Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

การทดสอบผลการพยากรณ์นิมิตเรื่องดาวหาง

เมื่อได้ทำการพยากรณ์นิมิตเรื่องดาวหางแล้ว โหรโบราณท่านหาได้ออกคำพยากรณ์ไปเลยทีเดียวไม่ ท่านยังคงใช้วิธีการอื่นในการตรวจสอบผลการพยากรณ์นิมิตเรื่องดาวหางต่อไปอีก ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “การสอบพระเคราะห์เมือง”
วิธีการสอบพระเคราะห์เมืองนั้น มีมากมายหลายวิธี แต่พระคัมภีร์ที่เป็นหลักในการตรวจสอบนั้นก็คือ

1. คัมภีร์นครพังก์สะ
2. คัมภีร์จุฬามณี
3. คัมภีร์โสฬสมหานคร และ
4. คัมภีร์ราชมัฏตัน

ปกรณ์โหรทั้ง 4 คัมภีร์นี้ล้วนแล้วแต่มีวิธีการในการสอบพระเคราะห์เมืองทั้งสิ้น ดังเช่นในคัมภีร์จุฬามณี กล่าวว่า ให้ทำดวงจุฬามณีอัฏฐจักรขึ้น และทำฤกษ์ “กลีพัตร” ขึ้น แล้วพึงพิจารณาดูว่า หากพระ 1 หรือพระ 2 หรือพระ 7 จรมาต้อง “ฤกษ์กลีพัตร” แล้ว จะบังเกิดเหตุการณ์วิปริตต่าง ๆ ตะวันและรัศมีพระจันทร์จะมืดมัวเป็นควัน และมีเหตุการณ์บังเกิดขึ้น หากพระ 3 มาต้อง จะบังเกิดดาวตกหรือยอดประธานแก่แผ่นดินจะหักพังลงมา ... ฯ เป็นต้น ซึ่งที่มีหลักฐานอยู่นั้น จะเห็นมีปรากฏในคัมภีร์นครพังก์สะ และในคัมภีร์โสฬสมหานคร นั้น ได้มีหมายเหตุ ปูมโหร ตอนท้ายกำกับอยู่ด้วย จึงเชื่อว่า แต่เดิมนั้น โหรจะต้องคอยทดสอบ เรื่องนิมิต กับผลการออกคำพยากรณ์อยู่เสมอ

ดังเช่นที่ปรากฏในปูมโหรเมื่อปี จ.ศ.1192 (พ.ศ.2373) ภายหลังจากที่มีดาวหางปรากฏทางโหรก็ได้พยากรณ์ “พระเคราะห์เมือง” แล้วเห็นว่าร้ายจึงได้ถวายความเห็นว่า เห็นสมควรสะเดาะเคราะห์ โดยให้ตั้งพิธียิงปืนอาฏานา ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้นจึงเห็นควรศึกษาการพยากรณ์พระเคราะห์เมืองควบคู่ไปด้วยกันด้วยโดยขอแสดงบทคัมภีร์อย่างย่อ กล่าวคือ


บทปกรณ์ว่าด้วยการคำนวณเคราะห์เมือง

ตั้งจุลศักราชลง เอาเกณฑ์เมืองคูณ เอา 312 หาร เศษเป็นเกณฑ์ตราไว้ ตั้งเกณฑ์ลงเอา 16 หาร เศษ 0 จะเป็นอุบาทว์แล เศษ 1 จะเดือดเนื้อร้อนใจ เศษ 3 ไฟจะไหม้บ้านเมือง เศษ 10 อุบาทว์ใหญ่แล เศษ 11 จะเกิดกลียุค เศษ 13 ไฟจะไหม้บ้านเมือง เศษ 7 , 8 ศึกจะลัดเข้าเมือง เจ้าเมืองจะตกใจแล ฯ

พิจารณาเดือน ตั้งเกณฑ์ลง เอา 12 คูณ บวกเดือนเข้า เอานามเมืองคูณ เอา 312 หาร เศษนั้นเอา 16 หาร เศษทายดุจปีแล

ผิวจะรู้จักวัน เอาเกณฑ์ตั้ง เอา 12 คูณ บวกเดือนเข้า เอานามเมืองคูณ เอา 312 หาร เศษนั้นเอา 16 หารเศษ ทายดุจก่อนแล ผิวว่าเศษเป็น 0 ทั้ง ปี เดือน วัน 3 อย่าง ร้ายนักแล ฯ

