ    หรือ 20.25 ฆทิ

ไตรภาคพละ 29/24 ÷ 3 = 9.8 ฆทิ

ดังนั้นเวลาเกิดอยู่ในตคียภาค

ดังนั้นเสาร์ครองติติยภาค  (ระหว่างเวลากลางวัน)  เสาร์ได้ไตรภาคพละ 60 ษัษติอางศ

ดาวเคราะห์                           ไตรภาคพละ

เสาร์                                      60.00

พฤหัสบดี                             60.00

57.  สฤษฏย์อาทิอหะระคณะ อหะระคณะเป็นจำนวนวันจากยุคหนึ่งยุคใดที่สมมุติขึ้นเรียกว่าสมมุติยุค  และสฤษฏิยอาทิอหะระคณะหมายความว่าจำนวนวันในมนุษย์โลกนับจากวันสร้าง  รายละเอียดสำหรับคำนวณอหะระคณะมีในคัมภีร์สุรยสิทธานตบทที่ 1 เรื่องนี้มีหลักเกณฑ์ซับซ้อนกันมากจึงไม่ได้นำมากล่าว ณ ที่นี้.

ในการหาเจ้าปี, เจ้าเดือน  และเจ้าวันเมื่อเกิด  จะต้องคำนวณอหะระคณะสำหรับวันเกิด  และผลจากการคำนวณนี้ให้สามารถรู้ได้ถึงจำนวนของวันที่ผ่านมาแล้วตั้งแต่สร้างโลก  จนถึงวันเกิด  เช่นของชะตาตัวอย่างได้ 714, 404, 130, 045.

58. ปีและเดือน โหราศาสตร์ภารตถือเอา 360 วันเป็น 1 ปี  และ 30 วัน เป็น 1 เดือน  จะเป็นสุริยคติ – จันทรคติ  หรือ จันทรคติ – สุริยคติก็ตาม.

60.  อพทะธิปติย อพทะธิปติคือดาวเคราะห์ที่เป็นประธานของปีเมื่อเกิด  (สำหรับปีในข้อ 59)  ได้แก่ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าวัน ๆ ขึ้นปีใหม่  เมื่อ 360 วันเป็น 1 ปีเอา 7 หารได้เศษ 3 และผลหาร 51 ผลหารนี้เป็นจำนวนสัปดาห์และเศษ 3 เป็นวันต้นปีในปีหนึ่งปีใด  ได้แก่วันที่ 3 จากวันก่อน  ดังนั้นเมื่อประสงค์จะหาอพทะธิปติยต้องเอา 360 ไปหารจำนวนวันจากวันสร้างถึงวันเกิด  ผลหารเป็นจำนวนของปีจากวันสร้างและเศษปัดทิ้งไป  ต้องเอา 3 คูณผลหารนั้นแล้วเอา 1 บวกผลคูณ  แล้วเอา 7 หาร  ผลบวกผลหารไม่เอาได้เศษเท่าไรให้นับจากวันอาทิตย์ไปเท่าเศษ  ได้เป็นวันสัปดาห์ของวันต้นปีและเจ้าวันนี้เป็นอพทะธิปติย.



นับจาก 7 จากวันอาทิตย์ตกวันเสาร์  ดังนั้นเสาร์เป็นอพทะธิปติย.

61.  มาสาธิติย ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าวันของวันต้นเดือน ๆ เกิดเป็นมาสาธิปติย หรือเจ้าเดือนของเดือนนั้น  เมื่อเอา 7 หาร 30 (จำนวนวันใน 1 เดือนของเดือนโหราศาสตร์)  ได้ผลหาร 4 และเศษ 2 ผลหาร 4 เป็นจำนวนของสัปดาห์ใน 1 เดือน  เศษ 2 เป็นวันต้นเดือนคือต่อจากวันต้นสัปดาห์มา 2 วัน  ในการหามาสาธิปติยให้เอา 30 หารอหะระคณะจากวันสร้าง  ผลหารเป็นเดือนเต็มบริบูรณ์จากวันสร้างถึงสมมุติยุค  เศษทิ้งไป  เอา 2 คูณผล



พฤหัสบดี ได้ไตรภาคพละ 60 ษัษติอางศเสมอ  ไม่ว่าเกิดในเวลากลางวันหรือกลางคืน.

57. วิธีหาไตรภาคพละ หาจำนวนเวลาระหว่างกลางวันหรือกลางคืน  (เป็นฆทิหรือชั่วโมง)

ถ้าเกิดเวลากลางวันแบ่งเวลากลางวันออกเป็น 3 ภาคโดยเอา 3 หารจำนวนของเวลากลางวัน  ถ้าเกิดกลางคืนออกเป็น 3 ภาคโดยเอาจำนวนของเวลา

หารแล้วเอา 1 บวกผลคูณนั้นแล้วเอา 7 หารผลบวก  ผลหารไม่เอา  นับจากวันอาทิตย์ไปเท่าเศษได้เป็นวันต้นเดือนและเจ้าวันนั้นเป็นมาสาธิปติย.


