Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวฮินดูมีเฉลิมฉลองทั่วประเทศอินเดีย, เนปาลและบังคลาเทศ
ชื่อวัน”ทศหรา” มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงการกำจัดสิ่งชั่วร้ายสิบอย่าง คือชัยชนะของพรรามที่ต่อราชาแห่งยักษ์ทศกัณฐ์ที่มี 10 เศียร นอกจากนี้ก็ยังเป็นวันแห่งชัยชนะของพระแม่ทุรคาที่มีต่อปีศาจ”มหิงษาอสูร” หรือ ปิศาจกระบือ ชื่อวันวิชัยะ ทศมีมาจากภาษาสันสกฤต หมายความตามตัวอักษร คือ ชัยชนะแห่งดิถีที่สิบ ( 10ค่ำ)

 

 

 

ซึ่งวันนี้จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่สิบของเดือนของอัศวินตามปฏิทินฮินดูซึ่งตรงกับเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคมของปฏิทินสากล ในเก้าวันแรกวันจะเฉลิมฉลองในชื่อของเทศกาล มหานวราตรี หรือ ศารท นวราตรี และวันที่ 10 จะเป็นวันวิชัยะ ทศมี
ในประเทศอินเดีย ฤดูเก็บเกี่ยวจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานี้ และจะมีการอัญเชิญและบูชาพระแม่เพื่อฉลองฤดูเก็บเกี่ยว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินตามความเชื่อในศาสนาฮินดู วันนี้ชาวฮินดูจะทำการบูชาพระแม่ที่บ้านของตนและในวัดทั่วทั้งเนปาลและอินเดีย

 

ชัยชนะของพระรามที่มีต่อทศกัณฐ์

ในวันหนึ่งแห่งไตรดายุค พระรามหรือที่เรียกว่า ศรีราม เป็นอวตารองค์ที่เจ็ดของพระนารายณ์ ได้ทำการปราปทศกัณฐ์ ที่ได้ลักพาตัว นางสีดา มเหสีของพระรามไปยังกรุงลังกา ตามเรื่องราวในมหากาพย์รามายณะ

พระราม ได้ทำพิธี “จันทิ โฮมา”เพื่อพรจากพระแม่ทุรคา จนได้รู้ความลับและวิธีที่จะฆ่าทศกัณฐ์ ได้สำเร็จ  และเมื่อได้รับชัยชนะ พระรามจึงพานางสีดากลับไปยังเมืองอโยธยา ในวันที่ 30ของเดือนอัศวิน ( ประมาณ19-20 วันหลังจากวันวิชัยะ ทศมี ) ขณะที่พระรามกลับมายังคนรอโยธยาในเวลาเย็น ชาวเมือง อโยธยา ต่างก็จุดประทีปโคมไฟนับล้านดวงเพื่อต้อนรับพระรามและนางสีดาสู่พระนคร  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วันนี้ จึงมีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศอินเดีย คือเทศกาล ทีปวาลี หรือ ดิปวาลี

ในวันนี้ชาวฮินดูจะทำพิธี “อทิตยา โฮมา” ทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้าย 10 อย่าง  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนจาก 10 หัว ของ ทศกัณฐ์ ดังนี้: 1.กาม วาสนะ 2.โกรธะ 3.โมหะ 4.โลภะ 5.มานะ(ความถือตัว) 6.มัทสระ(ความริษยา) 7.มนัส(ความชั่วร้ายในใจ) 8.อพุทธิ ( ความโง่เขลา) 9.อจิตตะ (ความไม่ใส่ใจ) 10.อหังการ

นอกจากนี้ชาวฮินดูมักจะสวดมนต์บท “มหา สุริยา”และ “อรุณะ ปาปะทกะ” เพื่อทำให้ การทำงานของ หัวใจสมอง และ ระบบย่อยอาหารมีความสมดุล ในกรณีที่ไม่มี แสงแดด เพียงพอในฤดูหนาว

 

ชัยชนะของพระแม่ทุรคาที่มีต่อมหิงษาอสูร

เหล่าปีศาจหรืออสูร ที่มีพลังอำนาจต่างก็มีความทะเยอทะยานและพยายามที่จะเอาชนะเทวดพื่อเข้ายึดครองสวรรค์

มีอสูรร้ายตนหนึ่ง ชื่อว่า “มหิษาอสูร” หรืออสูรควายที่มีอิทธิฤทธิ์มากได้เข้ายึดครองและทำความพินาศให้กับโลก เหล่าเทวดาทั้งหลายก็พ่ายแพ้แก่กองทัพของมหิษาอสูร โลกกลายเป็นยุคมืด จนกระทั่งเหล่าเทพเจ้าทั้งหลายต้องรวมพลังกันจนกลายเป็น”พลังแห่งศักติ” พลังงานหนึ่งเดียวในจักรวาลที่ทรงอิทธิฤทธิ์พอที่จะพิฆาตมหิสาอสูรได้สำเร็จ

ประกายแสงแห่งพลังอันสูงสุดประดุจฟ้าผ่าได้ไหลออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหมพระวิษณุและพระศิวะและปรากฏเป็นรูปหญิงสาวที่สวยงามพร้อมด้วยมือทั้งสิบ เทพเจ้าทั้งสามได้ให้อาวุธพิเศษทั้งหมดของพระองค์ให้กับนาง  กลายเป็นเทพีทุรคาประทับนั่งบนสิงโต  พระแม่ทุราได้ต่อสู้กับมหิงษา อสูรเป็นเวลาเก้าวันและคืน ในที่สุดในวันที่สิบของเดือนอัศวินศุกละ ปักษ์ (10 ค่ำ) มหิษาอสูรก็พ่ายแพ้และถูกฆ่าโดยพระแม่ทุรคา

ดังนั้นวันทศหราหรือเป็นที่รู้จักกันในวัน นวราตรี คือการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่ทุรคา ซึ่งเป็นรูปแบบพลังงานแห่งศักติ (สตรี) ด้านหนึ่งแสดงความอ่อนโยนและปกป้องและอีกด้านหนึ่งแสดงความรุนแรงและการทำลายล้าง