อีกกลวิธีหนึ่ง
ตั้งมหาศักราชขึ้นเอา 108 หาร เศษเป็นเกณฑ์ตราไว้ ตั้งเกณฑ์ลงแล้วเอา นามเมือง อายุเมือง บวกเข้า เอา 9 หาร เศษ 0 , 1 , 3 ไฟจะไหม้บ้านเมืองปีนั้น เศษ 7 , 8 ศึกจะเข้าเมือง เศษ 2 , 4 , 5 , 6 บ้านเมืองจะอยู่เป็นสุขแล ฯ

ตั้งเกณฑ์ลง เอา 12 คูณ บวกเดือนเข้า เอาอายุเมือง นามเมือง บวกเข้า เอา 9 หาร เศษทายดุจปีเดือนนั้นแล ฯ

ตั้งอายุเมืองลง เอา 12 คูณ เอา 4 บวก เอา 12 หาร เศษนับแต่พฤษภไป ตกราศีใด ไฟไหม้ในเดือนนั้นแล


ผิวจะรู้จักวัน เอาเกณฑ์ตั้ง เอา 12 คูณ บวกเดือนเข้าเอา 30 คูณ บวกดิถีเข้าเอา 7 หาร เศษ 0 , 1 , 3 ไฟจะไหม้บ้านเมืองในวันนั้นแล ปีเดือนวันอย่าสนเท่ห์เลย

ตั้งสมผุสพระอาทิตย์ลงเอา 30 คูณราศี บวกองศาขึ้นเอา 60 คูณ บวกลิปดาขึ้น เอาอักษรเมืองคูณ เอานามเมืองคูณ เอา 9 หาร ผิวเศษ 0 , 1 , 3 ไฟจะไหม้ในเวลาเช้า 32 ชั้นฉายแล เศษ 3 ได้ 9 ฉายาเช้า เศษ 7 ตะวันบ่าย 6 ฉายา เศษ 8 ได้ 16 ฉายาบ่าย เศษ 2 เวลาพลบค่ำ เศษ 4 , 5 , 6 จะไหม้กลางคืนวันนั้นแล ฯ ตำรานี้แม่นนัก

ประการหนึ่ง ตั้งสมผุสอาทิตย์วันนั้นลง เอา 30 คูณราศี บวกองศา เอา 60 คูณ บวกลิปดาขึ้น เป็นเกณฑ์ตราไว้ ตั้งเกณฑ์ลง 2 ฐาน ฐานบนเอา 16 หาร เศษ 0 ไฟไหม้วันนั้นแล ฐานล่างเอา 40 หาร เศษ 0 , 1 , 3 ไฟไหม้วันนั้นแล ฯ
ตั้งมหาศักราชลง เอา 108 หาร เศษเป็นคามเกณฑ์ตราไว้ ตั้งคามเกณฑ์ลง บวกนามเมืองเข้า เอา 9 หาร ผิวเศษ 0 ดังนี้ ชื่อว่า สูญตกกลางเมือง เมืองจะเสียแล ผิวเศษ 1 ชื่ออาทิตย์ตกกลางเมือง เจ้าเมืองจะพลีดพรากจากบ้านเมืองไป ผิวเศษ 2 เจ้าเมืองและราษฎรจะอยู่เย็นเป็นสุขมากแล ผิวเศษ 3 ไฟจะไหม้บ้านเมือง ผิวเศษ 4 ดีนัก เศษ 5 เจ้าเมืองจะได้ลาภ เศษ 6 เจ้าเมืองและราษฏรจะมีความสุขเป็นอันมาก ผิวเศษ 7 จะมีศึกตกกลางเมือง ผิวเศษ 8 ข้าวจะแพงจะมีศึกด้วย

กลหนึ่งตั้งคามเกณฑ์ลง เอานามเมือง ทักษาเมืองบวกเข้า เอา 9 หาร ผิวเศษ 0 , 1 , 3 เมืองนั้นจะมีศึกในปีนั้นแล ผิวเศษ 2 , 4 , 5 , 6 จะมีชนต่างเมืองมาสู่โพธิสมภารในปีนั้นแล ผิวเศษ 7 , 8 ข้าศึกจะเข้าเมือง โจรจะปล้นในปีนั้นแล

ผิวจะรู้ว่าเดือนใด เอาคามเกณฑ์ตั้งลงเอา 12 คูณ นับเดือน 6 เป็นต้นไก้เท่าใดบวกเข้า เอานามเมือง ทักษาเมืองบวกแล้ว เอา 9 หาร เศษทายดุจก่อนนั้นแล ฯ