ตัวอย่าง 21 : มาสาธิปติยในชะตาตัวอย่าง :

นับ 4 จากวันอาทิตย์ตกวันพุธ  ดังนั้นพุธเป็นมาสาธิปติย.

66. วาระธิปติย วาระธิปติยเป็นเจ้าของวันเกิด  วันเกิดรู้ได้ง่ายอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้อง

คำนวณ  แต่ถึงกระนั้นก็ตามเพื่อการตรวจสอบควรหาอหะระคณะสำหรับวันเกิด  โดยเอา 7 หารอหะระคณะตั้งแต่วันสร้าง  ผลหารทิ้งไปได้เศษเท่าไรนับจากวันอาทิตย์ไปเท่าเศษ  ถ้าได้วันตรงกับวันเกิดที่เป็นจริงก็แน่ใจได้ว่า  อหะระคณะที่คำนวณได้นั้นถูกต้อง.


ตัวอย่าง 22 : วาระธิปติยในชะตาตัวอย่าง :

นับจาก 4 จากวันอาทิตย์ตกวันพุธ  ดังนั้นพุธเป็นวาระธิปติยเพราะเกิดวันพุธ.


63.  อหะระคณะ เพื่อความสะดวกสำหรับนำศึกษาที่จะได้ปฏิบัติ  ในเรืองนี้ได้ย่ออหะระคณะจากวันสร้างมาเป็นจากสมมุติยุค ด้วยความเจตนาเพื่อให้ความสะดวกแก่นักศึกษา  ไม่ต้องลำบากและยุ่งยากในสิ่งที่ไม่จำเป็นในการคำนวณหาสฤษฏิย์อาทิอหะระคณะ.

ได้เลือกเอาวันต้นยุคของสมมุติยุคเมื่อวันพุธที่ 2 พฤษภาคม  พ.ศ. 2370 สฤษฏิย์อาทิอหะระคณะในวันต้นของสมมุติยุคได้  714,  406,  097,  641  วัน  จำนวนนี้เมื่อเอา 7 หารเหลือเศษ 4 แสดงให้เห็นว่าสมมุติยุคตกวนพุธ  ดังนั้นสมมุติยุคเริ่มเมื่อวันพุธที่ 2 พฤษภาคม  พ.ศ. 2370.

ในสูตร 1 เป็นอหะระคณะย่อของวันที่ 31 ธันวาคมทุกปี  จากวันวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2370  ถึงวันที่ 31 ธันวาคม  พ.ศ. 2493  และในสูตร 2 เป็นจำนวนวันจากวันที่ 1 มกราคม ถึงวันสิ้นเดือน  นักศึกษาอาจหาอหะระคณะสำหรับวันที่ต้องการได้โดยดูจากสูตร 1 และสูตร 2.

หาอหะระคณะวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนวันเกิดจากสูตร 1 แล้วเอาจำนวนวันจากวันที่ 1 มกราคม ถึงวันเกิดรวมเข้าด้วยกันทั้ง 2 จำนวนนี้ได้เป็นอหะระคณะ  แล้วเอาอหะระคณะนี้ทำต่อไปดังปรากฏในข้อ 60,  61  และ  62   แล้วนับเอาเศษจากวันพุธในเรื่องของการหาอพทะ,  มาสา,  และวาระธิปติยก็จะได้โดยง่าย.

ตัวอย่าง 23 : อหะระคณะในชะตาตัวอย่าง.

จากสูตร  1  และ  2.

จากสูตร  1  อหะระคณะวันที่  31/ 12/ 2460 = 33,116  วัน.

จากสูตร  2  จำนวนวันผ่านจาก.

วันที่ 1/ 1/ 2461  ถึงวันที่ 30/ 9/ 2461                                    273  วัน

จำนวนวันผ่านในเดือนตุลาคม  2461  ถึงวันเกิด                               16   วัน

33,116 + 273 + 16  = 33,405  อหะระคณะ.

ตัวอย่าง 24 : หาอพทะธิปติยในชะตาตัวอย่าง  จากอหะระคณะย่อ.

