Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

ดาวหางในกรุงรัตนโกสินทร์


อันคัมภีร์ดาวหางของไทย ตามที่ได้เรียบเรียงมาข้างต้น จะมีข้อสังเกตและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองโดยเฉพาะ หาได้รับเอาโดยการถ่ายทอดมาตรงๆทีเดียวไม่ เมื่อศึกษาในปูมโหรเก่าๆแล้ว จะเห็นว่า บทปกรณ์ต่างๆที่กล่าวถึงเรื่องดาวหางของไทยนั้น มีความแตกต่างไปจากตำราเรื่องดาวหางของอินเดียอยู่หลายประการคือ

1. ดาวหางนั้นตามคัมภีร์โบราณกล่าวไว้ว่า ดาวหางจะขึ้นอยู่นานได้เพียง 45 วัน อันเป็นระยะเวลาเท่ากับตามกำลังการโคจรของพระอังคารที่โคจรใน 1 ราศี เป็นระยะเวลาประมาณ 45 วันเท่านั้น เพราะดาวอังคาร เป็นดาวนักรบเป็นดาวนองเลือด

2.เรื่องระยะเวลาของผลอันเกิดจากปรากฏการณ์ของดาวหางนั้น จะแตกต่างไปจากที่ปรากฏในคัมภีร์พฤหัตของอินเดีย กล่าวคือ จะบังเกิดผลขึ้นภายในระยะเวลาตั้งแต่ 1 วันเรื่อยไปจนถึงไม่เกิน 8 ปีของวันที่เห็นดาวหางนั้น

ความสำคัญในเรื่องระยะเวลาของผลอันเกิดจากปรากฏการณ์ของดาวหางนี้ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญยิ่งที่จะนำมาใช้พยากรณ์อันแสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ สามารถนำมาพยากรณ์ได้เช่นเดียวกับดวงชาตา

องค์พยานที่สำคัญในเรื่องการพยากรณ์จากปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ผู้เขียนขอหยิบ ยกเอาข้อความจากหนังสือเรื่อง “จดหมายเหตุจากความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี” ถึงกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ที่ได้ทรงรับสั่งเมื่อตอนเกิดฟ้าผ่าเพลิงไหม้พระที่นั่งอัมรินทรมหาปราสาท ดังนี้

“ ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกา เอกศก เพลาบ่าย 1 โมง 6 บาท อสุนีบาตพาดสายตกติดหน้าบันมุขเด็จเบื้องทิศอุดร ไหม้ตลอดทรงบนปราสาท ปลายหักฟัดฟาดลงพระปรัศซ้ายเป็นสองซ้ำ ลงซุ้มพระทวารแต่เฉพาะไหม้”

ทรงมีพระโองการตรัสว่า “เราได้ยกพระไตรปิฏก เทวาให้โอกาสแก่เราต่อเสียเมืองจึงจะเสียปราสาท ด้วยชาตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือน เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมืองจะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี”


จากพระราชดำรัสดังกล่าว ปัญหาที่น่าพึงพิจารณาทางโหราศาสตร์อยู่ในบางประเด็น ซึ่งมักไม่ใคร่มีหนังสือตำราใดเขียนอธิบายเอาไว้ กล่าวคือ

1.ระยะเวลา 7 ปี 7 เดือน นั้นมาจากไหน
2.ขอให้พิจารณาคำว่า “พระเคราะห์เมือง”