ผิวจะรู้ว่าวันใด ตั้งคามเกณฑ์ลง เอา 12 คูณ บวกเดือนเข้า เอา 30 คูณ บวกดิถีเข้าเอานามเมือง ทักษาเมืองบวกเข้า แล้วเอา 9 หาร เศษทายดุจก่อนแล ฯ


ถ้าจะดูเคราะห์เมือง ตั้งจุลศักราชปีนั้นลง เอา 108 หาร เศษออกเป็นเกณฑ์ตราไว้ แล้วจึงตั้ง เกณฑ์ลง เอานามเมืองบวก เอา 3 คูณ 9 หาร ผิวเศษ 0 , 1 , 3 ทำนายว่าจะเกิดเหตุขึ้นในเมืองนั้นปีนั้น มิฉะนั้นจะเกิดศึก เกิดเพลิง เกิดไข้ อีกอย่างหนึ่งน้ำจะท่วมคนจะทำร้ายแก่เจ้าเมือง จะเสียบ้านเมืองแล ถ้าเศษ 7 , 8 จะเกิดโจรผู้ร้าย ความสุขน้อย ผิวเป็นเศษดังนี้ 2 , 4 , 5 , 6 ทำนายว่า บ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุข แก่อาณาประชาราษฏรทั้งปวงแล

ถ้าจะดูว่าเหตุเกิดเดือนใด ให้ตั้งมาสเกณฑ์เดือนนั้นลง เอานามเมืองบวก 3 คูณ 9 หาร เศษเป็นเคราะห์เดือน นายดุจก่อนเถิด ฯ

ถ้าจะดูเคราะห์เมือง ว่าดีหรือร้าย ให้ตั้งจุลศักราชปีนั้นลงเอา 12 หาร เศษตราไว้เป็นเกณฑ์ ตั้งเกณฑ์ลงเอา 7 หาร

ผิว่าได้เศษ 1 , 2 ทำนายว่าจะเกิดเพลิงทั้ง 8 ทิศแล ฯ
ผิว่าได้เศษ 3 ขุนนางจะมีความสุข ฯ
ผิว่าได้เศษ 4 ว่าอาณาประชาราษฏร จะคิดการลามกแก่แผ่นดิน ฯ
ผิว่าได้เศษ 5 ราษฏรจะมีความสุข ฯ
หากเป็นเศษ 6 ว่าราษฏรนั้นจะเป็นโจรคิดกบถ ศึกมาแต่ทิศทั้งปวง ฯ
เศษ 0 ขุนนางผู้น้อยจะได้เป็นใหญ่ขึ้น จะได้ยศศักดิ์ต่างๆ นั้นแล ฯ


บทปกรณ์ว่าด้วยการคำนวณพระเคราะห์เฝ้าเมือง

ให้ตั้งมหาศักราชลง เอานามเมืองคูณ เอา 4 ลบ เอา 9 หาร

เศษ 1 ว่าพระ 1 เฝ้าเมือง ไฟจะแรงไหม้บ้านเมือง ฝูงชนจะทำไร่นายาก
ลางแห่งให้ผล ลางแห่งมิให้ผล จะแพ้ผู้ใหญ่แล ฯ
เศษ 2 ว่า พระ 2 เฝ้าเมือง ว่าเจ้าเมืองอื่น จะเอาลาภมาให้
เมื่อปลายปีข้าวจะแพงหน่อยหนึ่ง
เศษ 3 ว่า พระ 3 เฝ้าเมือง ว่าคนจะเกิดรบพุ่งกันปีนั้น
จะเกิดโจรขโมยเที่ยวลักปล้นตีชิงกันทุกแห่ง ไฟจะไหม้บ้านไหม้เมือง
ข้าวจะแพงแล ฯ
เศษ 4 ว่า พระ 4 เฝ้าเมือง จะแพ้เศรษฐีผู้ใหญ่ จะแพ้สัตว์สี่เท้าสองเท้าแล ฯ
เศษ 5 , 6 ว่า พระ 5 , 6 เฝ้าเมือง ว่าประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข ฯ
เศษ 7 , 8 ว่า พระ 7 , 8 เฝ้าเมือง ว่าคนจะตื่นไฟตื่นศึกแล ฯ
เศษ 0 ว่า พระ 9 เฝ้าเมือง ว่าผลผลาหารจะโหดหื่น ฝูงชนจะร้อนใจมากนักแล ฯ