นับจาก 4 จากพุธ (ดูข้อ 60)  ตกวันเสาร์  ดังนั้นเสาร์เป็นอพทะธิปติย (เปรียบเทียบดูกับตัวอย่าง 20)

ตัวอย่าง 25 : หามาสาธิปติยะในชะตาตัวอย่าง  จากอหะระคณะย่อ


นับ 1 จากวันพุธตกวันพุธ  ดังนั้นพุธเป็นวาระธิปติย  (เปรียบเทียบดูกับตัวอย่าง 22)

64.  อีกวิธีหนึ่ง วิธีต่อไปนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่หาอหะระคณะได้เหมือนกัน  ในข้อ

89  อธิบายวิธีสำหรับหา ‘กาลกฤต’ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคำนวณมะยมสผุดของดาวเคราะห์  สำหรับวันประสงค์  เริ่มต้นจากสมมุติยุคหนึ่ง  (วันที่ 1 มกราคม  พ.ศ. 2443  ทีฆันดร 76 องศาตะวันออก)  และหาจำนวนวันจากสมมุติยุคนี้ถึงวันเกิดก็ได้  ‘กาลกฤต’  แล้วเอา 26,543 บวกเข้ากับกาลกฤตนี้  ผลบวกได้เป็นอหะระคณะย่อ  แล้วทำต่อไปตามวิธีในข้อที่แล้ว ๆ มา.

ตัวอย่าง 27 : หาอหะระคณะสำหรับวันเกิดของชะตาตัวอย่างตามวิธีในข้อ 64

‘กาลกฤต’  ตามในข้อ 89.

65.  อพทะพละ ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าปี  ๆ  เกิด  มีค่าของอพหะพละ 15  ษัษติอางศ.

ตัวอย่าง 28 : อพทะพละในชะตาตัวอย่าง  อพทะธิปติยได้แก่เสาร์  ดังนั้นเสาร์ได้อพทะพละ 15 ษัษติอางศ.

66.  มาสาพละ ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าเดือน ๆ เกิด  มีค่าของมาสาพละ 30 ษัษติอางศ.

ตัวอย่าง 29 : มาสาพละในชะตาตัวอย่าง  พุธเป็นมาสาธิปติย์  ดังนั้นพุธได้ มาสาพละ 30 ษัษติอางศ.

67.  วาระพละ ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าวัน ๆ เกิด มีค่าของวาระพละ 45 ษัษติอางศ.

ตัวอย่าง 30 : วาระธิปติยในชะตาตัวอย่าง  พุธเป็นวาระธิปติย  ดังนั้นพุธได้วาระธิปติยพละ 45 ษัษติอางศ.

68.  โหราพละ วันแบ่งออกเป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา  ทุกโหรามีดาวเคราะห์เป็นเจ้าโหรา  และดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าโหราหรือชั่วโมงเมื่อเกิด  มีค่าของโหราพละ 60 ษัษติอางศ.

69.  โหระ โหราหนึ่งเท่ากับ1/24 ของวัน  ทุกโหรามีดาวเคราะห์เป็นเจ้าโหราวันของโหราศาสตร์เริ่มแต่อาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ขึ้น  โหราที่ 1 ของวันเป็นชั่วโมงแรกเมื่อภายหลังอาทิตย์ขึ้นแล้ว  และโหราสุดท้ายเป็นชั่วโมงก่อนอาทิตย์ขึ้นของวันต่อไป.

ดาวเคราะห์ที่เป็นประธานเฉพาะวันหรือเป็นเจ้าโหราที่ 1 และดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าโหราต่อ ๆ ไปเป็นไปตามระเบียบของธรรมชาติ  เรื่องนี้ในคัมภีร์สุรยสิทธานตอธิบายระบบสุริยไว้ว่า  เสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุดจากพื้นพิภพ  พฤหัสบดี,  อังคาร,  อาทิตย์,  ศุกร์,  พุธ  และจันทร์ใกล้เข้ามาตามลำดับถึงใกล้ที่สุดแก่พื้นพิภพ  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ที่สุด  ทุก ๆ วันโหราที่ 1 ครองโดยดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าวัน ๆ นั้น  แล้วดาวเคราะห์อื่น ๆ ก็เป็นเจ้าโหราต่อ ๆ ไปตามลำดับที่ได้กล่าวมาแล้ว  เช่นในวันอาทิตย์โหราที่ 1 ครองโดยอาทิตย์  โหราที่ 2 โดยศุกร์  โหราที่ 3 พุธ  โหราที่ 4 จันทร์  โหราที่ 5 เสาร์โหราที่ 6 พฤหัสบดี  โหราที่ 7 อังคาร  โหราที่ 8 อาทิตย์  และเวียนกันมาครองเป็นลำดับต่อไปจนครบ 24 โหราซึ่งเป็นชั่วโมงสุดท้ายครองโดยพุธ  โหราที่ 25 หรือโหราที่ 1 ของวันต่อไปครองโดยจันทร์  และดังนั้นจึงเรียกว่าโสมวาระหรือจันทร์  โหราอื่น ๆ ในวันจันทร์ก็มีดาวเคราะห์ครองเรียงกันไปตามลำดับอย่างที่แล้วมา  และชั่วโมงแรกหรือโหราที่ 1 ของวันอังคารก็ครองโดยดาวเคราะห์อังคาร.