จากพระราชดำรัสดังกล่าว ตำราต่างๆมักวิจารณ์ว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านได้ทรงพยากรณ์ว่า จะมีการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิเป็นระยะเวลา 150 ปี แต่ก็หาได้อธิบายถึงความหมายขงคำว่า “ชาตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือน” ไม่ ขอให้ลองพิจารณาถึงวันที่ได้สถาปนาเมืองกรุงเทพฯ คือ วันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จุลศักราช 1144 อันตรงกับสุริยคติกาลวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 นั้น เมื่อคิดถึงวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกา จ.ศ.1151 นั้น ก็จะเป็นระยะเวลา 7 ปี 20 วัน เท่านั้น และยิ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อความในตอนต้นที่ว่า “ต่อเสียเมือง จึงเสียปราสาท” และที่ว่า “เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง” นั้นเล่า สมควรจะเป็นข้อความที่มีความหมายอย่างใด พระองค์ท่านทรงนำเอา จุดเหตการณ์ใด มาเป็นหลักในการพยากรณ์ หากจะพิจารณถึงเรื่องดวงเมืองแล้ว ก็เห็นมีแต่บรรดาท่านโหราจารย์ทั้งหลายได้สรรเสริญเอาไว้มากมายนัก หาได้มีจุดที่น่าหวั่นไหวจนถึงกับขนาดที่พระองค์ท่าน จะทรงตรัสด้วยความวิตกว่า ชาตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือนนั้นไม่ หากจะพิจารณาว่า เป็นโวหารที่ท่านผู้บันทึกได้บันทึกเอาเอง ก็ไม่น่าจะใช่เพราะพระราชดำรัสในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น เป็นเสมือนหนึ่งกฎหมาย ซึ่งจะถูกบันทึกไว้โดยความรอบคอบอย่างยิ่ง คงเหลือมีส่วนที่ควรพิจารณายู่เพียง 3 ประเด็นเท่านั้น คือ 1.เรื่องนิมิตงู 4 ตัวในเวลาฝังหลุมหลักเมือง 2.เรื่องอธิไทโพธิบาทว์ ที่ฟ้าผ่าพระราชวังถึง 3 ครั้ง จนพระราชวังต้องเสียหายอันจัดว่าเป็นอุบาทว์พระอินทร์ ตามตำราว่าด้วยอุบาทว์ และ 3.เรื่องการพยากรณ์เกี่ยวกับพระเคราะห์เมือง ซึ่งในประเด็นข้อ 1. และ 2. นั้น ก็ล้วนแต่เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์จากปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งสิ้น

หมายเหตุ - อาจารย์คนหนึ่งของผู้เขียนว่า คำว่า 7 ปี 7 เดือน นั้น มีอยู่ในเรื่องอุบาทว์ และเรื่องเกี่ยวกับดาวทิศพายัพ (หรืออุบาทว์พระพาย) แต่ผู้เขียนจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว และหาบันทึกก็ไม่เจอ และท่านอาจารย์ท่านนั้น (ท่านเป็นพระภิกษุอยู่ที่จังหวัดราชบุรี) ก็ได้มรณภาพไปแล้ว คงพบแต่ในบันทึกปกรณ์โหราศาสตร์อื่นๆบ้างแต่ ก็ใช้คำว่า “7เดือนบ่มิว่า 7 วัน” ซึ่งก็ยังไม่ตรงกันทีเดียวนัก


ในเรื่องดาวหางของไทยนั้น หาได้แยกแยะดาวหางออกเป็นจำนวนมากเป็นพันดวง ดังเช่นของอินเดียไม่ หลักใหญ่ในปกรณ์เรื่องดาวหางของไทย มีเพียงแค่ข้อความที่สรุปคือ “ธุม 2” ธุม 2 คือ ธุมเกตุ ธุมเพลิง

สำหรับคนไทยสมัยโบราณนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับดาวหาง ท่านให้สังเกตให้แน่นอนว่า ดาวหางนั้นขึ้นให้เห็นจนมองด้วยตาเปล่าชัดเมื่อใด และจะลับหายไปเมื่อใด ในตอนที่เห็นว่าขึ้นนั้น ขึ้นจากทิศทางใด มีความสัมพันธ์กับหมู่ดาวนักษัตรใด มีรูปร่างและสี ตลอดจนลักษณะเป็นอย่างใด และที่สำคัญที่สุดก็คือ มีมุมใกล้เคียงกับดาวอะไรบ้าง

ท่านให้สังเกตว่า หางของดาวหางนั้นงอหรือชี้ไปทางจังหวัดใด ประเทศใด ประเทศนั้นจังหวัดนั้นจะได้รับความทุกข์ร้อนโภยภัยต่างๆนานาชนิด เหมือนกับพระยานาคอันถูกเล็บครุฑจับไว้แน่น ย่อมจะถึงแก่ความตาย ดังในบทปกรณ์ดาวที่ว่า “ดาวพระ ๙ ปริมณฑลใหญ่ 13 โยชน์ มีรัศมีดังกองเพลิง ถ้า (หาง) ออกให้เห็นจะเกิดกลียุคแล ถ้าออกแต่ราศีใด ต้องลัคนาใด ผู้นั้นจะเกิดวิบัติ แล ฯ ”


ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาศึกษาเรื่องดาวหางจากปูมโหรต่างๆที่โหราจารย์ใน อดีตท่านได้บันทึกไว้ให้พวกเราได้ศึกษากัน จะเห็นได้ว่า คนไทยโบราณท่านศึกษาเรื่องดาวหางกันอย่างไร และแตกต่างจากตอนนี้ไปอย่างไร
บันทึกจากปูมโหร



ดาวหาง ในสมัยรัชกาลที่ 2

สมัยรัชกาลที่ 2 ระหว่าง วันพฤหัสบดี 5 แรม 13 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง จ.ศ. 1171 (พ.ศ.2352) ถึงวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1186 (พ.ศ.2367) ทรงครองราชย์อยู่ 16 พรรษา (ประมาณปี พ.ศ.2352 -2367) มีบันทึกเรื่องดาวหางที่สำตัญดังนี้

ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีบันทึกว่า เมื่อปี จ.ศ. 1173 ณ เดือน 7 ข้างขึ้น เวลายามเศษ ทางทิศพายัพ แลเห็นเหมือนแสงเพลิงติดในอากาศ เรียกว่า ธุมเพลิง แต่นั้นก็เกิดไข้ป่วงใหญ่มาแต่ทางทะเล ไข้นั้นเกิดมาแต่เมืองเกาะหมากก่อน แล้วข้ามมาหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ติดต่อขึ้นมาจนถึงปากน้ำเจ้าพระยา ชาวเมืองล้มตายลงเป็นอันมาก ฯ

- วัน 1 แรม 10 ค่ำ เดือน 7 เวลาย่ำค่ำ เห็นดาวหางขึ้นทางทิศพายัพ หางไปทิศอิสาน พอถึง ณ วัน 1 แรม 7 ค่ำ เดือน 2 ดาวหางก็สูญหายไป ฯ


ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 3

สมัยรัชกาลที่3 ระหว่าง วันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1186 ถึงวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน จ.ศ. 1212 ทรงครองราชย์อยู่ 27 พรรษา (ประมาณปี พ.ศ.2367 - 2393) มีบันทึกเรื่องดาวหางที่สำคัญดังนี้

จ.ศ. 1187 (พ.ศ.2368) - ณ วัน 6 แรม 1 ค่ำ เดือน 12 เพลา 3 ทุ่ม มีดาวหาง ฯ

จ.ศ. 1189 (พ.ศ.2370) - ณ วัน 4 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 เพลา 2 ทุ่ม ปรากฏการณ์อากาศมีสีดังฟ้าแลบ โตเท่าลำตาลยาวประมาณ 2 เส้น และตกลงมาข้างทิศหรดีแล้วพุ่งไปต่อทิศอาคเนย์ปรากฏอยู่จนรุ่ง ฯ

-เดือน 3 เจ้าอนุฯ คิดกบฏ ฯ

-จ.ศ.1189 วันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เพลาบ่าย ธุมเกตุ ออกทิศบูรพา เพลาค่ำ ดาวอินทนูขึ้น ฯ

-ณ วันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 เสด็จกรมหมื่นนเรศโยธี สวรรคต

-ณ วันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 เพลาเย็น บังเกิดคลองฟ้าที่กลางอากาศเป็น 2 เส้น เป็นลำโตใหญ่ ตั้งแต่ทิศประจิมไปจดทิศบูรพา ฯ

จ.ศ. 1192 (พ.ศ.2373) - ณ วัน 5 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 เวลายามเศษ ทิศพายัพเป็นแสงไฟจับอากาศ โหรดูเคราะห์เมืองว่าร้าย จะมีศึกมาแต่ทิศทักษิณ ให้ตั้งพิธียิงปืนอาฏานา ฯ