บทปกรณ์ว่าด้วยการคำนวณพระเคราะห์ผุดกลางเมือง

ผิว์ จะรู้ว่าพระเคราะห์ตัวใดผุดกลางเมือง ให้ตั้งมหาศักราชลง เอาชื่อเจ้าเมืองบวก แล้วเอา 5 บวกเข้า เอา 9 หาร

เศษ 1 ว่า พระ 1 ผุดกลางเมือง ว่าคนทั้งหลายจะเกิดทุกข์ไข้เจ็บมากนัก ฯ
เศษ 2 ว่า พระ 2 ผุดกลางเมือง ว่าคนทั้งหลายจะอยู่ดีกินดีแล ฯ
เศษ 3 ว่า พระ 3 ผุดกลางเมือง จะเกิดโจรผู้ร้ายขโมยทุกแห่ง ฯ
เศษ 4 ว่า พระ 4 ผุดกลางเมือง ชนทั้งหลายอยู่ดีมีศีลธรรม บ้านเมืองก็ดีแล ฯ
เศษ 5 ว่า พระ 5 ผุดกลางเมือง ว่าตามพุธแล ชนทั้งหลายอยู่ดีมีศีลธรรม บ้านเมืองก็ดีแลฯ
เศษ 6 ว่า พระ 6 ผุดกลางเมือง ว่าจะเกิดลมร้ายพัดฝนไปตกไกล และพายุใหญ่มากนักแล ฯ
เศษ 7 , 8 ว่า พระ 7 , 8 ผุดกลางเมือง ว่าจะเกิดความไข้ระบาด และพายุร้าย บ่ ว่า สาลวนกลางเมือง แล ฯ
เศษ ๐ ว่า พระ 9 ผุดกลางเมือง ว่าลมจะพัดแรง คนจะเกิดแพ้ภัย แล ฯ

(หมายเหตุ - บันทึกของ อจ.บุญเรือน ว่าต้นฉบับเดิมเขียนว่า “แพร่พราย” จะหมายถึงแพ้หลาย หรือแพ้ภัยไม่ได้ความชัด ตามความเห็นส่วนตัวของท่านอาจารย์ว่าจะเกิดเหตุการณ์สาลวนยุ่งเหยิงผิดพลาด ต่างๆ )

บันทึกหมายเหตุ
ตามตำราในภาคคำนวณ ได้กล่าวถึง ทักษาเมือง นามเมือง อายุเมือง อักษรเมือง พลเมือง ไว้ แต่ตัวเลขสำเร็จที่จะใช้พยากรณ์ในปัจจุบันนั้น มิได้มีการกล่าวถึงได้ตรวจสอบในคัมภีร์จุฬามณีกลีพัท คัมภีร์นครพังก์ คัมภีร์โสฬสมหานคร คัมภีร์ราชมัฏตัน และอื่นๆแล้ว ก็ไม่ได้เลขสำเร็จ คงมีแต่เลขสำเร็จสำหรับใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น

ส่วนวิธีการคำนวณ อักษรเมือง นั้น ท่านมีปรากฏในคัมภีร์ราชมัฏตันแล้ว
ดังมีปรากฏในการสอบปูมโหร กับบทพยากรณ์ตามคัมภีร์โสฬสมหานครที่ใช้พยากรณ์บ้านเมืองว่า “ผิว์จะดูเคราะห์เมือง ท่านให้เอาจุลศักราชพันกัน เอานามเมืองบวก เอา 9 หาร ถ้าเศษ 2 , 4 , 6 ท่านว่าดี เมืองเป็นสุขเกษม ถ้าเศษ 0 , 1 , 3 , 7 , 8 ท่านว่า จะเกิดศึกและอุบาทว์ต่างๆ ฝนจะแล้งด้วยแล ฯ ”