จะเห็นได้ในตารางต่อไปนี้ว่าชั่วโมงแรกของวันครองโดยดาวเคราะห์เจ้าวัน ๆ นั้น จากตารางนี้จะหาเจ้าโหราต่าง ๆ ได้ง่ายเมื่อรู้ลำดับชั่วโมงเมื่อเกิด.

ตารางโหรา

วัน           อาทิตย์           จันทร์          อังคาร          พุธ          พฤหัส           ศุกร์          เสาร์

โหราที่  1              อาทิตย์           จันทร์           อังคาร          พุธ          พฤหัส           ศุกร์          เสาร์

2              ศุกร์                เสาร์            อาทิตย์          จันทร์      อังคาร           พุธ           พฤหัส.

3              พุธ                 พฤหัส.         ศุกร์              เสาร์        อาทิตย์          จันทร์       อังคาร

4              จันทร์            อังคาร           พุธ               พฤหัส.    ศุกร์               เสาร์         อาทิตย์

5              เสาร์              อาทิตย์          จันทร์           อังคาร      พุธ               พฤหัส.      ศุกร์

6              พฤหัส.          ศุกร์               เสาร์             อาทิตย์     จันทร์           อังคาร       พุธ

7              อังคาร           พุธ                 พฤหัส.         ศุกร์         เสาร์              อาทิตย์      จันทร์

8              อาทิตย์          จันทร์             อังคาร          พุธ          พฤหัส.           ศุกร์          เสาร์

9              ศุกร์               เสาร์               อาทิตย์         จันทร์     อังคาร             พุธ           พฤหัส.

10              พุธ            พฤหัส.        ศุกร์             เสาร์         อาทิตย์         จันทร์        อังคาร

11            จันทร์              อังคาร         พุธ               พฤหัส.     ศุกร์              เสาร์         อาทิตย์

12            เสาร์                อาทิตย์        จันทร์           อังคาร      พุธ                พฤหัส.     ศุกร์

13            พฤหัส.            ศุกร์             เสาร์             อาทิตย์     จันทร์           อังคาร       พุธ

14            อังคาร              พุธ              พฤหัส.         ศุกร์          เสาร์             อาทิตย์      จันทร์

15            อาทิตย์             จันทร์          อังคาร          พุธ           พฤหัส.         ศุกร์           เสาร์

16            ศุกร์                  เสาร์            อาทิตย์         จันทร์       อังคาร          พุธ            พฤหัส.

17            พุธ                   พฤหัส.         ศุกร์              เสาร์        อาทิตย์         จันทร์        อังคาร

18           จันทร์               อังคาร          พุธ                พฤหัส.     ศุกร์             เสาร์          อาทิตย์

19            เสาร์                อาทิตย์         จันทร์            อังคาร      พุธ              พฤหัส.       ศุกร์

20           พฤหัส.             ศุกร์              เสาร์              อาทิตย์     จันทร์          อังคาร        พุธ

21           อังคาร               พุธ              พฤหัส.          ศุกร์          เสาร์            อาทิตย์        จันทร์

22           อาทิตย์              จันทร์          อังคาร           พุธ           พฤหัส.         ศุกร์             เสาร์

23            ศุกร์                  เสาร์            อาทิตย์          จันทร์       อังคาร          พุธ              พฤหัส.

24            พุธ                    พฤหัส         ศุกร์               เสาร์         อาทิตย์         จันทร์         อังคาร

70.  วิธีหาโหราพละ ทีแรกหาวันเกิดเป็นวันสัปดาห์  หาจำนวนชั่วโมงจากอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาเกิด  จำนวนชั่วโมงจะแสดงให้เห็นจำนวนโหราที่ผ่านไปแล้ว   เจ้าโหราที่ผ่านไปแล้ว  เจ้าโหราที่ 1 ได้แก่ดาวเคราะห์เจ้าวัน ๆ นั้น  แล้วหาเจ้าโหราเมื่อเวลาเกิดจากตารางโหรา  ได้ดาวเคราะห์ใดดาวเคราะห์นั้นมีค่าของโหราธิปติยพละ 60 ษัษติอางศ.

กฎที่ 1 ถ้ารู้ว่าเกิดเป็นเวลาสากล.


(เวลามัธยมท้องถิ่นเมื่อเกิด – เวลามัธยมท้องถิ่นเมื่ออาทิตย์ขึ้น)  ได้เท่ากับจำนวนโหราจากอาทิตย์ขึ้น

กฎ 2 ถ้าเวลาเกิดเป็นเวลาในวิธีของโหราศาสตร์



ตัวอย่าง 31 : โหราธิปติยในชะตาตัวอย่าง.