- ณ วัน 4 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 คนตายด้วยโรคลงรากเป็นอันมาก ฯ


ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงครองราชย์เมื่อวันพุธ 4 เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน จ.ศ.1212 ถึงวันพฤหัสบดี 5 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (ประมาณปี พ.ศ. 2393 - 2411) มีบันทึกเรื่องดาวหางที่สำคัญ ดังนี้

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ในวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สวรรคต ไว้ดังนี้
“ทุ่มเศษวันนั้น ท้องฟ้าเป็นควัน หมอกคลุ้มโตใหญ่ ใช่หน้าน้ำค้าง หมอกลงเหลือใจ บุราณว่าไว้ ธุมเกตุเกิดมี แลดูท้องฟ้า ต่ำเตี้ยเต็มที ดวงพระจันทร์สี แดงคล้ำหมองไป ครั้งถึงเวลา พระสงฆ์ปวารณา เสด็จสวรรคาลัย...”

-------------------------------------
(หมายเหตุ : ในชีวิตเคยพบเห็นหมอกธุมเกตุครั้งหนึ่ง ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 10 นาฬิกาเศษ เป็นลักษณะคล้ายกับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงบันทึกไว้ - สายน้ำ)


ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 5

สมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่างวันพฤหัสบดี 5 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (ประมาณปี พ.ศ.2411) ถึง วันเสาร์ 7 แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จ.ศ. 1272 (พ.ศ.2453) ทรงครองราชย์อยู่ 42 พรรษา (ประมาณปี พ.ศ. 2411 - 2453) มีบันทึกเรื่องดาวหางที่สำคัญ (มีดาวหางฮัลเลย์ปรากฏ มองเห็นได้ในไทย) ดังนี้

ม.จ.หญิง พูนพศมัย ดิศกุล ได้ทรงนิพนธ์เล่าไว้ว่า -

“ข้าพเจ้าก็ไปคอยเฝ้าพระบรมศพที่ริมถนนราชดำเนิน พวกราษฏรเอาเสื่อไปปูนั่งกันเป็นแถวตลอดสองข้างทาง จะหาหน้าใครที่มีแม้ยิ้มก็ไม่มีสักผู้เดียว ทุกคนแต่งดำนำตาไหลอย่างตกอกตกใจด้วยเคยรู้รส อากาศมืดคลุ้ม มีหมอกขาวลงจัด เกือบถึงหัวคนเดินทั่วไป ผู้ใหญ่เขาบอกว่า นี่แหล่ะคือ หมอกธุมเกตุ ที่ในตำราเขากล่าวถึงว่า มักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ๆเกิดขึ้น ...”

ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช - ก็ได้บันทึกว่า มีดาวหางปรากฏเห็นได้ที่จังหวัดกาญจนบุรี




ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 7

ปรากฏว่าก่อนมีการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก็มีดาวหางปรากฏทำให้คนโจษจันกันมาก จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ต้องทรงจ้างนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน อธิบายให้คนทั้งหลายทราบว่า การขึ้นของดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติหาใช่ลางร้ายแก่บ้านเมืองประการใด ไม่ ฯ

ดาวหางในสมัยรัชกาลที่ 8

ในปีพ.ศ. 2489 ก่อนที่จะมีเหตุการณ์สวรรคตนั้น ปรากฏว่า มีดาวหางขึ้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เวลา 3 น.เศษ ผู้คนลุกขึ้นดูดาวหาง และลือกัน ดาวหางนี้ปรากฏอยู่ 3 คืน จึงหายไป ฯ

บทสรุป และข้อสังเกตเรื่องดาวหางจากปูมโหร

จากปูมโหรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เรื่องดาวหางที่ได้บันทึกไว้ นอกจากที่เห็นเป็นลักษณาการของดาวหางแล้ว ยังรวมถึงเรื่องคลองฟ้า และ ธุมเกตุ และธุมเพลิง เอาไว้ด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายถึงเรื่องดาวหางทั้งสิ้น สำหรับ “คลองฟ้า” นั้นมีตำราอีกปกรณ์หนึ่ง เรียกว่า “ตำราคลองฟ้า” กล่าวคือ