บันทึกจากปูมโหร มีว่า


เมื่อครั้งศักราช 972 เศษ 8 พวกจีน ญี่ปุ่น คิดกบฏยกเข้าเมืองกรุงเก่า
ศักราช 983 เศษ 1 คนออกฝีดาษล้มตายมาก
ศักราช 984 เศษ 8 พระยาช้างเผือกล้ม ชนออกฝีดาษล้มตายมาก
ศักราช 1018 ปีวอก เศษ 0 วุ่นวายด้วยพระองค์ไชย พระธรรมราชา กบฏ แล ฯ
ศักราช 1050 ปีมะเส็ง เศษ 8 ครั้งนั้นวุ่นวายด้วยวิชชาเยนทร์ ฝรั่งคิดกบฏ พระนารายณ์ เมืองลพบุรี แล ฯ
ศักราช 1127 ปีระกา เศษ 3 พม่ายกมาล้อมกรุงเก่า คนออกฝีตายมาก
ศักราช 1138 ปีวอก 1139 ปีระกา เศษ 7 เสียเมืองพิษณุโลกแก่พม่า
พวกพม่ายกไปทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้านระแหง ต้องอดข้าวโซล้มตายลงเป็นอันมาก ฯ
ศักราช 1148 ปีมะเมีย เศษ 6 พม่ายกทัพมา พม่าต้องแตกทัพหนีตายเป็นอันมาก ฯ
ศักราช 1188 ปี จอ เศษ 8 เสียเมืองโคราชแก่อนุ เมืองเวียงจันทร์ คนตายมาก ฯ


หายนะปี พ.ศ.2540 หลังจากดาวหางเฮล-บอปพ์มา

เดือนพฤษภาคม 2540
26 พ.ค.40 โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย 20,000 ล้านบาท (มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์)
21 พ.ค.40 การรับปรุงภาษีสรรพสามิต
12 พ.ค.40 องค์การบริหารสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระเมินมูลค่าของหลักประกัน
8 พ.ค.40 ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ จัดเก็บตามใบขนสินค้า เดือนเมษายน 2540
7 พ.ค. 40 โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล
7 พ.ค.40 การให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ ฯ
2 พ.ค.40 การสั่งเลิกการควบคุม ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด (มหาชน)

เรือเฟอร์รี่ล่ม ชายฝั่งภูเก็ต

*วันที่ 4 พฤษภาคม 2540 เวลา 09.00 น.เกิดเหตุเรือเฟอร์รี่ชนหินโสโครก ล่มระหว่างน่านน้ำภูเก็ต-พังงา-กระบี่ เหตุเกิดบริเวณหินหมูสัง อ.เกาะยาว จ.พังงา ผู้โดยสารพร้อมลูกเรือ จำนวน 722 คนรอดตาย ขณะที่เรือเฟอร์รี่จะพานักท่องเที่ยวไปเกาะพีพี จ.กระบี่

เดือนมิถุนายน 2540
30 มิ.ย. 40 ชี้แจงข่าวการจ่ายเงินคลัง สมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
30 มิ.ย. 40 สรุปผลการดำเนินงาน ของกระทรวงการคลังในรอบ 6 เดือน
27 มิ.ย. 40 แถลงการณ์กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
27 มิ.ย. 40 แถลงการณ์กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
25 มิ.ย. 40 แถลงการณ์กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวเด่นในอดีต - ยิงยกโรงพักหลังสวน
*เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2540 ที่โรงพัก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อ ด.ค.ชัยวร หิรัญสดี ใช้ปืน 11 มม. ยิงผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานเสียชีวิต ทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ด.ต.ชัยวรด้วย

เดือนกรกฏาคม 2540
16 ก.ค.2540เรื่องร่างพระราชกำหนด บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
2 ก.ค.2540 แถลงการณ์ร่วมฯ เรื่อง การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา
เดือนสิงหาคม 2540 (สมัยรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)
25 ส.ค.2540 รายงานข้อมูลการคลัง ประจำเดือนกรกฏาคม 2540
5 ส.ค.2540 แถลงการณ์ฯเรื่องมาตรการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน

น้ำท่วมชุมพร - สิงหาคม 2540
ได้เกิดฝนตกติดต่อเป็นเวลาหลายวันในพื้นที่จังหวัดชุมพร เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนซีต้า นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้สรุปความเสียหายของสภาพน้ำท่วม จังหวัดชุมพร รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ 49 ตำบล 270 หมู่บ้าน 3880 ครัวเรือน ราษฎรได้รับผลกระทบ 14,600 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน เสียชีวิต 1 คน ถนน 143 สาย สะพานไม้ 8 แห่ง ท่อระบายน้ำ 20 แห่ง ฝายน้ำล้น 3 แห่ง บ้าน 11 หลัง พื้นที่การเกษตร 42,100 ไร่ หลังจากน้ำท่วมมา เป็นระยะเวลา 10 วัน นำความสูญเสียมาสู่ชาวชุมพร ทั้งภาคราชการและภาคเอกชนมูลค่าไม่ต่ำกว่า กว่า 2,000 ล้านบาท