เวลาเกิดเป็นเวลาในวิธีของโหราศาสตร์   ทำตามวิธีของกฎ 2 เกิดเวลาภายหลังอาทิตย์ขึ้น 20 ฆฑิ 16 วิฆฑิ.


จันทร์เจ้าโหราที่ 9 ในวันพุธเป็นโหราธิปติย  ดังนั้นจันทร์ได้โหราธิปติยพละ 60 ษัษติอางศ.

71.  อะยนะพละ เมื่อเกิดดาวเคราะห์หนึ่ง ๆ อาจอยู่ทางทิศเหนือหรือทิศใต้ของศูนย์สูตร  และจากผลของพฤติการณ์เช่นนี้ดาวเคราะห์ได้กำลังหน่วยของษัษติอางศ  กำลังนี้เรียกว่าอะยนะพละ.

72.  กรานติ ได้อธิบายมาแล้วว่าเวหาเท่ห์  (ดูโหราวิทยาเล่ม 3)  ย่อมเคลื่อนไปทางทิศเหนือชั่วคราวแล้วก็กลับมาทิศใต้  ระยะของมุมจากจุดวิษุวัตรหรือเวหาศูนย์สูตรนี้เป็นกรานติหรือการปัดเยื้องไปการปัดเยื้องนี้ไปถือเอาเป็นบวก  หรือลบสุดแท้แต่ดาวเคราะห์ไปอยู่ทางซีกโลกเหนือหรือทางซีกโลกใต้.

เช่นตัวอย่างอาทิตย์โคจรผ่านหรือตัดเส้นเวลาศูนย์สูตรปีละ 2 ครั้งทุกปี  คือในเดือนมีนาคมหนหนึ่ง  และในเดือนกันยายนอีกหนหนึ่ง  กรานตินี้วัดได้จากสายะนะเคราะห์ คือ ถือเอาทีฆันดรของดาวเคราะห์จากจุดจักราศีเคลื่อนที่.

เมื่ออาทิตย์ได้ผ่านตัดเวหาศูนย์สูตรในเดือนมีนาคมแล้วก็โคจรปัดไปทางเหนือและการเยื้องปัดไปทางเหนือนี้เป็นกรานติบวกและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 24 องศา (23° 27' )  เมื่อนั้นอาทิตย์จะถึงจุดสุดท้ายของมิถุนาหรือ 90 องศาจากจุดเริ่มต้นของสายะจักรราศี 24 องศากราติหมายความว่าอาทิตย์โคจรถึงจุดเหนือที่สุดของซีกโลกเหนือเวหาภาค  แล้วกรานติจะลดลงทีละเล็กน้อยจนเป็น 0 แล้วอาทิตย์จะผ่านเส้นศูนย์อีกแลเริ่มปัดใต้  ขณะนี้อาทิตย์จะเป็นทักษิณกรานติหรือปัดใต้  อาการที่อาทิตย์โคจรเคลื่อนปัดใต้นี้เป็นกรานติลบแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 24 องศา (23° 27' )  เมื่ออาทิตย์ถึงจุดสุดท้ายของธนูหรือ 270


องศาจากจุดเริ่มต้นของสายะนะจักรราศีแล้วกรานติของอาทิตย์จะค่อย ๆ ลดลงจนถึง 0 เมื่อนั้นจะข้ามเส้นศูนย์สูตรเพื่อปัดขึ้นเหนือต่อไป.

73.  หากรานติ จากข้อความที่กล่าวมานี้นักศึกษาจะเข้าใจได้แจ่มแจ้งว่า  กรานติหรือการโคจรเยื้องปัดไปของดาวเคราะห์  ได้แก่ระยะของดาวเคราะห์จากจุดวิษุวัตรที่ใกล้ที่สุด  และจะต้องจำไว้ว่ากรานติที่มากที่สุด  (ของโหราศาสตร์ภารตะ)  เป็น 24 องศา  แต่ทางโหราศาสตร์ปัจจุบันนี้ว่า 23 องศา 27 ลิปดาหรือในราวนั้น  ความแตกต่างกันระหว่าง 2 จำนวนนี้อาจละทิ้งได้เพื่อความสะดวกในความประสงค์ทางโหราศาสตร์  จึงถือเอา 24 องศาเป็นกรานติสูงสุดของสายะนะเคราะห์ไว้สำหรับใช้ในการคำนวณ.

ปฏิทินสมัยนี้มีกรานติของดาวเคราะห์สำหรับเวลาเที่ยงมัธยมกรีนิชทุกวัน  แต่นักศึกษาอาจหากรานติเอาเองได้ด้วยวิธีคำนวณอย่างสามัญ  โดยทำตามวิธีต่อไปนี้ :

ทีแรกแปลงนิรายะนะฑีฆันดรของดาวเคราะห์เมื่อเกิดเป็นสายนฑีฆันตดร  หาภุชะของดาวเคราะห์  (ดูข้อ 60 ในโหราวิทยาเล่ม 3)  จะได้ระยะระหว่างจุดแรกของเมษหรือจุดแรกของดุล  ที่จุดสุดท้ายของ 15 องศาแรหหรือ 15 องศาที่ 1 (จากจุดหนึ่งของ 2 จุดข้างบนนั้น)  กรานติของดาวเคราะห์เป็น 323 ลิปดาของเรขา  และที่จุดสุดท้ายของ 15 องศาที่ 2 จะเพิ่มขึ้นอีก 341 ลิปดา  คือดาวเคราะห์ล่วงไปได้ 30 องศา (จากจุดหนึ่งจุดใดของ 2 จุดข้างบนนั้น)  กรานติของดาวเคราะห์นั้นเป็น 362 + 341 เท่ากับ 703 ลิปดาของเรขา หรือ 11 องศา 43 ลิปดา  และจุดสุดท้ายของ 15 องศาที่ 3 เพิ่มขึ้นอีก 299 ลิปดา และที่จุดสุดท้ายของ 15 องศาที่ 4  เพิ่มขึ้นอีก 230 ลิปดา  และจุดสุดท้ายของ 15 องศาที่ 5 เพิ่มขึ้นอีก 150 ลิปดา  และที่จุดสุดท้ายของ 15 องศาที่ 6 เพิ่มขึ้นอีก 52 ลิปดา.

สรุปความข้างบนนี้ได้ว่า เมื่อดาวเคราะห์โคจรล่วงไป 90 องศาจากจุดวิษุวัตรจุดหนึ่งจุดใดจะถึงกรานติที่มากที่สุดที่ 24 องศา  ภาคละ 15 องศาทั้ง 6 ภาคนั้นเป็นจำนวนองศาจุดวิษุวัตรซึ่งรวมทั้ง 6 ภาคได้ 90 องศา  ดังได้อธิบายมาแล้วในการหากรานติ.

47.  ทักษิณาและอุตตรากรานติ ดาวเคราะห์เป็นทักษิรกรานติหรือปัดใต้เมื่อสายะนะฑิฆันดรระหว่าง 180 ถึง 360 องศา  และเป็นอุตตรากราติหรือปัดเหนือเมือสายะนะฑีฆันดรระหว่าง 0 ถึง 180 องศา.

ตัวอย่าง 32 : แปลงนิรายะทีฆของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่างเป็นสายะนะฑีฆ. หาภุชะของแต่ละดาวเคราะห์และโดยภุขุนั้นได้กรานติของดาวเคราะห์.

ก.  แปลงนิรายะนะฑีฆ.  เป็นสายะนะฑีฆ.

ดาวเคราะห์                           นิรายะนะฑีฆ                             อายะนางศ                           สายะนะฑีฆ

อาทิตย์                                    179°      8'               +             21°     16'   =                         200°     24'

จันทร์                                     311°     40'                              21°     16'   =                         332°     56'

อังคาร                                    229°     49'                              21°     16'   =                         251°       5'

พุธ                                         180°     33'                              21°     16'   =                         201°     49'

พฤหัสบดี                                83°     35'                              21°     16'   =                         104°     51'

ศุกร์                                      170°        4'                              21°     16'   =                         191°     20'

เสาร์                                     124°       51'                             21°     16'   =                         146°       7'

เอา 15 หารภุชะผลหารได้เป็นจำนวนภาค (ของภาค 6 ที่ได้อธิบายมาแล้ว) ที่ผ่านมาแล้วจากจุดวิษุวัตร  เศษเป็นจำนวนองศาในภาคต่อไป  ซึ่งจะต้องหาดุลยภาคของกรานติจากเศษนี้ด้วยจึงจะได้กรานติที่ถูกต้อง.

เมื่อ 15 องศา: กรานติจากภาคหนึ่งภาคใด : เศษองศากรานติประสงค์ (ในภาคนั้น)  จำนวนของกรานตินี้ต้องบวกแก่จำนวนกรานติที่ได้จากจำนวนของภาคที่ผ่านมาแล้ว  และได้เป็นผลรวมของกรานติของดาวเคราะห์  เช่นอาทิตย์เป็นตัวอย่าง  นิรายะนะฑีฆ.  อาทิตย์ ได้ 179°  8'  เอาอายะนางศ 20°     25'    ดังนั้นภุฃุ (ระยะจากจุดวิษุวัตรที่ใกล้ที่สุด) ได้ 20° 25'    เอา 15 หารได้ผลหาร 1 และเศษ 5°     24'   ผลหาร 1 เป็นภาคที่ 1 ของ 15 ที่ได้ผ่านมาแล้วจากจุดวิษุวัตร  และจำนวนของกรานติเนื่องจากภาคที่ 1 นี้เป็น 362 ลิปดา และ 5° 24'    นี้เป็นจำนวนผ่านต่อไปคือภาคที่ 2 และจำนวนของกรานติที่เนื่องจาก 5°  24'    นี้เป็นจำนวนผ่านต่อไปคือภาคที่ 2 และจำนวนของกรานติที่เนื่องจาก 5° 24'    ก็เท่ากับ 15 : : 341 (กรานติจากภาคที่ 2)  : : 5  24 (เศษ) : กรานติประสงค์ในภาคนั้น.

ดังนั้น


เอาจำนวนนี้บวกเข้ากับ 362'   (เนื่องจากภาคที่ 1 หรือได้ผ่านมาแล้ว 15 องศา)  ได้ 484'   .76 หรือ 5° .07 เป็นจำนวนกรานติของอาทิตย์  และเพราะว่าทีฆ. ของอาทิตย์อยู่ในระหว่าง 180° ถึง 360'

ดังนั้นกรานติของอาทิตย์เป็นกรานติใต้ 8°  .07


ข.  ภุชะของดาวเคราะห์ (ดูวิธีหาภุชะในโหราวิทยา เล่ม 3 ข้อ 60)

ดาวเคราะห์                    ภุชะ                       ภุชะ  15° จำนวนองศาและภาคที่ผ่านมาแล้ว

อาทิตย์                        20° 24'                20° 24'   ÷ 15 =                      5      25'   และ 1 ภาค

จันทร์                       27°   4'                27°   4'   ÷ 15 =                     12       4'      ,,   1    ,,

อังคาร                      71°   5'                71°   5'   ÷ 15 =                     11       5'      ,,   4    ,,

พุธ                           21° 49'                21° 49'   ÷ 15 =                       6     49'      ,,   1    ,,

พฤหัสบดี                75°   9'                75°    9'   ÷ 15 =                       0       9'      ,,   5    ,,

ศุกร์                         11° 20'                11°  20'   ÷ 15 =                     11     20'      ,,   0    ,,

เสาร์                        33° 53'                33°  53'   ÷ 15 =                       3     35'      ,,   2    ,,


ค.  กรานติของดาวเคราะห์

อาทิตย์                                362'   + ( 5°                  24'  ÷ 15 x 341 ) =   8°.07     ใต้

จันทร์                                 362'   + ( 12°                  4'  ÷ 15 x 341 ) =  10.60      ใต้

อังคาร                              1238'   + ( 11°                  5'  ÷ 15 x 153 ) =  22.48      ใต้

พุธ                                     362'   + ( 6°                  49'  ÷ 15 x 345 ) =    8.60      ใต้

พฤหัสบดี                        1388'   + ( 0°                    9'  ÷ 15 x   52 ) =  23.14     เหนือ

ศุกร์                                   . . . . . + ( 11°                20'  ÷ 15 x 362 ) =    4.56      ใต้

เสาร์                                   703'   + ( 3°                 53'  ÷ 15 x 299 ) =  13.00     เหนือ


75.  อะยนะพละ ถ้าดาวเคราะห์อยู่ที่เส้นศูนย์สูตรได้อะยนะพละ 30 ษัษติอางศ  ถ้าดาวเคราะห์เป็นกรานต์บวก  จำนวนนั้จะเพิ่มขึ้น  ถ้าดาวเคราะห์เป็นกรานติลบจำนวนนั้นจะถูกลดลง.

อะยนะพละได้จากกฎต่อไปนี้ :

สำหรับอาทิตย์,  อังคาร,  พฤหัสบดี,  และศุกร์ถ้ากรานติเหนือเป็นบวก  ถ้ากรานติใต้เป็นลบ  สำหรับจันทร์และกรานติใต้เป็นบวกกรานติเหนือเป็นลบ  สำหรับพุธเป็นบวกทั้งกรานติเหนือและกรานติใต้  และสำหรับอาทิตย์ได้อะยนะพละเป็น 2 เท่า.


ดาวเคราะห์                          กรานติเหนือหรือใต้                             บวกหรือลบ

อาทิตย์   อังคาร

พฤหัสบดี  ศุกร์                           เหนือ                                            บวก

อาทิตย์   อังคาร                          ใต้                                               ลบ

พฤหัสบดี  ศุกร์

จันทร์   เสาร์                               ใต้                                                  บวก

จันทร์   เสาร์                               เหนือ                                                 ลบ

พุธ                                           เหนือหรือใต้                                           บวก

(อาทิตย์ได้อะยนะพละ 2 เท่า)


ตัวอย่าง 33 : หาอะยะนะพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.

อาทิตย์                      24° -   8°.07    ÷ 48 X 60   =   19.91 X  2  =  39.82                   ษัษติอางศ

จันทร์                       24° -  10° .6    ÷ 48 X 60   =                           43.25                      ,,

อังคาร                      24° -  22° .48  ÷ 48 X 60   =                             1.90                      ,,

พุธ                           24° -  8°.6      ÷ 48 X 60   =                            40.75                     ,,

พฤหัสบดี                  24°. +  23.14°÷ 48 X 60   =                               58.92                   ษัษติอางศ

ศุกร์                           24°. -  4.56° ÷ 48 X 60   =                           24.30                        ,,

เสาร์                          24°. -  13.00° ÷  48 X 60   =                           13.75                     ,,

76.  ยุทธพละ ถ้าดาวเคราะห์ร่วมราศีเดียวกันและระยะระหว่างดาวเคราะห์นั้นน้อยกว่า 1 องศา  ดาวเคราะห์ทุกดาวเคราะห์อยู่ในกฎของเคราะห์ยุทธ  เว้นอาทิตย์และจันทร์ดาวเคราะห์ที่ชนะได้แก่ดาวเคราะห์ที่มีทีฆันตรน้อยกว่า.

เมื่อดาวเคราะห์อยู่ในกฎของเคราะห์ยุทธ  ให้หาผลรวมของพละต่าง ๆ คือสถานะพละทิคพละและกาลพละ  (ถึงโหราพละ)  พิจารณาหาคู่ของเคราะห์ยุทธ  แล้วหาความแตกต่างระหย่างผลรวมของคู่เคราะห์ยุทธ  (การหาผลต่างกันจำนวนน้อยต้องลบจากจำนวนมาก)  แล้วหาผลต่างกันของผลรวมนี้ด้วยผลต่างกันของระยะผ่านศูนย์กลาง  (พิมพะปะริมะนะ  ดูข้ 77)  ของคู่เคราะห์ยุทธ  และผลหารซึ่งเป็นยุทธพละต้องบวกแก่ผลรวมของกาละพละ  (จากรายละเอียดนั้น ๆ )  ของดาวเคราะห์ที่เป็นฝ่ายชนะ  และลบจากผลรวมของกาละพละของดาวเคราะห์ฝ่ายแพ้ผลจากอย่างหนึ่งอย่างเป็นกาละพละภายหลังเคราะห์ยุทธ.

77.  พิมพะปะริมะนะ พิมพะปริมะนะหมายความว่าระยะผ่านศูนย์กลางของดาวเคราะห์  มีดังนี้ :

ดาวเคราะห์                                          พิมพ์พะปะริมะนะ

อังคาร                                                   9 " .4   ของเรขา

พุธ                                                        6" .6         ,,

พฤหัสบดี                                                190" .4      ,,

ศุกร์                                                       16" .6       ,,

เสาร์                                                       158" .0     ,,

ตัวอย่าง 34 : หาเคราะห์ยุทธของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง  ในชะตาตัวอย่างไม่มีดาวเคราะห์  ในทีฆ. เดียวกัน  เพราะฉะนั้นไม่มีเคราะห์ยุทธ.

78.  ผลรวมของกาละพละ รายการต่าง ๆ ของกาละพละเมื่อได้รวมกันเข้า  ได้เป็นผลรวมของกาละพละ.

ตัวอย่าง 35 : หาผลรวมของกาละพละ


พละ                       อ                 จ                 ภ                 ว                 ช               ศ                ส

นโตนะนะพละ          48.740        11.160         11.160        60.000        48.740       48.740        11.160

ปักษพละ                   15.730        88.340         15.830        44.170        44.180       44.180        15.830

ไตรภาคพละ                - - -            - - -               - - -             - - -           60.000          - - -           60.000

อพทะพละ                   - - -            - - -               - - -             - - -              - - -            - - -           15.000

มาสาพละ                    - - -            - - -               - - -           30.000           - - -             - - -             - - -

วาระพละ                    - - -            - - -               - - -           45.000           - - -             - - -             - - -

โหราพละ                   - - -         60.000             - - -              - - -             - - -             - - -             - - -

อะยนะพละ             39.820       43.250           19.000        40.750         58.920        24.300         13.750

ยุทธพละ                    - - -            - - -                - - -             - - -             - - -             - - -               - - -

ผลรวมกาละพละ  104.490      202.750         27.790       209.720       211.930      117.310       115.750